วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่

ล.ป.ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
หลวงปู่ทิม อิสริโก นามเดิมชื่อ "ทิม งามศรี" เป็นบุตรของนายแจ้า นางอินทร์ เกิดที่บ้านรหัวทุ่งตาบุตร หมู่ที่ 2 ต.ละหาร (ปัจจุบันเป็น หมู่ 1 ต.หนองบัว) อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2422 เป็นบุตรคนที่ 2 ของครอบครัว

เมื่ออายุ 17 ปี นายแจ้ผู้เป็นบิดา นำตัวไปฝากไว้กับหลวงพ่อสิงห์ (วัดละหารใหญ่) เล่าเรียนหนังสือทั้งไทยและอักษรขอม ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นขอลาหลวงพ่อสิงห์กลับไปช่วยโยมบิดา มารดา ทำงานบ้าน จนถึงอายุ 19 ปี ท่านจึงถูกคัดเลือกเข้าเป็นลูกหมู่ หรือทหารประจำการในสมัยนั้นอยู่ที่กรุงเทพถึง 4 ปีเศษ จึงได้รับการปลดปล่อยกลับมาอยู่บ้านตามเดิม โยมบิดาจึงได้ขออนุญาตให้ท่านได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา

หลวงปู่ทิม ได้อุปสมบทที่วัดทับมา โดยพระครูขาว เจ้าคณะแขวงเมืองระยอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อสิงห์เป็นกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการเกตุเป็นอนุสาวนาจารย์ โดยทำพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2449 ตรงกับปีมะแม เดือน 6 วันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ ได้รับฉายานามสงฆ์ว่า "อิสริโก" หลังจากบวชแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนทางปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานจากหลวงพ่อสิงห์ อาจารย์ของท่าน และศึกษาวิชาต่างๆ จากตำราคู่วัดละหารใหญ่ (เข้าใจว่าเป็นตำหรับเดิมของหลวงปู่สังข์เฒ่า) จนมีความรู้แตกฉานได้ออกจาริกปฏิบัติธุดงค์กับหลวงพ่อยอด นักปฏิบัติที่เป็นอาจารย์ ออกตังค์ไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อเจริญสมณธรรม ออกหาความวิเวกสันโดษ ตามอัธยาศัยเป็นเวลา 3 ปี ครั้นเมื่อใกล้เข้าพรรษากลับมาถึงจังหวัดชลบุรีได้จำพรรษาที่วัดนามะตูมถึง 2 พรรษา ได้เที่ยวร่ำเรียนศึกษาวิชาเพิ่มเติม กับพระเกจิอาจารย์หลายรูป ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสที่เก่งกล้าอีกลายคน จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดละหารไร่ และได้รับนิมนต์จากชาวบ้านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ตั้งแต่พ.ศ. 2450 ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะบูรณซ่อมแซมกุฏิ และถาวรวัตถุอีกหลายอย่าง

หลังจากหลวงปู่ทิม อิสริโก ได้สร้างอุโบสถเสร็จด้วยบารมีของท่านแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2517 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 95 ปี หลวงปู่ทิมได้วางศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญ "ภาวนาภิรัติ" และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2518 จากนั้นได้สร้างปละปรับปรุงหอฉัน "อุตตโม" หลวงพ่อทิมมีตำแหน่งครั้งสุดท้ายเป็นพระครูภาวนาภิรัติ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "หลวงปู่ทิมฎ ซึ่งท่านได้มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ณ หน้าหอสวดมนต์ วัดละหารไร่ หลังจากรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา เป็นเวลา 23 วัน คณะศิษย์จึงได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดละหารไร่ และเก้บศพไว้บนศาลาภาวนาภิรัติ โดยขอพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2526 ณ เมรุวัดละหารไร่

หลวงปู่ทิม อิสริโก ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรมและพระวินัยขององค์สัมมา สัมพุทธเจ้าเป็นพระมักน้อย สันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในรูปรส กลิ่น เสียง ฉันอาหารเจเป็นประจำ ฉันภัตราหารมื้อเดียวเวลาประมาณ 7.00น. และฉันน้ำชาประมาณ 4 โมงเย็น จะไม่มีการฉันเพลเลย อาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรืออาหารคาวทุกชนิดท่านจะไม่ยอมฉัน แม้แต่น้ำปลา อาหารที่ท่านฉันส่วนใหญ่จะเป็นผัก ถั่ว หรือน้ำพริกกับเกลือป่น ปฏิบัติอย่างนี้เป็นเวลาถึง 50 ปี ร่างกายผิวพรรณของท่านก็ปกติอยู่ตามเดิม พละกำลังของท่านยังดีแะลสมบูรณ์อยู่เช่นเดิม ร่างกายอ้วนท้วนพอสมควร ทั้งนี้คงเป็นเพระบุญบารมีของท่านที่สะสมมา จึงทำให้ท่านเป็นพระที่เคร่งครัด และบริสุทธิ์ในพระธรรมวินัย ดำรงชีวิตอยู่ได้ถึง 96 ปี อายุพรรษา 72 พรรษา และได้มรณภาพด้วยโรคชรา หลังจากเข้ารับการรักษาจาก

