วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติหลวงพ่อพรหม

หลวงพ่อพรหม ถาวโร ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปี มะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พศ. 2426 ณ.ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บุตรนายหมี-นางล้อมโกสะลัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ

1.นางลอย
2.นายปลิว
3.หลวงพ่อพรหม
4.นางฉาบ
ทุกคนถึงแก่กรรม

หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค
หลวงพ่อพรหมในขณะเยาว์วัยได้ศึกษา อ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน ศึกษาอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทยตั้งแต่ก่อนอุปสมบท เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาขอมจนชำนาญและเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

หลวงพ่อพรหมเริ่มศึกษาวิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคมกับอาจารย์ที่เป็นฆราวาส ชื่ออาจารย์พ่วง ต่อมาเมื่ออุปสมบทแล้วจึงได้ศึกษาอสุภกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนา จากหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไม่ทราบวัดอยู่ประมาณ 4 ปี ในพรรษาที่ 5 อาจารย์พ่วง ได้พาไปฝากอาจารย์ปู่วอน ซึ่งเป็นฆราวาส และได้ศึกษาวิชาแขนงต่างๆเป็นเวลา 5 ปีเต็ม จนกระทั่งอาจารย์ปู่วอนถึงแก่กรรม ซึ่งในภายหลังหลวงพ่อพรหมได้นำกระดูกมาเก็บไว้ที่วัดช่องแค จากนั้นหลวงพ่อพรหม ก็ไม่ได้ไปศึกษากับอาจารย์ท่านใดโดยตรงมีแต่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชากับอาจารย์รุ่นพี่และรุ่นเดียวกันในระหว่างธุดงค์ เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เป็นต้น

หลวงพ่อพรหมจะเดินธุดงค์ทั้งเส้นทางใกล้และไกล โดยหลวงพ่อเคยเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าถึงเมืองร่างกุ้ง และได้มีโอกาสที่มนัสการพระเจดีย์ชะเวดากอง และเดินธุดงค์ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ ผ่านเทือกเขาน้อยใหญ่ และธุดงค์อยู่ในประเทศพม่าเป็นเวลานาน จึงเดินทางกลับประเทศไทยทางด่านแม่ละเมา จ.ตาก และเดินเรื่อยๆไปจนถึงเขาช่องแค ต.พรหมนิมิตร อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เกิดฝนตกหนัก หลวงพ่อได้หลบเข้าไปอยู่ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงพ่อเห็นว่าเป็นที่วิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญธรรม จึงเริ่มปลูกต้นไม้แห่งศรัทธาลง ณ. ช่องเขาแห่งนี้
ขณะที่หลวงพ่อจำศีลปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ที่วัดช่องแคมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่แล้ว 2 รูป แต่ยังไม่มีเจ้าอาวาส ภายในวัดยังไม่มีเสนาสนะใดๆ บริเวณวัดรกร้าง

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี
หลวงปู่เอี่ยมเกิดในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2359 เป็นบุตรนายนาค นางจันทร์ โดยมีพี่น้องท้องเดียวกัน รวมด้วยกัน 4 คน คือ
1. หลวงปุ่เอี่ยม
2. นายฟัก
3. นายขำ
4. นางอิ่ม

บ้านเกิดของหลวงปู่เอี่ยมอยู่ที่ตำบลบานแหลมใหญ่ ฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๑ อายุท่านได้ ๒๒ ปี ได้อุปสมบทที่วัดบ่อ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด (วัดบ่อนี้อยู่คิดกับตลาดในท่าน้ำปากเกร็ด) ท่านอุปสมบทได้ประมาณหนึ่งเดือนท่านก็ได้ย้ายไปประจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร ธนบุรีซึ่งในขณะนั้นพระพิมลธรรมพรเป็นเจ้าอาวาสซึ่งย้ายมาจากวัดราชบูรณะพระนคร

หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงปูเอี่ยมท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม และแปลพระธรรมบทอยู่ที่วัดนี้อยู่ได้ถึง ๗ พรรษาท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดประยูรวงศาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๘ อยู่วัดประยูรวงศาวาสได้ ๓ พรรษา ถึงปี พ.ศ. ๒๓๘๙๑ นายแขก สมุห์บัญชีได้นิมนต์หลวงปู่เอี่ยมไปจำพรรษาเจริญพระกัมมัฏฐานเป็นเริ่มแรก และได้ศึกษาอยู่ ๕ พรรษา ถึงปี ๒๓๙๖ ญาติโยมพร้อมด้วยชาวบ้านภูมิลำเนาเดิมในคลองแหลมใหญ่ (ซึ่งปัจจุบันนี้ คือคลองพระอุดม) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้เดินทางมาอาราธนานิมนต์หลวงปู่เอี่ยมกลับไปปกครองวัดสว่างอารมณ์ หรือวัดสะพานสูงในปัจจุบันนี้

สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์เดิมมาเป็นชื่อวัดสะพานสูงนั้น มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระยาวชิญาณวโรรส ท่านได้เสร็จไปตรวจการคณะสงฆ์ได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้) ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน ๒ ชื่อ ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่าวัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์ มาเป็น "วัดสะพานสูง" จนตราบเท่าทุกวันนี้

หลวงปู่เอี่ยมมาวัดสะพานสูงใหม่ๆ ที่วัดนี้มีพระประจำวันพรรษาอยู่เพียง ๒ รูปเท่านั้น ขณะที่ท่านหลวงปูเอี่ยม ได้ย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงได้ ๘ เดือน ก่อนวันเข้าพรรษาหลวงพิบูลย์สมบัติ บ้านท่านอยู่ปากคลองบางลำภู พระนคร ได้เดินทางมานมัสการหลวงปู่เอี่ยมหลวงปู่เอี่ยมได้ปรารภถึงความลำบาก ด้วยเรื่องการทำอุโบสถและสังฆกรรม เนื่องจากสถานที่เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอยากจะสร้างให้เป็นถาวรสถานแก่วัดให้เจริญรุ่งเรือง หลวงพิบูลยสมบัติ ท่านจึงได้บอกบุญเรี่ยไรหาเงินมา เพื่อก่อสร้างโบสถ์ และถาวรสถานขึ้น จึงเป็นที่เข้าใจกันว่าหลวงปู่เอี่ยมได้เริ่มสร้างพระปิดตาและตะกรุดเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นของชำร่วยแก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรสถาน ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้สร้างศาลาการเปรียญ หลังจากนั้นอีกหลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระเจดีย์ฐาน ๓ ชั้นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยมท่านได้มาอยู่วัดสะพานสูง ท่านได้ไปธุดงค์ไปทางแถบประเทศเขมร โดยมีลูกวัดติดตามไปด้วยเสมอ แต่ท่านจะให้ลูกวัดออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ๖-๗ ชั่วโมง แล้วจะนัดกันไปพบที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ไปพบชีปะขาวชาวเขมรท่านหนึ่งชื่อว่าจันทร์หลวงปู่เอี่ยมจึงได้เรียนวิชาอิทธิเวทย์ จากท่านอาจารย์ผู้นี้อยู่หลายปี จนกระทั่งชาวบ้านแหลมใหญ่นึกว่าท่านออกธุดงค์ไปได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว เนื่องจากหลวงปู่เอี่ยมท่านไม่ได้กลับมาที่วัดหลายปี จึงได้ทำสังฆทานแผ่ส่วนกุศลไปให้ท่าน ทำให้ท่านหลวงปู่เอี่ยมทราบในญาณของท่านเอง และท่านหลวงปู่เอี่ยมจึงได้เดินทางกลับมายังวัดสะพานสูง การไปธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่เอี่ยมได้ไปเป็นเวลานาน และอยู่ในป่าจึงปรากฏว่าท่านหลวงปู่เอี่ยมท่านไม่ได้ปลงผม ผมจึงยาวถึงบั้นเอว จีวรก็ขาดรุ่งริ่ง หมวดท่านยาวเฟิ้มพร้อมมีสัตว์ป่าติดตามท่านหลวงปู่เอี่ยมมาด้วย อาทิเช่น หมี, เสือ, และงูจงอาง ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็น สามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

บวช เป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไปเป็นเจ้าอาวาสวัด ระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น “พระธรรมกิตติ” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น “พระเทพกวี” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น “สมเด็จพระ พุฒาจารย์” ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า “สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง” เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง “สมเด็จโต” ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุ พรรษาได้ 56 พรรษาแล้วมรณภาพ

สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลาใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม

สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํน ที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ

