วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

หลวงปู่รอด วัดนายโรง

ประวัติ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
เป็นชาวบางพรม ต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดนายโรง จนกระทั้งได้รับแต่งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนายโรง รูปที่ ๒ และเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ทำการอุปสมบทกุลบุตรในย่านคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ บางละมาด บางพรม ธนบุรี ตลอดจนบางกรวย บางใหญ่ บางคูเวียง นนทบุรี จนมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก หลวงปู่รอดนอกจากจะเป็นพระเถระที่มีความรู้ความชำนาญด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว ยังมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นพิเศษในด้านพุทธาคมและเวทย์วิทยาคมอีกด้วยโดยเฉพาะ เรื่อง เบี้ยแก้ และลูกอมชานหมาก
หลวงปู่รอด วัดนายโรง

วัตถุมงคลของหลวงปู่รอด
เบี้ยแก้ เป็นหอยชนิดหนึ่งลักษณะหลังนูนท้องแบน เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน ช่องปากยาวแคบเป็นลำราง ไปจนสุดปลายทั้งสองข้างริมปากทั้งสองด้านเป็นหยัก ๆ คล้ายฟัน นำมาประกอบพิธีปลุกเสกด้วยพุทธาคมและเวทย์วิทยาคม ตามกรรมวิธีหลวงปู่แล้ว เรียกว่า เบี้ยแก้ เชื่อกันว่า เป็นวัตถุมงคลที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ช่วยให้ผู้ถือครองตั้งอยู่ในความดี และสามารถป้องกันหรือแก้ไขอันตรายต่าง ๆ จากคุณไสย และภูตผีปีศาจได้เป็นอย่างดี ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้น
เบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง

ส่วนประกอบและมวลสารของเบี้ยแก้
เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ประกอบด้วยวัตถุ ๔ อย่าง คือ
1. หอยเบี้ย
2. ปรอท
3. ชันโรงใต้ดิน
4. แผ่นตะกั่วนม

หลวงปู่จะนำวัตถุทั้ง 4 อย่างมาเป็นส่วนประกอบและผสมมวลสาร หลังประกอบพิธีปลุกเสกด้วยพุทธาคมและเวทย์วิทยาคมตามกรรมวิธีของท่าน เมื่อผ่านพิธีปลุกเสกแล้ว หลวงปู่จะมอบให้ลูกศิษย์ไว้ติดตัวเพื่อป้องกันและแก้ไขอันตรายต่าง ๆ ปัจจุบันเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด เป็นวัตถุมงคลที่มีค่าสูง และหาได้ยากมาก

ลักษณะพิเศษเบี้ยแก้หลวงปู่รอดจะมีลักษณะพิเศษที่พอสังเกตได้ดังนี้
1. ตัวเบี้ย หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า เบี้ยพลู มีขนาดไม่ใหญ่เกินไปนัก จะมีขนาดความยาว
ประมาณ ๓.๔ -๓.๕ ซ.ม. และกว้าง ๒.๔-๒.๕ ซ.ม.
2. ลักษณะภายใน หากจับเขย่าดู จะมีเสียงดังเบา ๆ ซึ่งเป็นเสียงปรอทที่บรรจุไว้ภายใน
3. บริเวณใต้ท้องเบี้ยแก้ จะมีชันโรงใต้ดินปิดอยู่ ตั้งปากเบี้ยจนถึงท้องเบี้ย และชันจะเกาะติด
แน่นอยู่กับท้องเบี้ย
4. เบี้ยแก้ทุกตัว จะหุ้มด้วยแผ่นตะกั่วนมอย่างดีและประณีตบรรจง โดยจะเปิดส่วนที่นูนของ
เบี้ยไว้
5. แผ่นตะกั่วที่หุ้มเบี้ยแก้ จะมีการลงอักขระกำกับไว้ โดยการใช้เหล็กจาร หากดูผิวเผินอาจจะ
มองไม่เห็นชัด และตัวอักษรที่จารจะมีรอยเส้นเรียบ
6. เบี้ยแก้ทุกเบี้ยจะถักด้ายหุ้มไว้ ในการถักด้ายจะมี ๒ แบบ คือ ถักหุ้มปิดหลังเบี้ย และถัก
หุ้มเปิดหลังเบี้ย แล้วทาด้วยยางมะพลับ หรือยางหมาก ปิดทับไว้อีกชั้นหนึ่ง