และวันที่ 16 ตุลาคม ของทุกปี วัดละหารไร่และคณะศิษย์จะร่วมกันจัดงานวันระลึกถึงหลวงปู่ทิม ซึ่งก็มีลูกศิษย์มาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก

คาถาชินบัญชร

เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชรให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและบูชา เจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า

ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตตะ วา อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ


๑. ชะยาสะนาคะตา พุทธา
จะตุสัจจาสะภัง  ระสัง
๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง
๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง
สังโฆ  ปะติฏฐิโต มัยหัง
๔. หะทะเย เม  อะนุรุทโธ
โกณทัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง
๕. ทักขิเณ  สะวะเน มัยหัง
กัสสะโป จะ มะหานาโม
๖.  เกสันเต   ปิฏฐิภาคัสมิง
นิสินโน  สิริสัมปันโน
๗. กุมาระกัสสะโป เถโร
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง
๘. ปุณโณ  อังคุลิมาโล  จะ
เถรา  ปัญจะ อิเม ชาตา
๙. เสสาสีติ  มะหาเถรา
เอเตสีติ  มะหาเถรา
ชะลันตา  สีละเตเชนะ
๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ
ธะชัคคัง  ปัจฉะโต  อาสิ
๑๑. ขันธะโมระปะริตตัญจะ
อากาเส  ฉะทะนัง  อาสิ
๑๒. ชินะ นานาวะระสังยุตตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา
๑๓. อะเสสา  วินะยัง  ยันตุ
วะสะโต เม สะกิจเจนะ
๑๔. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ
สะทา ปาเลนตุ มัง
๑๕. อิจเจวะ  มันโต
ชินานุภาเวนะ
ธัมมานุภาเวนะ
สังฆานุภาเวนะ
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต
เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
เย  ปิวิงสุ  นะราสะภา.
อัฏฐะวีสะติ นายะกา
มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
อุเร สัพพะคุณากะโร
สารีปุตโต  จะ ทักขิเณ
โมคคัลลาโน จะ  วามะเก.
อาสุง  อานันทะราหุโล
อุภาสุง วามะโสตะเก
สุริโยวะ  ปะภังกะโร
โสภี โต  มุนิปุงคะโว
มะเหสี  จิตตะวาทะโก
ปะติฏฐาสิ  คุณากะโร
อุปาลี  นันทะสีวลี
นะลาเฏ ติละกา มะมะ.
วิชิตา  ชินะสาวะกา
ชิตะวันโต  ชิโนระสา
อังคะมังเคสุ  สัณฐิตา
ทักขิเณ  เมตตะสุตตะกัง
วาเม  อังคุลิมาละกัง
อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
เสสา  ปาการะสัณฐิตา
สัตตะปาการะลังกะตา
พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.
อะนันตะชินะเตชะสา
สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
วิหะรันตัง  มะหีตะเล *
สัพเพ เต  มะหาปุริสาสะภา.
สุคุตโต  สุรักโข
ชิตุปัททะโว
ชิตาริสังโฆ
ชิตันตะราโย
จะรามิ  ชินะปัญชะเรติ.

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

เครื่องราง-ของขลัง

เครื่องราง-ของขลัง นั้นมีมากมายทั้งทางที่ดีและทางที่ไม่ดีหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไสยดำและไสยขาว แต่ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรางประเภทใดชนิดใดหรือขั้วใด ความบริสุทธิ์ใจของวิชานั้นกระทำเพื่อการสำแดงแห่งพระเวทย์ เปรียบเสมือนกับการทดสอบความแก่กล้าในวิชาที่ร่ำเรียนมาจนก่อให้เกิด "ของดี" ที่ใครต่างพาเรียกกัน เพียงแต่ว่าการนำไปใช้ของคนในยุคก่อนๆ กลับหลงใช้ไปในทางที่ผิด ไสยศาสตร์จึงกลายเป็นไสยดำ หรือเรียกอีกอย่างว่า เดรัจฉานวิชา ที่หนักหนาเข้าไปอีกคือการนำสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่สร้างเวรสร้างกรรมมาประจุในพระเวทย์ มิใช่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ในทางสร้างสรร

เบี้ยแก้ (เครื่องรางของขลัง)
สำหรับคนไทยจะรู้จักเครื่องรางของขลังใน 2 ลักษณะด้วยกันคือ
1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเชื่อกันว่าจะมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง ไม่มีการปลุกเสกใดๆ เช่น แร่ เหล็กไหล ปรอท

2. มนุษย์สร้างขึ้น หรือคณาจารย์ต่างๆ จัดสร้างขึ้นมา โดยการปลุกเสกประจุพลังจิตให้แก่วัตถุนั้นๆ เกิดความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้ เช่น วัวธนู เสือแกะ ลิง แพะ หนุมาน เป็นต้น โดยเครื่องรางของขลังที่มนุษย์สร้างขึ้นมักจะสร้างขึ้นโดย ผู้ทรงศีลและฆราวาสผู้เรืองพระเวทย์