อัจฉริยะและภูมิปัญญา
ท่าน สมเด็จโตนั้น เป็นคนที่เกิดอายุได้ 5 รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 มีแม่เป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อใดนั้นตามประวัติหลายต่อหลายเล่มมิได้กล่าวอ้าง สมเด็จท่านเป็นคนอัจฉริยะภูมิปัญญาแตกฉาน ตั้งแต่เด็จโตขึ้นบวชเณรก็มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูมาโดตลอด ไม่เคยยุ่งเกี่ยวทางด้านโลกีย์ หญิงใด ๆ มาชอบพอไม่เคยสน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย มักไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ชอบดู เหตุผล ชอบคิดวิเคราะห์สติปัญญาจึงแตกฉาน พอโตขึ้นมาอายุได้ครบบวชเป็นพร ท่านก็บวชสละเณรเปลี่ยนบวชเป็นพระต่อไปเลย การบวชเป็นพระนั้นเป็นที่ฮือฮาชอบพอรักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่จนถึงกษัตริย์ จัดเป็นนาคหลวง เมื่อบวชเป็นพระเสร็จ ท่านได้เที่ยวสัญจรไปมาตามที่ต่าง ๆ ตามนิสัยของท่านที่ของค้นคว้าหาความรู้จึงมุ่งศึกษาหาอาจารย์ต่าง ๆ ที่คงแก่เรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานสมถะ จากอาจารย์ต่าง ๆ ของเดินธุดงค์พงไพรไป ขณะนั้นยศของท่านยังไม่ได้ยศเป็นสมเด็จ เป็นพระธรรมดา อาศัยท่านแตกฉานด้านปัญญา พระไตรปิฎกท่านรู้อย่างดี จิตใจท่านมุ่งแต่บูชาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงริเริ่มสร้างพระขึ้นมา สมัยที่ขณะนั้นยศยังไม่ได้เป็นสมเด็จ ท่านสร้างขึ้นตามใจของท่าน รูปแบบพิมพ์พระสมเด็จที่ท่านสร้างตอนนั้น มิใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรากำลังแสวงหาพระสมเด็จกัน รูปทรงพิมพ์สมเด็จขณะนั้นเป็นรูปคดหอย จับผงมาปั้นเป็นก้อน ๆ ยาว ๆ แล้วก็วนเป็น คดหอย ปลุกเสกแจกชาวบ้าน บางพิมพ์ก็เป็นรูปปูก็มี เป็นรูปต่าง ๆ ก็มีแสดงให้เห็นว่า ท่านสมเด็จเริ่มสร้างพระสมเด็จตั้งแต่ยังไม่ได้ยศสมเด็จจากในหลวงแต่งตั้ง วัดที่ท่านได้ไปอยู่ก็หลายต่อหลายวัด แต่ในที่นี้เราจะเอาเฉพาะวัดที่สำคัญในตระกูลพระสมเด็จที่เล่นกันอยู่ นั่นคือ วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆัง ทั้งสามวัดนี้ ท่านได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาจนทุกวันนี้เราก็ต่างเสาะแสวงหากันอยู่ การสร้างนั้นท่านสมเด็จจะปลุกเสกเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้นพลังจิตในพระสมเด็จทุกรุ่นทุกพิมพ์จึงเป็นพลังจิตของท่าน

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัตถุมงคลหลวงพ่อวงษ์

วัตถุมงคลยุคต้น
หลวงพ่อวงษ์เริ่มสร้างวัตถุมงคลประมาณปี 2485 เป็นพระพิมพ์สมเด็จเนื้อผง จากคำบอกเล่าของท่านที่เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านเขียนผงได้ตั้งแต่อายุไม่ถึง 30 ปี ท่านเขียนผง นะปถมัง และผง อิทธิเจ (และจากคำบอกเล่าของปู่เสงี่ยม เคยเห็นหลวงพ่อวงษ์เขียนลบผงในปี 2478) ซึ่งหลวงพ่อใช้เวลาเขียนลบผงทั้ง 2 อย่างกว่า 10 ปี จนได้ผงพอสมควรแล้ว ท่านก็เริ่มทำพระผงพิมพ์สมเด็จ ครูอุดมเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 2489 ครูอุดมบวชเป็นพระอยู่ได้เห็นหลวงพ่อตำผงผสมผงพิมพ์พระแล้ว หลวงพ่อทำพระหลายปี แต่ได้พระไม่มากเท่าไหร เพราะว่าท่านผสมผง นะปถมังและผงอิทธืเจมาก จึงเปลืองผงมากเนื้อพระก็มีมวลสารน้อยเพราะมีผงมาก และพระของท่านจะถูกน้ำไม่ได้จะละลายเป็นก้อน พระของท่านมีดินสอพองเป็นหลัก มีกล้วยเป็นตัวประสาน มีข้าวสุกตากแห้ง พระของท่านจึงมีกลิ่นหอม ถ้าเก็บรักษาไม่ดีจะมีแมลงกัดแทะทำให้พระของท่านเหลือมาถึงปัจจุบันน้อย และพระเครื่องของท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูงมาก มักจะมีผู้ที่ชอบขูดขอบพระบ้าง เจาะด้านหลังบ้าง แช่น้ำบ้าง เพื่อนำผงของพระไปใช้ในทางเสน่ห์เรื่องผู้หญิง และใช้ได้ผลดี จนมีเรื่องมาถึงท่านหลวงพ่อต้องคอยแก้ไข จนท่านต้องเอ่ยปากแช่งผู้ที่นำผงไปใช้แล้วได้ผลแต่ไม่รับผิดชอบเลี้ยงดู “ขอให้ฉิบหาย” ท่านจึงนำพระผงที่เหลือไปบรรจุในเจดีย์