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
เหรียญพระเครื่องและวัตถุมงคลพระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพรนั้นมีการสร้างเป็นจำนวนมากเฉพาะเหรียญอย่างเดียวมีการทำขึ้นหลายรุ่น สำหรับเหรียญรุ่นแรกนั้นสร้างในปี พ.ศ.2507 โดยคณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวาย เป็นเหรียญรูปวงรีมีห่วงของเรียบรูปพระอาจารย์ฝั้น หันไปด้านขวาครึ่งองค์ ด้านล่างมีลักษณะพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ด้านหลัง ระบุตัวอักษรว่า รุ่นแรกศิษย์ ทอ.สร้างถวาย วัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร 2507 ซึ่งเป็นปีที่สร้าง ส่วนเนื้อโลหะที่สร้างมีทั้งเนื้ออัลปาก้า ทองแดง ทองคำ โดยเนื้อที่ปรากฏเป็นส่วนใหญ่ คือ เนื้ออัลปาก้า บางเหรียญมีกะไหล่ทองด้วยส่วนเนื้อทองคำ สร้างน้อยและหายากยิ่ง

เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ลักษณะเหรียญพระอาจารย์ฝั่น รุ่นแรก : เหรียญรูปวงรีมีห่วง ของเรียบรูปพระอาจารย์ฝั้น หันไปด้านขวาครึ่งองค์ ด้านล่างมีลักษณะพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ด้านหลัง ระบุตัวอักษรว่า รุ่นแรกศิษย์ ทอ.สร้างถวาย วัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร 2507

การสร้างเหรียญพระอาจารย์ฝั้น นั้นสร้างทั้งหมด 7 รุ่น จัดสร้างโดยคณะศิษย์ทหารอากาศเป็นผู้สร้างถวาย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 ถึงในปี 2511 จุดสำคัญคือ เหรียญพระอาจารย์ฝั้นทุกรุ่นจะใช้บล็อคด้านหน้า เหรียญพระอาจารย์ฝั่นรุ่นแรก เหมือนกันหมดแตกต่างกันตรงที่ด้านหลังจะใช้บล็อคไม่เหมือนกันในแต่ละรุ่น

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

เหรียญแจกทาน ล.พ.พรหม ปี2515

หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์ ... เหรียญแจกทาน ปี 2515

"เหรียญแจกทาน" หลวงพ่อพรหม ปี 2515

"เหรียญแจกทาน" รุ่นนี้จัดสร้างโดยคณะกรรมการวัดช่องแค โดยโรงงานย่านสะพานเหลือง กรุงเทพฯ สาเหตุการจัดสร้างเพื่อหาทุนสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ (ที่ไว้สังขารหลวงพ่อพรหมปัจจุบัน) และส่วนหนึ่งไว้ให้หลวงพ่อแจกทานด้วย ครั้งแรก มีแต่ สังฆฏิสั้น ต่อมาบล๊อกหน้าชำรุด จึงทำแบบใหม่ขึ้นมาเป็นสังฆฏิยาว โดยมีรายละเอียดและเนื้อดังนี้

เหรียญแจกทานพิมพ์สังฆฏิสั้น
1. เนื้อเหรียญบาท จำนวนจัดสร้างประมาณ 50 เหรียญ
2. เนื้อเหรียญสลึง จำนวนจัดสร้างประมาณ 200 เหรียญ
3. เนื้อทองเหลือง มีทั้งรมดำและไม่รมดำ และชุบทองและไม่ชุบทอง จำนวนประมาณ 7750 เหรียญ

เหรียญแจกทานพิมพ์สังฆฏิยาว
1. เนื้อทองเหลือง มีทั้งรมดำและไม่รมดำ ประมาณ 3000 เหรียญ
2. เนื้อทองแดง มีทั้งรมดำและผิวไฟ รวมกันไม่เกิน 2000 เหรียญ

สาเหตุที่เรียกว่าแจกทาน เพราะทางคณะกรรมการวัด แบ่งให้หลวงพ่อ ไว้แจกทานจำนวน 3000 เหรียญปนกันทั้งสองแบบ และอีก 1000 เหรียญทางคณะกรรมการวัด แจกในงานทำบุญสรงน้ำหลวงพ่อ ปี 15 ที่เหลือให้เช่าบูชาเหรียญ ละ 10 บาท

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

พระเครื่อง หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม

พระเครื่องหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่ามและวัตถุมงคลของหลวงพ่อเต๋ท่านไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงาม แต่เน้นเรื่องพุทธคุณเป็นสำคัญ ด้วยท่านตั้งใจสร้างให้บูชาติดตัว เพื่อป้องกันภัยต่างๆ มีพุทธคุณรอบด้าน ทั้งด้านมหาอำนาจ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด เนื้อพระส่วนมากเป็นแบบเนื้อดินผสมผงปนว่าน ผสมลงไปในพระทุกพิมพ์ ด้านหลังองค์พระจะประทับชื่อ หลวงพ่อเต๋ กดลึกลงไปในเนื้อพระ