สิงห์

ดังนั้นจึงอยากให้ผู้ที่จะศึกษาหรือสะสมโปรดพิจารณาตระหนักให้ดีถึงการที่จะนำไปใช้และเรื่องราวของผลกรรม ที่เราเป็นผู้ก่อขึ้นและจะได้รับตามมาในภายหลัง ซึ่งนับเป็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้และแน่นอน และประการสำคัญความเชื่อ คือศรัทธาที่มีเหตุผล ความหลงคือความงมงายในสติ จงเป็นผุ้เชื่อมั่นและศรัทธาในสิ่งที่บริสุทธิ์ มิใช่หลงงมงายขาดปัญญาไร้สติสัมปชัญญะ

ประวัติหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี

ล.พ.เนื่อง วัดจุฬามณี
หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมาก เมื่อกว่า ๒๐ ปีก่อน ท่านเป็นศิษย์เอกของ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ฯลฯ วิชาความรู้ทางคาถาอาคมจึงย่อมไม่ธรรมดา

ประวัติ หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี
ตามประวัติโดยสังเขป หลวงพ่อเนื่อง ชื่อเดิม เนื่อง เถาสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ ปีระกา เป็นบุตร นายถมยา - นางตาบ เกิดที่บ้านคลองใหญ่ หมู่ที่ ๔ ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จบการศึกษาชั้นประถม ๔ จากโรงเรียนวัดบางกะพ้อม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓

อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๗๕ ณ อุโบสถวัดบางกะพ้อม ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยมี หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแช่ม โสฬส เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดบางกะพ้อม เป็นอนุสาวนาจารย์

การศึกษา ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดจุฬามณี เมื่อปี ๒๔๗๙ ขณะเดียวกันท่านก็มีความเชี่ยวชาญในทางวิปัสสนา และพุทธาคม เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยท่านได้อาจารย์ดีเป็นเบื้องต้น ตั้งแต่อุปสมบท ประกอบกับความตั้งใจมั่นในการศึกษา และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยได้ศึกษาจาก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังของ จ.สมุทรสงคราม เจ้าของเหรียญ ๑ ใน ๕ ชุดเบญจภาคีเหรียญยอดนิยมของวงการพระเครื่องเมืองไทย

นอกจากนี้หลวงพ่อเนื่อง ท่านยังได้เรียนวิชาอาคมต่างๆ จาก หลวงพ่อแช่ม เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี และ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ผู้สร้างตำนาน ตะกรุดลูกอม อันลือลั่น ไล่เรียงรายนามอาจารย์ของหลวงพ่อเนื่องแล้ว จึงไม่ต้องแปลกใจในความรู้ความสามารถ และความเข้มขลังในสายพุทธาคม ที่หลวงพ่อเนื่องท่านได้สืบทอดมาจากพระเกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าสามารถหลายท่าน ด้วยกัน

หลวงพ่อเนื่อง เป็นพระบริสุทธิสงฆ์ที่ชาวสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง มีความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก รวมทั้งงานความสามารถในด้านงานพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่วัด จุฬามณี และชุมชนท้องถิ่น มาโดยตลอด จนทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูโกวิทสมุทรคุณ เมื่อปี ๒๔๙๖ และเลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาคันธุระ เมื่อปี ๒๕๑๗ ในราชทินนามเดิม

วัดจุฬามณี เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปี ๒๑๗๒-๒๑๙๐ ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เดิมชื่อ วัดแม่เจ้าทิพย์ เป็นวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกูล (ตระกูลบางช้าง) โดยเดิมกุฏิและอุโบสถ ล้วนสร้างจากไม้สัก ซึ่งย่อมผุพังและเสื่อมโทรมไปตามกาล ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพคงทนแข็งแรง และมีความสวยงามยิ่งขึ้น ก็ด้วยความสามารถของหลวงพ่อเนื่องอย่างแท้จริง

วัดจุฬามณี มีเจ้าอาวาสปกครอง เท่าที่สืบได้ ดังนี้ ๑.พระอธิการยืน ๒.พระอธิการเนียม ๓.พระอาจารย์แป๊ะ ๔.พระอาจารย์ปาน ๕.หลวงพ่ออ่วม ๖.พระอาจารย์นุ่ม ๗.หลวงพ่อแช่ม ๘.หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท และ ๗. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

หลวงพ่อเนื่องได้ดูแลบูรณปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี จนเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสมบูรณ์ในทุกด้าน โดยเฉพาะอุโบสถจตุรมุข หินอ่อน ๓ ชั้น กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร มูลค่าการก่อสร้างนับสิบล้านบาท ซึ่งได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๑๑ โดย สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (จวน อุฏฐายี) เสด็จทรงประกอบพิธี