และในปี 2523 หลวงพ่อสมชาย ได้ทำการบูรณะเจดีย์องค์ดังกล่าว พบพระผงของท่านได้ละลายรวมกันเป็นก้อนด้วยความชื้นในองค์เจดีย์ แต่ความไม่รู้ของคนงานได้ฉีดน้ำทำให้พระของท่านละลายซึมลงพื้นไปหมด เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง


เสือหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส
แบบพิมพ์พระ
หลวงพ่อวงษ์ ท่านมีความเลื่อมใสต่อองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆังมาก ท่านจึงนำแบบพิมพ์ของสมเด็จมาเป็นแบบอย่าง ผู้ที่เคยได้รับพระจากมือหลวงพ่อ ยืนยันว่าเคยได้แต่พระที่เป็นพิมพ์สมเด็จ ไม่เคยได้รับพิมพ์อื่นเลย
ร.อ.ประยูร ภู่บัวเผื่อน ซึ่งเคยบวชเป็นพระที่วัดเล่าให้ฝังว่า เคยเห็นหลวงพ่อพิมพ์พระอยู่ก็เลยชวนพระในพรรษานั้นไปหา หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ขอบูชาพระพิมพ์ชินราชมา แล้วนำมาถอดพิมพ์เพื่อพิมพ์พระผง โดยใช้เด็กรับใช้ในกุฏิท่าน ชื่อเน่า หรือนายสุทศ ยุวชาติ นำผงของท่านมาให้ และช่วยกันทำพิมพ์ไ
ด้มากพอควรแล้วก็แบ่งกันโดยไม่ได้ให้หลวงพ่อปลุกเศกอีก เพราะผงของท่านทำเสร็จแล้วไม่ต้องเศกอีก ทำให้พระชินราชนี้เหมือนของพระพิมพ์ชินราชหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ร.อ.ประยูรยังเล่าอีกว่าเคยเห็นพระของหลวงพ่อเป็นพิมพ์สมเด็จเท่านั้นไม่มี พิมพ์อื่นอีก จึงพอสันนิษฐานว่า พิมพ์ของท่านมีแต่พิมพ์สมเด็จส่วนพิมพ์อื่นนั้นน่าจะเป็นของลูกศิษย์ทำกัน เอง โดยใช้ผงของหลวงพ่อวงษ์มาผสม แต่พระของหลวงพ่อเองนั้นจะมีผงมาก เพราะหลวงพ่อทำเอง และที่พระพิมพ์ของท่านจะมีลายมืออยู่ที่ด้านหลังพระทุกองค์ เพราะท่านกดพิมพ์เององค์เดียว เพียงใช้ลูกศิษย์ตำผงให้เท่านั้น พิมพ์ของท่านเป็นหินลับมีด
เมื่อหลวงพ่อสมชายขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ได้สำรวจกุฏิของหลวงพ่อยังพบแบบพิมพ์ พระนางพญา พระชินราช พระนาคปรก และได้นำไปบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ พระของท่านมีหลายขนาด และที่เห็นมี 4 ขนาดคือ
- ขนาดใหญ่แบบไกเซอร์
- ขนาดกลาง ประมาณ 3 x 4 เซนติเมตร
- ขนาดเล็กเท่ากันพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง
- และขนาดเท่ากับ 1 x 1 เซนติเมตร (พิมพ์คะแนน หายากมาก)
แบบพิมพ์ที่พบเห็นนั้นมี พิมพ์สมเด็จ พิมพ์ไกเซอร์ พิมพ์แขนหักศอก พิมพ์แขนตรง พิมพ์ไหล่ตรง พิมพ์อกร่อง พิมพ์คะแนน พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์พระชินราช พิมพ์หลวงพ่อโต พิมพ์นางพญา พิมพ์พระรอด
และพิมพ์ซุ้อกอ

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส

หลวงพ่อวงษ์ บิดาชื่อ นายเลียบ เจริญกุล มารดาชื่อ นางจั่น เจริญกุล
เกิดเมื่อวัน เสาร์ที่ 7 มิ.ย. 2445 บ้านเลขที่ 193 ต.บางโพงพาง อ.บ้านทวาย(ยานนาวา) กรุงเทพฯ มีพี่น้อง 8 คน เป็นคนที่ 5

การศึกษา

จากการ สอบถามปู่เสงี่ยม เถื่อนอิ่ม อายุ 91 ปี ได้ความว่า ในสมัยนั่นใครที่เรียนหนังสือกับพระวัดปริวาสฯ แล้วต้องไปสอบไล่เพื่อจบ ป.4ที่ ร.ร.วัดไพชยนต์ ฝั่งพระประแดง จากประวัติของท่านบันทึกว่าท่านจบป.4 ไม่ทราบ ร.ร.แต่สันนิษฐานว่า ท่านเรียนหนังสือกับพระที่วัด แล้วไปสอบเทียบความรู้จนจบป.4 ซึ่งถือว่าสูงสุดในสมัยนั้นจนอายุ 21 ปี ก็โดนเกณฑ์ไปเป็นทหารเรืออยู่ในกรมสรรพวุธบางนา ปลดประจำการเมื่ออายุ 23 ปี