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม พ.ศ. 2486
สำหรับเหรียญหลวงพ่อเต๋ รุ่นแรก สร้างเมื่อปีพ.ศ.2486 โดยคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกับวัดวัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ขออนุญาตจัดสร้างขึ้น

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อเต๋ ห่มจีวรเฉียงบ่า ปลายสังฆาฏิแตก เป็นเหรียญปั๊มตัดโบราณ ด้านบนมีหูเหรียญ ด้านหลังมีอักขระโบราณอักษรลึกคมชัด ด้านหลังเหรียญ เป็นพระพุทธรูปปางลีลา มีเส้นแซมตรงส้นเท้าใกล้ฐานดอกบัว มีอักขระโบราณ 5 คำ ล้อมรอบองค์พระ

เหรียญหลวงพ่อเต๋ รุ่นแรก เท่าที่พบมีเนื้อทองแดง เนื้อเงิน ปัจจุบันเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมาก และมีของปลอมเลียนแบบค่อนข้างใกล้เคียงและยังมีการสร้างเสริมขึ้นมาภายหลัง คือ รุ่น 2 ซึ่งรุ่น 2 นี้ด้านหลังเหรียญไม่มีเส้นขนานแขน และเหรียญหลวงพ่อเต๋จะหนากว่าเหรียญหลวงพ่อเต๋ รุ่นแรก

พระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงพ่อเต๋ ขุนแผนนี้เรียกอีกชื่อว่าขุนแผนรุ่นอินโดจีน ขุนแผนหลวงพ่อเต๋ สร้างราวปีพ.ศ.2500 หรือกว่าเล็กน้อย ที่นิยมจะเป็นสีเนื้อพิกุลครับ ที่เห็นขาวๆ เขาว่ากันว่าคือกระดูกผีตายโหง ส่วนดินที่นำมาทำก็เป็นดินเจ็ดป่าช้า ซึ่งตำหรับนี้เป็นต้นตำหรับของพรายกุมารของจริง ขุนแผนหลวงพ่อเต๋ ดีมากทางเมตตามหานิยม แม้แต่ศิษย์เอกท่าน หลวงพ่อแย้มซึ่งยังมีชีวิตอยู่ยังพูดว่า ขุนแผนหลวงพ่อเต๋ ดีทางผู้หญิง แต่ก็ลองยิงดูได้

นอกจากนี้ ในปีพ.ศ.2505 ท่านยังได้จัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินพิธีใหญ่อีกครั้ง เพื่อฉลองอายุครบ 5 รอบ เนื้อดินที่ใช้ ได้นำดินทวารวดีที่ชำรุดหักและผงว่านผสมลงไปด้วย สังเกตเนื้อองค์พระเมื่อเผาแล้ว เนื้อดินจะนุ่มเมื่อถูกเหงื่อถูกสัมผัส ปรากฏมวลสารและว่านแลดูเก่ามาก

พิมพ์ที่จัดสร้าง ประกอบด้วย พระรูปเหมือนซุ้มเรือนแก้ว พระปรกโพธิ์ใหญ่ พระปรกโพธิ์เล็ก พระตรีกาย (พระสาม) พระทุ่งเศรษฐี เป็นต้น

พระเครื่องเนื้อดินดังกล่าว ด้านหลังจะมียันต์อักขระนูน เรียกว่า ยันต์สามง่าม เนื่องจากด้านหลังมีรูปตรี เป็นสัญลักษณ์ของวัดสามง่าม ส่วนพิมพ์พระทุ่งเศรษฐี ด้านหลังมียันต์และชื่อฉายา คงทอง กดประทับลึกลงไปในเนื้อทั้งนี้ วัตถุมงคลหลวงพ่อเต๋ แต่ละชิ้นล้วนแล้วแต่มีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์และเล่าขานสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม

หลวงพ่อเต๋ คงทอง เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2434 ณ บ้านสามง่าม หมู่ที่ 4 โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ บู่ นามสกุล สามงามน้อย ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 7 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 4 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 เมื่ออายุได้ 7 ปี ลุงของท่านซึ่งบวชอยู่ที่วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร มีชื่อว่า หลวงลุงแดง เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้นรูปหนึ่ง ได้ไปเยี่ยมญาติที่บ้านสามง่าม ได้พบหลานชายจึงได้ชวนให้ไปอยู่ด้วยกันที่วัดกาหลงเพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือ ธรรมะ และเวทมนต์คาถา เป็นเวลา 3 ปี จนสามารถเขียนอ่านได้เป็นอย่างดี จึงได้กลับมาบ้านเกิด

หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
หลวงลุงแดงของหลวงพ่อเต๋ ท่านเป็นผู้สนใจในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเห็นว่าบ้านสามง่าม ควรจะมีวัดวาอารามสำหรับให้พระภิกษุและชาวบ้านประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา จึงได้ชักชวนหลานชายไปสร้างวัดขึ้นที่บ้านดอนตูม ห่างจากบ้านสามง่ามประมาณ 3 กิโลเมตร

เมื่อหลวงพ่อเต๋ มีอายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุงแดง ร่วมจัดสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน รวมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงลุงแดง ประวัติหลวงลุงแดงท่านเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความเชี่ยวชาญพุทธาคมทั้งทางด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือมากมาย อีกทั้งหลวงพ่อเต๋มีศักดิ์เป็นหลานของท่าน จึงได้รับถ่ายทอดวิชามาอย่างครบถ้วนโดยไม่มีการปิดบังอำพราง

พ.ศ. 2454 ท่านมีอายุได้ 21 ปี จึงได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า คงทอง (ภายหลังเปลี่ยนเป็น คงสุวัณโณ แต่ชาวบ้านยังคงเรียกติดปากว่า คงทอง

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

หุ่นพยนต์

หุ่นพยนต์
หุ่นพยนต์ คือ หุ่นจำลองรูปคน ที่สร้างโดยผู้มีเวทมนตร์คาถาเป็นความเชื่อในวิชาไสยศาสตร์ตั้งแต่ครั้ง โบราณเรียกว่า วิชาผูกหุ่น สมัยโบราณใช้หญ้าแพรก, ไม้ไผ่, ขี้ผึ้ง, หรือผ้ายันต์ แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมกันมากคือการสร้างจากโลหะอาถรรพณ์ที่ใคร ๆ ยอมรับว่าขลังเป็นทวีคูณจากวัตถุอาถรรพณ์เหล่านี้ โดยทำเป็นหุ่นคนมีแขนมีขาแล้วปลุกเสกด้วยคาถาอาคม

หุ่นพยนต์ อาจารย์ลอย โพธิ์เงิน ท่านเป็นฆราวาสเรืองวิชาอยุธยา หุ่นพยนต์ที่ท่านสร้าง เกิดจากธาตุทั้ง 4 ปลุกเสกโดยใช้โองการต่างๆตามที่ท่านได้เล่าเรียนมา ไม่ได้เกิดจากวิณญาณหรือภูติผีต่างๆตามที่บางท่านเข้าใจ เรื่องหุ่นพยนต์นี้ของท่านนี่แหละครับอันดับหนึ่ง อุปเท่ห์การใช้ 108 เป็นทั้ง เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี มหาอุด ป้องกันคุณไสยกันกระทำ คุ้มตรองป้องกันภัยด้วย คติการสร้างที่เชื่อว่านำติดตัวหุ่นจะรองรับสิ่งที่ไม่ดีแทนตัวเราครับเรียกว่า พุทธคุณครอบจักรวาล มีแต่คุณไม่มีโทษบูชาติดตัวไปได้ทุกที่ไม่มีข้อห้าม

หุ่นพยนต์ อาจารย์ลอย โพธิ์เงิน ท่านเป็นฆราวาสเรืองวิชาอยุธยา หุ่นพยนต์ที่ท่านสร้าง เกิดจากธาตุทั้ง 4 ปลุกเสกโดยใช้โองการต่างๆตามที่ท่านได้เล่าเรียนมา ไม่ได้เกิดจากวิณญาณหรือภูติผีต่างๆตามที่บางท่านเข้าใจ เรื่องหุ่นพยนต์นี้ของท่านนี่แหละครับอันดับหนึ่ง อุปเท่ห์การใช้ 108 เป็นทั้ง เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี มหาอุด ป้องกันคุณไสยกันกระทำ คุ้มตรองป้องกันภัยด้วย คติการสร้างที่เชื่อว่านำติดตัวหุ่นจะรองรับสิ่งที่ไม่ดีแทนตัวเราครับเรียกว่า พุทธคุณครอบจักรวาล มีแต่คุณไม่มีโทษบูชาติดตัวไปได้ทุกที่ไม่มีข้อห้าม

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com