เมื่อต้นปี ๒๕๓๐ หลวงพ่อเนื่องเริ่มมีอาการอาพาธ จนกระทั่งในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ เวลา ๐๖.๒๐ น. ท่านก็ได้ละสังขาร มรณภาพอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สิริรวมอายุ 78 ปี 56 พรรษา ยังความโศกเศร้าเสียใจ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ทิ้งไว้แต่หลักคำสอน วัตถุมงคล และผลงานการก่อสร้างวัดจุฬามณี ที่มีความสวยงาม และร่มรื่นจนทุกวันนี้

ละเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งก็คือ สรีระของ"หลวงพ่อเนื่อง"ท่าน กลับไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด คงอยู่ในสภาพเดิมๆ ภายในหีบแก้ว บนมณฑป ที่ทางวัดและศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดสร้างขึ้นมาอย่างงดงามยิ่ง

พระเครื่องและวัตถุมงคลของ หลวงพ่อเนื่อง ทั้งที่ท่านสร้างเอง และได้ไปนั่งปรกล้วนแล้วแต่พุทธคุณสูง ผู้พกพามีประสบการณ์ทั้ง เมตา ค้าขาย แคล้วคลาด คงกระพัน


วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

หลวงปู่ดู่

หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา
หลวงปู่ดู่ ท่านให้การต้อนรับแขกอย่างเสมอเท่าเทียมกันหมด ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะพูดห้ามปรามหากมีผู้เสนอตัวเสนอหน้าคอยจัดแจงเกี่ยวกับแขกที่มาหาท่าน เพราะท่านทราบดีว่ามีผู้ใฝ่ธรรมจำนวนมากที่อุตสาห์เดินทางมาไกล เพื่อนมัสการและซักถามข้อธรรมจากท่าน หากมาถึงแล้งยังไม่สามารถเข้าพบได้โดยสะดวก ก็จะทำให้เสียกำลังใจ เป็นเมตตาธรรมอย่างสูงที่หลวงพ่อมีให้ศิษย์ทั้งหลาย และหากมีผู้สนใจการปฏิบัติกรรมฐาน มาหาท่าน ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมเป็นพิเศษอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

หลวงปู่ทวด
ท่านให้ความเคารพในองค์หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ เป็นอย่างมากทั้งกล่าวยกย่อง ว่าหลวงปู่ทวดท่านเป็นผู้ที่มีบารมีธรรมเต็มเปี่ยม เป็นโพธิสัตว์จะได้มาตรัสรู้ ในอนาคต ให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ยึดมั่น และระลึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อติดขัดในระหว่างการปฏิบัติธรรม หรือประสบปัญหาทางโลก ท่านว่า หลวงปู่ทวดท่านคอยที่จะช่วยเหลือทุกคนอยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนอย่าท้อถอย หรือละทิ้งการปฏิบัติ

สร้างพระ
หลวงพ่อดู่ ท่านมิได้ตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ การที่ท่านสร้าง หรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องหรือพระบูชา ก็เพราะเห็นว่า บุคคลจำนวนมากยังขาดที่ยึดเหนี่ยงทางด้านจิตใจ เพราะศิษย์ หรือ บุคคลนั้น มีทั้งที่ใจใฝ่ธรรมล้วนๆ กับ ยังต้องอิงกับวัตถุมงคล ท่านเคยพูดว่า “ติดวัตถุมงคลยังดีกว่า ที่จะไปให้ติดวัตถุอัปมงคล” แม้ว่าหลวงปู่ดู่ท่าน จะรับรองในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านอธิฐานจิตให้ แต่สิ่งที่ท่านยกไว้เหนือกว่านั้นก็คือการปฏิบัติ การภาวนา นี้แหละ เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง บางคนมาหาท่านเพื่อต้องการของดีเช่นเครื่องรางของขลัง ซึ่งมักจะได้รับคำตอบจากท่านว่า “ ของดีนั้นอยู่ที่ตัวเรา พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละของดี ”

ปัจฉิมวาร
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมาสุขภาพหลวงพ่อเริ่มทรุดโทรม เนื่องการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุจากการที่ต้องต้อนรับแขก และบรรดาศิษย์ทั่วทุกสารทิศ ที่นับวันก็ยิ่งหลั่งไหลกันมานมัสการท่านมากขึ้นทุกวัน แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่าน เล่าว่า บางครั้งถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่น และมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใครต้องเป็นกังวลเลย ภายหลังตรวจพบว่า หลวงพ่อ เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้ว่าทางคณะแพทย์ จะขอร้องท่านให้เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ท่านก็ไม่ยอมไป

ประมาณปลายปี พ.ศ.2532 หลวงปู่ดู่พูดบ่อย ครั้ง เกี่ยวกับ การที่ท่านจะละสังขาร ซึ่ง ในขณะนั้นหลวงปู่ดู่ท่านได้ใช้หลักธรรม ขันติ คือความอดทนอดกลั้นระงับ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากโรคภัย จิตของท่านยังทรงความเป็นปรกติสงบเย็น จนทำให้คนที่แวดล้อมท่านไม่อาจสังเกตเห็นถึงปัญหาโรคภัยที่คุกคามท่านอย่าง หนัก

วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2533 ช่วงเวลาบ่ายนั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงพ่อท่านได้ลุกขึ้นนั่งตอนรับ ด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ จนบรรดาศิษย์ เห็นผิดสังเกต หลวงพ่อยินดีที่ได้พบกับศิษย์ผู้นี้ ท่านว่า “ต่อไปนี้ ข้าจะได้หายเจ็บไข้เสียที ” คืนนั้นมีคณะศิษย์มากรายท่าน ท่านได้พูดว่า “ ไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้อง ICU ไปนานแล้ว ” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” และกล่าวปัจฉิมโอวาทย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท “ถึง อย่างไรก็ขอให้อย่าได้ละทิ้งการปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวย ขึ้นเวทีแล้วต้องชก อย่ามัวแต่ตั้งท่า เงอะๆ งะๆ” หลังจากคืนนั้นหลวงพ่อก็กลับเข้ากุฏิ และละสังขารไปด้วยอาการสงบด้วยโรคหัวใจ ในกุฏิท่านเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา ของ วันพุธที่ 17 มกราคมพ.ศ. 2533 รวมสิริอายุได้ 85 ปี 8 เดือน 65 พรรษา ยังความเศร้าโศกและอาลัยแก่ ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งดวงประทีปที่เคยให้ความสว่าง ดับไป แต่เมตตาธรรมและคำสั่งสอนของท่านยังปรากฏ อยู่ในดวงใจของ ศิษยานุศิษย์ตลอดไป

จึงขอยกธรรมคำสอนของหลวงพ่อที่สอนให้ศิษย์ เข้าถึงธรรมด้วยการสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นที่ตนเองดังนี้

ตราบใดก็ตาม ที่แกยังไม่เห็นความดีในตัวเอง

ก็ยังไม่นับว่า แกรู้จักข้า

แต่ถ้าเมื่อใด แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว

เมื่อนั้นข้าว่า แกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้นแล้วล่ะ

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

ประวัติ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง เป็นวันเพ็ญวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง นามสกุล หนูศรี มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 3 คน ตัวท่านเป็นคนสุดท้อง เมื่อหลวงพ่อถือกำเนิดได้ไม่นาน มารดาของท่านก็เสียชีวิต และเมื่อท่านอายุได้ 4 ปี บิดาของหลวงพ่อก็เสียชีวิตอีก ทำให้หลวงพ่อกำพร้าตั้งแต่วัยเยาว์ ท่านจึงได้อาศัยอยู่กับยาย และ พี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ เมื่อท่านถึงวัยที่ต้องศึกษา ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนที่ วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศธรรมประวัติ ตามลำดับ

เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นทารกมีเหตุอัศจรรย์ที่ทำให้เชื่อว่าท่านจะต้องเป็น ผู้มีบุญวาสนามาเกิด คือในช่วงหน้าน้ำหลาก คืนหนึ่งขณะที่บิดาและมารดากำลังทำขนมอยู่นั้น มารดาท่านได้วางตัวท่านไว้บนเบาะนอกชานบ้าน แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปน้ำ แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ตัวท่านกลับไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขที่บ้านเลี้ยงไว้ มาเห็นเข้าจึงเห่าและวิ่งกลับไปกลับมา มารดาท่านจึงสงลัยว่าคงจะมีเหตุการณ์ผิดปกติ จึงได้ตามสุนัขออกมาดู ก็พบท่านลอยน้ำอยู่ติดกับข้างรั้ว

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
อุปสมบท
เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี ก็ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 ตรงกับวันอาทิตย์แรม 4 ค่ำ เดือน 6 ณ อุโบสถวัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า “ พรหมปัญโญ

ศึกษาธรรม
ในพรรษาแรกๆ นั้น หลวงปู่ดู่ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัด ประดู่ทรงธรรม (ในสมัยนั้นเรียกว่าวัด ประดู่โรงธรรม) โดยศึกษากับ ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม หลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

ในด้านการปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน นั้น หลวงปู่ดู่ ได้ ศึกษา กับ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ผู้เป้นพระอุปัชฌาย์ และ หลวงพ่อเภา ซึ่งเป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น และ มีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่ 2 ประมาณปลายปี พ.ศ. 2469 หลวงพ่อกลั่นก็ได้มรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษากับหลวงพ่อเภาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากตำราที่มีอยู่ จากชาดกบ้าง ธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจาก พระอาจารย์อีกหลายท่าน ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี สระบุรี ฯลฯ

เมื่อพ.ศ. 2486 ครั้นออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อก็ออกเดินธุดงค์ จากวัดสะแก มุ่งหน้า สู่ป่าเขาแถบจังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างทาง ก็แวะนมัสการสถานที่สำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา

นิมิตธรรม
ในคืนหนึ่ง ในช่วงก่อน ปี พ.ศ.2500 เล็กน้อย หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเย็น และเข้าจำวัดแล้วนั้น เกิดนิมิตไปว่าได้ฉันดาว ที่มีแสงสว่างมากเข้าไป 3 ดวง ขณะที่ฉันนั้นรู้สึกว่า กรอบๆ ดี เมื่อฉันหมดก็ตกใจตื่น ท่านจึงได้พิจารณานิมิตที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจในนิมิตนั้นว่า ดาวสามดวง ก็คือ ดวงแก้วไตรสรณาคมน์ นั้นเอง ท่านจึงท่อง

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ” ก็เกิดปิติขึ้นในจิตท่านอย่างท่วมท้น เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมั่นใจว่า การยึดมั่นพระไตรสรณาคมน์ เป็นวิธี ที่เข้าสู่แก่นแท้ เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอา พระไตรสรณาคมน์ เป็นองค์บริกรรมภาวนา

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดประดู่ฉิมพลี

ล.ป.โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงปู่โต๊ะท่านอยู่กับวัดประดู่ฉิมพลีมาตั้งแต่เด็ก บรรพชาอุปสมบทที่วัดนี้ และได้เป็นอธิบดีสงฆ์วัดนี้มาช้านานถึง ๖๙ ปีจนมรณภาพ พูดได้ว่าท่านผูกพันกับวัดประดู่ฉิมพลีอย่างแน่นแฟ้นมาตลอดชีวิต ท่านจึงเป็นธุระดูแลบูรณะปฏิสังขรณ์และทำความเจริญต่าง ๆ ให้แก่วัดของท่านเอง ความเจริญทั้งหลายทุก ๆ ด้านที่บังเกิดแก่วัดประดู่ฉิมพลีในทุกวันนี้ ถ้าจะพูดว่าเป็นผลงานของท่าน ก็ไม่มีผู้ใดจะปฏิเสธได้ อันวัดประดู่ฉิมพลีนี้เดิมเรียกว่าวัดสิมพลี เดี๋ยวนี้ชาวบ้านเรียกว่า วัดประดู่นอกคู่กับวัดประดู่ในหรือวัดประดู่ในทรงธรรม จะเป็นวัดมีมาแต่เดิมหรือไม่ไม่ทราบได้ สมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาพิชยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่ครั้งยังเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า ได้สถาปนาขึ้นเมื่อปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาสำเร็จบริบูรณ์เอาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ้นเวลาถึง ๘ ปี

วัดประดู่ฉิมพลี อยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ มีเนื้อที่เฉพาะเขตอาราม ไม่รวมที่ธรณีสงฆ์ถึง ๑๓ ไร่เศษ จัดว่าเป็นวัดใหญ่และงดงามมั่นคงมาก ผิดกับวัดที่เป็น “วัดราษฎร์” ทั่วไป ด้วยเหตุที่ท่านผู้สร้างท่านเป็นผู้มีวาสนาบารมีสูงในแผ่นดิน คือเป็น “ผู้สำเร็จราชการในพระนครทุกสิ่งทุกพนักงาน” ทั้งยังว่าการพระคลังสินค้าด้วย ภูมิสถานที่ตั้งวัด คิดดูในสมัยก่อนจะต้องสง่างามอย่างยิ่ง ด้วยเขตวัดด้านหน้าจดคลองบางกอกใหญ่ (บางหลวง) ซึ่งเป็นคลองใหญ่ตลอดแนว มีศาลาท่าน้ำ มีลานหน้าวัดกว้าง เขตพุทธาวาสมีกำแพงก่ออิฐถือปูน มีบัวทั้งข้างล่างข้างบนตลอดแนว บนกำแพงทำเป็นเสาหัวเม็ดยอดปริกห้าชั้น ลานหน้าวัดภายในกำแพงปูด้วยแผ่นหินแกรนิตจากเมืองจีนทั้งหมด ตรงกำแพงด้านหน้าเป็นประตูเข้าสู่พุทธาวาส

เบื้องปลายชีวิต (หลวงปู่โต๊ะ)
พระราชสังวราภิมณฑ์ อยู่ในสมณเพศมาตั้งแต่อายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยมีความรู้จนแตกฉานลึกซึ้ง และถือวิปัสสนาธุระเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตอันยาวนานถึง ๙๔ ปีของท่าน เป็นรัตตัญญูผู้รู้กาลนาน เป็นครูของสาธุชนทุกหมู่เหล่า เป็นที่เคารพบูชา ศรัทธาเลื่อมใสของบุคคลทุกเพศทุกวัย ทุกชาติชั้น นับแต่สามัญบุคคลจนถึงองค์พระประมุขของชาติ แม้อายุพรรษาจะมากเพียงใด ท่านก็มิได้ขัดศรัทธาของผู้ที่อาราธนาไปการบุญกุศลต่าง ๆ มีการนั่งเจริญสมาธิภาวนาอำนวยสิริมงคล เป็นต้น จึงในระยะหลัง ๆ นี้ทำให้สังขารร่างกายท่านต้องลำบากตราตรำมากเกินไป และเกิดอาพาธขึ้นบ่อย ๆ