บรรพชา
หลังปลดประจำการก็อุปสมบท ที่วัดปริวาสฯ เมื่อวันพุธ ที่ 17 มิ.ย. 2468 โดยมี พระครูวินยานุบูรณาจารย์(เชย)
วัดโปรดเกษเชษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดไม้วัดปริวาสฯเป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูขันตยาภิวัฒน์ วัดด่าน
เป็นพระอนุสาวนาจารย์
การศึกษาบวชเรียน
เมื่ออุปสมบทแล้วได้เดินทางไปศึกษาที่สำนักเรียน วัดทองธรรมชาติ วัดจักรวรรดิราชาวาส(สามปลื้ม) วัดมหาธาตุ
จนสอบได้ นักธรรมชั้นตรี และได้เรียนภาษาบาลีแบบมูลกัจจายน์ ขอมบาลีและขอมไทยจนชำนาญ แตไม่ได้เข้าสอบเพิ่ม
เนื่องจากพระปลัดไม้มรณะภาพในปี 2471 และหลวงพ่อวงษ์ ก็ได้รับการแต่งตั้งรักษาการเจ้าอาวาส วัดปริวาสฯ
เมื่อ ปี 2472 ท่านจึงหยุดการศึกษาเนื่องจากไม่มีเวลา

การศึกษาวิทยาคม

1.ศึกษาจากพระปลัดไม้ วัดปริวาสฯ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ จากการสอบถามปู่ฟัก ปู่เสงี่ยม อายุเกิน 90 ปี ยาย อารี อายุ 88 ปี จึงทราบว่า พระปลัดไม้มีชื่อเสียงจากการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร
และการสูญฝีด้วยปูน กินหมากและชำนาญวิชาจับยามสามตา และถ่ายทอดวิชาต่างๆให้แก่หลวงพ่อวงษ์
2.ปู่ เนียน สังข์เนตร อาศรมบางวัว สมุทรปราการ ติดค่ายสรรพวุธบางนา ท่านศึกษาวิชาจากปู่เนียนมากที่สุด เช่น การเล่นแร่แปรธาตุ การต้มปรอท การรักษาโรค การเขียนผงลบผง ซึ่งท่านก็สามารถปฏิบัติได้ดี ไม่แพ้ผู้เป็นอาจารย์
3.พระครูรัตนรังษี(หลวงพ่อพุ่ม)วัดบางโคล่นอก ซึ่งเก่งวิชาวิปัสสนา และโด่งดังมากในยุคนั้น แม้แต่สมเด็จพระสังฆราช แพยัง ทรงเลื่อมใส ไดปทานผ้ากราบให้เป็นเครื่องยกย่อง
4.ศึกษาจากตำราเก่า ทั้งตำราเขียนผงอิทธิเจ การลงตะกรุด ตำรายารักษาโรค ตำราจับยามสามตา ตำราคาถาต่างๆ ประมาณ 3 หีบไม้ ที่ได้รับตกทอดมาจากพระปลัดไม้ และอาจรย์ท่านอื่นอีกหลายท่าน
5.ศึกษาจากหลวงปู่ปาน วัดมงคลโคธาวาส(บางเหี้ย) ท่านน่าจะศึกษาจากหลวงปู่ปาน ทางนิมิต ซึ่งท่านได้ศึกษาวิชาสร้างเสือและปลุกเศกเสือ ได้ขลังตามแบบหลวงปู่ปานผู้เป็นอาจารย์ แต่หลวงพ่อวงษ์ ไม่ได้สร้างเสือจากเขี้ยวเสือแกะเพราะไม่อยากทับรอยอาจารย์

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติเหรียญจักรเพชร วัดดอน

เหรียญจักรเพชร วัดดอน ยานนาวา
สามเณรวิรัช ลุปซ่าร์ บ้านเดิมอยู่ย่านวัดดอน ยานนาวา มีปู่เป็นชาวเยอรมันชื่อเฟอร์โด ลุปซาร์เคยเป็นครูสอนเกษตรในไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ คุณย่าชื่อแช่ม สกุลเดิมคือศรีโยหะ บิดาชื่อวินิจ ลุปซาร์

สามเณรวิรัช ลุปซาร์ เกิดเมื่อปี ๒๔๙๐ เป็นลูกคนที่สี่ บวชเป็นเณรที่วัดดอน ยานนาวาตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ศึกษาวิชาไสยศาสตร์กับอาจารย์ที ชาวเขมรที่ศรีสะเกษจนสำเร็จ อาจารย์ทีสิ้นชีวิตเมื่ออายุ ๑๒๔ ปี ขณะนั้นสามเณรวิรัชอายุได้ ๑๒ ปี