แม้จะได้รับการเยี่ยวยารักษาและดูแลพยาบาลอย่างดีเพียงใด กายสังขารของท่านก็ทนอยู่ไม่ไหว ท่านอาพาธครั้งสุดท้ายในเดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๔ หลังจากกลับจากถ้ำสิงโตทอง มีอาการอ่อนเพลียบ้างเป็นลำดับ ก่อนมรณภาพ ๗ วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลยแต่ยังพอฉันได้บ้าง นายแพทย์ต้องให้น้ำเกลือทุกวัน อาหารนั้นถวายข้าวต้มกับรังนกอีก ราว ๗.๐๐ นาฬิกา ถึงวันที่ ๕ มีนาคม เวลาเช้าศิษย์ผู้พยาบาลก็ถวายข้าวต้มกับรังนกอีก คราวนี้สังเกตเห็นว่าแขนข้างขวาท่านบวม จึงกราบเรียนกับท่านว่า “แขนหลวงปู่บวมมาก” ท่านก็พยักหน้ารับคำแล้วฉันและหลับตาพักต่อไป โดยให้ออกซิเจนช่วยการหายใจตลอด เวลา ๙.๐๐ นาฬิกา ท่านอ่อนแรงลงอีกและพอถึงเวลา ๙.๕๕ นาฬิกา ท่านก็สิ้นลมด้วยอาการสงบดุจนอนหลับไป ณ กุฏิสายหยุด นับอายุได้ ๙๓ ปี ๑๐ เดือน กับ ๒๒ วัน ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ แปรพระราชฐานไปประทับ ณ ภูพิงคราชนิเวศน์ ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลาร้อยปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษเสมอ พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมทั้งฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ แก่การศพโดยตลอด เสด็จ ฯ ไปทรงเป็นประทานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และในการบำเพ็ญพระราชกุศล ออกเมรุและพระราชทานเพลิงเผาศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินนทราวาสก็จักได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานอีกคำรบหนึ่ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระราชสังวราภิมณฑ์ตลอดจนศิษย์ทุกคนหาที่สุดมิได้


วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติหลวงปู่โต๊ะ

หลวงปู่โต๊ะ
หลวงปู่โต๊ะ พระราชสังวราภิมณฑ์ ( โต๊ะ อินทสุวณณเถร ) พระราชสังวราภิมณฑ์ ( โต๊ะ อินทสุวณณเถร ) วัดประดู่ฉิมพลี หรือที่เรียกขานกันทั่วไปว่า “หลวงปู่โต๊ะ” ท่านเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีกุนยังเป็นอัฐศกตรงกับวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๒๙ ณ.บ้านคลองบางน้อย ตำบลบางพรมหม อำเภอคณฑี เป็นบุตร นายพลอย กับ นางทับ รัตนคอน มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันคนหนึ่งชื่อ เฉื่อย เมื่อเยาว์วัยอยู่กับบิดามารดาและได้เล่าเรียนวิชาหนังสือไทยที่วัดเกาะแก้ว ปากคลองบางน้อย ใกล้บ้านเกิด ครั้นมารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว ผู้เป็นญาติบวชอยู่กับพระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพ ฯ พาท่านมาฝากให้อยู่กับอธิการสุข วัดประดู่ฉิมพลี เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ส่วนนายเฉื่อยน้องชายนั้นมิได้ตามมาด้วย

บรรพชา อุปสมบท
ท่านมาเรียนหนังสือต่อที่วัดประดู่ฉิมพลีอีกประมาณ ๔ ปี พออายุได้ประมาณ ๑๗ ปี ก็บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดนี้ โดยมีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณะภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปาการะท่านต่อมา

เมื่อบรรพชาแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักวัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งมีพระอธิการคำเป็นเจ้าอาวาสปกครองสืบมา พร้อมกับเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์พรมหมอีกทางหนึ่งด้วย จนกระทั่งอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ อุตตราษาฒขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะแม นพศก ตรงกับ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา พระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) เป็นอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นอนุสาวนาจารย์ มีฉายาในพระพุทธศาสนาว่า “อินทสุวณโณ” ได้เล่าเรียนปฏิบัติทั้งทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ทั้งสองด้าน ด้วยความวิริยะอุตสาหะ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ และปีนั้นเองเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีว่างลงอีก เพราะพระอธิการคำมาณภาพทางคณะสงฆ์ จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม

ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ และสมณศักดิ์
พระอธิการโต๊ะได้บริหารงานของวัด ตลอดจนปกครองพระภิกษุสามเณรสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกด้วยความเที่ยงธรรมสม่ำเสมอ ประกอบด้วยเมตตากรุณาสงเคราะห์อนุเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่ให้ได้รับความร่มเย็นทั่วหน้า ทั้งได้ประพฤติปฏิบัติสมณธรรม เป็นอจลพรมหมจรรย์ตลอดมา จึงได้รับตำแหน่งทางคณะสงฆ์และสมณศักดิ์สูงขึ้นสูงขึ้นเป็นลำดับ คือ