เหรียญจักรเพชร วัดดอน
เมื่อได้วิชาแล้วสามเณรวิรัช กลับมายังวัดดอนยานนาวาที่บวชอยู่และเผยแพร่วิชาไสยศาสตร์ที่ร่ำเรียนมา มีทั้งการลงเสือ ลงช้าง เสกเป่า เมื่อลงเสร็จแล้วก็ทดลองกันเดี๋ยวนั้นในโบสถ์วัดดอน จนมีชื่อเสียงกระฉ่อน แต่สามเณรวิรัชมีอายุที่ได้รับจากเบื้องบนเพียง ๑๙ ปี มรณะปี พ.ศ. ๒๕๐๙

ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ก่อนมรณะได้สร้างเหรียญจักรเพชรขึ้นและได้บรรจุวิชาสำคัญครบเครื่องตั้งแต่เมตตามหานิยม แคล้วคลาด จนถึงคงกระพันชาตรี เป็นเหรียญที่โด่งดังมาก

"เหรียญจักรเพชร"
ฝีมือของกองกษาปณ์กรมธนารักษ์อีกเช่นกัน เหมือนกับ "เหรียญจักรเพชร" ซึ่งเป็นเหรียญรุ่นแรก


เหรียญจักรเพชร วัดดอน

ส่วนการประกอบพิธีมังคลาภิเษก ก็เป็นไปอย่างยิ่งใหญ่อลังการ คำว่ายิ่งใหญ่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงโฆษณามาก ๆ เน้นการแต่งแต้มสีสันในพิธีให้ดูอลังการแบบวัตถุนะครับ แต่หมายถึงการจัดเครื่องบวงสรวงบูชา การนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ การนิมนต์พระเถรานุเถระมาร่วมกันนั่งปรก ทำได้อย่างถูกต้องครบถ้วน มีการเสกไปตามธาตุต่าง ๆ ทั้งสี่ เช่น ธาตุน้ำก็ขนลงไปเสกในแพ ธาตุลมก็ขนขึ้นไปเสกบนยอดเขา ฯลฯ

การปลุกเศกเหรียญจักรเพชร มีพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่เป็นความยิ่งใหญ่แบบเงียบๆเฉพาะในหมู่ลูกศิษย์เท่านั้น พิธีนั้นถูกหนังสือพิมพ์ไทยรัฐโจมตีว่าเอาเดรัจฉานวิชาไปทำกันในโบสถ์วัด
คนที่ได้พบกับประสบการณ์ชีวิตที่ไม่แน่ใจว่าคนฟังๆแล้วจะเชื่อหรือไม่ คือการทำพิธีในโบสถ์แต่ละคืนรวม 7 คืนหรือ 9 คืน จำไม่ได้แน่นอน แต่ละคืนลูกศิษย์ทุกคนต้องมายืนรับอาจารย์ของสามเณรวิรัชซึ่งได้เคยไปเรียนวิชากันในป่าตั้งแต่ไทย ลาว พม่า อินเดีย ช่วงที่สามเณรวิรัชธุดงค์ไปเพื่อเรียนรู้วิชาอาคม มีตั้งแต่อาจารย์ที่เป็นแขก จีน ฯลฯ ส่วนใหญ่ทุกคนจะเป็นลักษณะนักบวชที่อยู่ในป่า เวลามาในงานปลุกเศก ก็ไม่มีใครไปรับ อยู่ๆก็เห็นเดินเข้ามา พอผ่านตัวจะรู้สึกเหมือนก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ผ่านตัวเราไป เย็นวูปเลย พอเสร็จพิธีเดินออกมาจากโบสถ์ผ่านพวกเราออกไปก็เย็นเหมือนเดิม แล้วก็เดินผ่านไปพอพ้นสายตาเรา ก็จะหายไป ดุจผู้วิเศษที่ล่องหนมา แล้วก็ไป ใครที่ไปจองเหรียญนี้ต้องมีเงินถึง 500 บาทในสมัยนั้น

ปรากฏว่าหลังจากปลุกเศกเสร็จ ยังไม่ท่านจะแจกเหรียญและก็ยังมีผ้ายันต์ด้วย เกิดไฟไหม้ห้องสามเณร ของอย่างอื่นไหม้หมด ยกเว้นบริเวณที่เป็นโต๊ะหมู่ที่มีพระและของที่ปลุกเศก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้ายันต์ซึ่งวางอยู่บนถาดใหญ่ ผ้าลองผ้ายันต์ที่ห้อยลงไปจากถาดเป็นรอยไหม้หมด แต่ผ้ายันต์ไม่เป็นอะไรเลย

ก่อนจะได้รับจากสามเณรวิรัช ก็ต้องมีพิธีลองของกัน โดยมีของมีคมอยู่ 8 หรือ 9 ชนิด มีตั้งแต่ดาบมีดสั้น เหล็กแหลม เก้าอี้ตะปูคม สารพัดสาตราวุธ ซึ่งคนที่เช่าจองทุกคนก่อนรับไปต้องเลือกเอาอย่างหนึ่งเพื่อลองความขลัง (เกือบทุกคน) ผ่านการทดลองไปได้ด้วยดี แต่มีอยู่หนึ่งคนราคือเด็กชายฉัตรชัย กันตถาวร เลือกเหล็กแหลมยาวประมาณหนึ่งฟุต แล้วให้คนที่อยู่ในพิธีออกมาจับสองมือแทงเข้าที่สีข้าง ก่อนหน้าทุกคนก็ไม่มีปัญหา แต่พอถึงเจ้าฉัตร ปรากฎว่าเหล็กนั้นทิ่มเข้าไป เลือดทะลักเลย เดือดร้อนสามเณรวิรัชต้องมาทำคาถาเอาเทียนอุดให้ แป๊บเดียวหายเลย เชื่อหรือไม่เชื่อ ก็ลองไตร่ตรองเอาเอง บางคนเอาดาบที่ใหญ่ที่สุดฟันลงกลางหลัง เป็นแค่ที่เขาเรียกกันว่าเลือดออกยางบอนเป็นเส้นยาวกลางหลังเหมือนใครเอาตะปูมาขีดลงบนหลังเรา ตั้งแต่วันนั้นมาจนวันนี้พี่ยังห้อยคอด้วยเหรียญนี้อยู่บนคอ(ข้อความจากศิษย์วัดสุทธิวราราม)

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติวัดละหารไร่และบารมีหลวงปู่ทิม

ล.ป.ทิม วัดละหารไร่
วัดละหารไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
วัดละหารไร่นี้ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2354 โดยหลวงพ่อสังข์เฒ่า รองเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่สมัยนั้น เห็นว่าพื้นที่ทางฝั่งคลองด้านตรงข้ามทางทิศเหนือของวัดละหารใหญ่มีทำเลดี เหมาะแก่การปลูกพืชผัก จึงได้หักล้างถางพงใช้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผัก ขึ้นแรกได้สร้างที่พักร่มเงาไว้เมื่อถึงเวลาเข้าพรรณา ก็จำพรรษาที่วัดละหารใหญ่ ต่อมามีผู้คนไปทำไร่ในแถบใกล้ๆ ที่นั้นมากขึ้น เห็นว่ามีพระสงฆ์อยู่ เมื่อถึงวันพระก็จัดภัตตาหารไปถวายเป็นประจำ ต่อมาได้มีพระภิกษุไปอยู่เพิ่มมากขึ้น จึงได้ก่อสร้างกุฏิวิหาร พระสงฆ์ก็มาจำพรรษาที่นั่น ตั้งชื่อว่า "วัดไร่วารี" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดละหารไร่" โดยมีหลวงพ่อสังข์เฒ่าเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

ในภายหลังทางวัดละหารไร่ได้มีพระภิกษุแก่อวุโสขึ้นหลวงพ่อสังข์เฒ่าจึ มอบให้ปกครองกันเอง ส่วนตัวท่านได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่ (ทราบว่าภายหลังได้รับการนิมนต์จากเจ้าเมืองระยองไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเก๋ง จังหวัดระยอง) มอบหมายให้หลวงพ่อแดง เป็นเจ้าอาวาสแทน เต่มาได้มีเจ้าอาวาสอีกหลายรูปปกครองวัดละหารไร่ คือ หลวงพ่อเกิด หลวงพ่อสิงห์ หลวงพ่อจ๋วม ต่อมาหลวงพ่อจ๋วมได้ลาสิกขาบท ทำให้วัดละหารไร่ขาดพระภิกษุจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ในขณะนั้นหลวงพ่อทิม อิสริโก (งามศรี) ได้เดินทางกลับจากจังหวัดชลบุรี พุทธศาสนิกชนบ้านละหารไร่จึงพร้อมใจกันนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2450 หลวงพ่อทิมจึงได้สร้างอุโบสถขึ้นหลังหนึ่งทำด้วยไม้ ปัจจุบันได้เลื่อนย้ายมาห่างจากที่เดิมประมาณ 20 วา และบูรณะให้อยูในสภาพเดิม

ปี พ.ศ.2483 หลวงพ่อทิมได้มอบศาลาการเปรียญ เป็นสถานที่เปิดสอนนักเรียนเพื่อให้บุตรหลานได้ศึกษาเล่าเรียน ต่อมาชาวบ้านเห็นดีด้วยจึงได้ร่วมใจสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ข. ขึ้นหลังหนึ่ง และเริ่มทำการสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2483 โดยมีนายเสียน จันทนี เป็นครูใหญ่