พ.ศ. ๒๔๕๕–๒๔๕๗ เป็นเจ้าคณะตำบลวัดท่าพระ
พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นพระครูสังฆวิชิต ฐานานุกรมของสมเด็จพระวันรัต (เฮงเขมจารี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ แต่ครั้งยังเป็นพระเทพโมลี
พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูวิริยกิตติ
พ.ศ. ๒๔๙๗ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม (พัด จ.ป.ร.)
พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นพระอุปัชฌายะ
พ.ศ. ๒๕๐๖ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นประธานกรรมการตรวจสอบบัญชีของวัดประจำตำบล วัดท่าพระ
พ.ศ. ๒๕๑๑ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ
พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระสังวรวิมลเณร
พ.ศ. ๒๕๒๑ เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชสังวราภิมณฑ์


วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

10 ข้อที่นักสะสมพระควรระลึกไว้เสมอ

พระเครื่อง (เบญจภาคี)
การสะสมพระเครื่อง ถือว่าเป็นการสะสมที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง สำหรับใช้กราบไหว้บูชาเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและยังอาจใช้เป็นสิ่งป้องกันอันตรายต่างๆได้

ผู้ที่สะสมพระเครื่องนั้นต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า ความรู้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและเพิ่มพูนขึ้นมาใหม่ๆ อยู่เสมอ นักสะสมพระเครื่องจะต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจ ศึกษาดูจากของจริง อ่านจากตำราต่างๆ ซึ่งมีอยู่มากมายหรือสอบถามจากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยท่านได้เป็นอย่างมาก


10 ข้อที่นักสะสมพระควรระลึกไว้อยู่เสมอ

1. ใจเย็น ผู้ที่สะสมพระเครื่องควรจะเป็นผู้ที่ใจเย็น ไม่อยากได้ของคนอื่น จนมองไม่เห็นว่าอะไรควรอะไรไม่ควร การรีบร้อนบางทีอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้

2. เล่นซื่อ ข้อนี้นักสะสมพระเครื่องควรมีติดไว้ประจำใจ ไม่โกหกเอารัดเอาเปรียบ หลอกลวงผู้อื่น เช่น พระแท้บอกว่าเป็นพระเก๊ เพราะพระแท้นั้นไม่ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าใดก็ย่อมแท้

3. มือถึง นักสะสมพระเครื่องจะต้องมีความรู้ ดูว่าแท้หรือเก๊ มีราคาประมาณเท่าไร ไม่เป็นเหยื่อของพวกที่ชอบหลอกลวง

4. ตรึงราคา ต้องศึกษาให้รุ้ว่าพระแท้มีราคาเท่าไร เวลาจะปล่อยให้เช่าต่อก็ควรรู้ราคาว่าเท่าไร

5. ไม่บ้าลม นักสะสมที่ดีควรเล่นพระด้วยตา เล่นด้วยความมีสติรอบคอบ อย่าฟังคนที่นำพระมาขายเพ้อแต่งเรื่องไปเรื่อย

6. อย่านิยมถ้าสงสัย การศึกษาพระควรจะต้องศึกษาให้รู้ถึงประวัติ เนื้อ พิมพ์ และพระของเก๊เป็นอย่างไร เพราะเดี๋ยวนี้พระของเก๊ทำออกมาเหมือนมาก ถ้าเราสงสัยในองค์พระที่จะเช่าก็ควรตัดใจเสีย

7. คิดไกลดีกว่าใกล้ การสะสมพระเครื่องเพื่อความสุขใจ บางทีอาจมีการได้เปรียบเสียเปรียบบ้างเป็นเพื่องธรรมดา ควรมีการผ่อนสั้นผ่อนยาวบ้าง

8. หัวอ่อน พึงคิดไว้เสมอว่าไม่มีใครรู้จักพระเครื่องไปหมดครบทุกองค์ ฉะนั้นถ้าเราไม่รู้ก็ควรศึกษาจากผู้รู้หรือผู้ชำนาญ อย่าอวดดีอย่าเก่งเกินอาจารย์

9. กล้าไม่กลัวถ้าของแท้ ในชีวิตของการสะสมพระเครื่อง ท่านจะมีโอกาสเสมอในการที่จะได้พบเจอพระแท้ พระที่มีราคาแพง ท่านจงตัดสินใจให้ดีในการเช่า เพราะพระเครื่องจะมีราคาสูงขึ้นอีกเมื่อเวลาผ่้านไป

10. ใจต้องนิ่งเมื่อจับเจอพระเก๊ ทุกคนมีโอกาสผิดได้เสมอ เมื่อวันนึงถ้าเกิดกับตัวท่าน ก็จงอย่าไปเอะอะโวยวายหรือเสียใจ


แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com