พ.ศ.2514 นายธง สุขเทศน์ และชาวบ้านวัดละหารไร่จึงได้ร่วมใจกันสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ โดยหลวงพ่อทิม มอบเงินให้เป็นทุนขั้นแรก 30,000 บาท ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมือวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2515 ด้วยบารมีของหลวงพ่อทิม บุโบสถก็สำเร็จภายในเวลาเพียงปีเศษเท่านั้น และได้ขอพระราชทานวิสุงคามเสมาทำพิธีฝังลูกนิมิตเมื่อตั้นปี พ.ศ.2517

ปี พ.ศ.2478 พระอธิการทิม อิสริโก จึงได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นพระครูชั้นประทวน โดยส่งหมายและตราตั้งไว้ทางเจ้าคณะจังหวัดระยอง แต่หลวงปู่ทิมก็ยังไม่ยอมไปรับ และไม่บอกใคร ทางจังหวัดจึงได้มอบหมายให้เจ้าคณะอำเภอมามอบให้ที่วัดเอง ท่านจึงได้รับเป็นพระครูทิม อิสริโก และได้รับเป็นพระคู่สวด ปีพ.ศ.2497 ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งพระครูทิม อิสริโก เลื่อนชั้นเป็นพระครูสัญญาบัตร ท่านก็ยังไม่ยอมเอา และไม่บอกให้ญาติโยมได้รู้จนทางเจ้าคณะอำเภอได้มีหนังสือส่งไปยังวัด ไวยาวัจกรได้ทราบและนำเรื่องนี้ปรึกษาชาวบ้านและคณะกรรมการวัดให้ทราบ ตึงอาราธนาหลวงปู่ทิม มารับัญญาบัตรพัดยศ เมือนวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2507

บารมีของหลวงปู่ทิม
บิณฑบาตที่จ.ชลบุรี
มีผู้ชายคนหนึ่งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี อ.บางละมุง ซึ่งผมจำชื่อไม่ได้ ได้มาเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อวานนี้ผมเห็นหลวงปู่ทิม ไปบิณฑบาตอยู่ที่เมืองชล ผมจำได้เขาบอกว่าเรื่องนี้เป็นความจริง เพราะจำหลวงปู่ทิมได้ ผมก็ได้แต่นึกและก็ไม่กล้าตอบ แต่นึกว่าหลวงปู่ของเราจะเป็นไปได้หรือ ผมจึงเก็บเอาเนื้อความนี้ไว้แต่ในใจและก็คุยกันเรื่องอื่นต่อไป อยู่มาประมาณอีกสัก 10 กว่าวันก็มีคนเมืองชลมาเล่าให้ผมฟังอีก ก็เหมือนกับทีคนแรกเล่าให้ผมฟังทุกประการ ผมจึงลองถามหลวงตาที่เป็นขรัวรองอยู่ที่วัดดูและเล่าเรื่องราวให้ท่านฟัง ท่านตอบว่า อาตมาก็ไม่ทราบและไม่ได้สังเกตเพราะฉันจังหันต่างกัน แต่ก็ปรากฏท่านทีอาหารแปลกปะปนอยู่เสมอ แต่ก็อาจจะเป็นความจริงเพราะท่านเป็นพระที่สำเร็จญาณชั้นสูงอยู่แล้ว

ยิงไม่ถูก
มีชาวบ้านหนองละลอกคนหนึ่งชื่อ นายธง สุขเทศ หรือชาวบ้านละแวกนั้นมักเรียกว่า ปลัดธง บ้านอยู่ไม่ห่างจากบ้านผมเท่าไรนัก หลังจากที่ผมกลับจากทำงานก็อาบน้ำจวนจะทานอาหาร เวลาประมาณ 1 ทุ่ม ปลัดผู้นี้ก็เริ่มจะทานอาหารเหมือนกัน หยิบจานอาหารมาวางและมีลูกสาวอยู่ใกล้ๆ ผมก็กำลังทานอาหารอยู่ที่บ้าน ก็ได้ยินเสียงปืนระเบิดขึ้น 2 จังหวะ 4 นัด แล้ว 3 นัดติดต่อกัน ปรากฏภายหลังว่าผู้ยิงพาดปืนกับขอบสังกะสีรั้วบ้านระยะประมาณ 4 เมตร แต่กระสุนมิได้ถูกนายธงเลย มีกระสุนไปถูกขาตั้งรถจักรยานทำให้สะเก็ดบินไปโดนเด็กลูกสาวที่ขาบาดเจ็บ เล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้คงเป็นเพราะอภินิหารเหรีญหลวงปู่ทิมรุ่นแรกซึ่งนายธงแขวนคออยู่เพียง เหรียญเดียว ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่าผู้ยิงใช้ปืนคาบิ้น 2 กระบอกเพราะเก็บปลอกกระสุนได้แน่ชัด

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com