วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อกวย ชุตินันธโร วัดโฆสิตาราม

รูปถ่ายหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
วัดโฆสิตาราม
วัดโฆสิตาราม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่๙ หมู่บ้านบ้านเเค ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีเนื้อที่ ๓๕ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี ๑๕ กิโลเมตร อายุประมาณ ๑๐๐ปีเศษ เดิมเป็นวัดร้าง ชื่อวัดขวิด ตั้งอยู่ในป่า มีกุฎิสองหลัง หลังคามุงเเฝก พอประชุมปั้นหยามุงเเฝกเช่นกัน
ก่อนหลวงพ่อกวยมีเจ้าอาวาสมาเเล้ว๕รูป หลวงพ่อกวยเป็นเจ้าอาวาสรูปที่๖ เหตุที่ชื่อวัดขวิด เพราะเนื่องจากทำเลเป็นที่ดอนเเละมีต้นมะขวิดขึ้นอยู่ เเต่คนเก่าๆเเก่เรียกวัดบ้านเเค ตามชื่อของหมู่บ้านคือบ้านเเค ต่อมาสมัยที่หลวงพ่อกวยเป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดโฆสิตาราม

สันนิษฐานว่าหลวงพ่อกวยท่านคงมีเเรงบันดาลใจมาจากการที่ท่านได้สร้างพระพุทธพิมพ์ซึ่งมีรูปเเบบเหมือนกับของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆสิตาราม เเละในการสร้างพระหลวงพ่อยังได้ใช้ผงของสมเด็จโต วัดระฆังเป็นส่วนผสมด้วย ผงวัดระฆังนี้ ลูกศิษย์หลวงพ่อได้ไปบวชที่วัดระฆัง ได้ค้นพบผงนี้เเล้วนำมาถวายหลวงพ่อ

เพื่อเป็นรำลึกถึงสมเด็จโต หลวงพ่อจึงเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ให้เป็นศิรินามเเละเป็นมงคล ลำดับเจ้าอาวาส ตามคำบอกเล่าวัดนี้มีเจ้าอาวาสมาก่อนเเล้ว๕รูปเเต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน ที่มีหลักฐานเเน่ชัดตามดังนี้

๑.หลวงพ่อกวย ชุตินธโร (เจ้าอาวาสรูปที่๖ พ.ศ.๒๔๙๑ ถึง ๒๕๒๒)

๒.พระอธิการสำรวย อัคคฺปญฺโญ (เจ้าอาวาสรูปที่๗ พ.ศ.๒๕๒๒ ถึง ๒๕๓๕)

๓.พระครูโฆสิตพัฒนคุณ (บุญยัง ฐานวโร พ.ศ.๒๕๓๕ ถึง ปัจจุบัน)

หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร มีนามเดิมว่า กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ปีมะเส็ง ณ หมู่บ้าน บ้านแค หมู่ ๙ ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นบุตรของคุณพ่อ ตุ้ย ปั้นสน ซึ่งบ้านเดิมอยู่วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มารดาชื่อคุณแม่ต่วน เดชมา เป็นคนบ้าน แค ท่านทั้งสองมีบุตรและธิดาด้วยกัน ๕ คน

ต่อมาเมื่อครบอายุบวช จึงเข้าอุปสมบท โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ พระชัยนาทมุนี มีหลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เเละพระอาจารย์หริ่งเป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ เวลา ๑๕ นาฬิกา๑๗ นาที อายุ ๒๐ ปี ณ วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีฉายาว่า ชุตินฺธโร แปลว่า "โลกนี้มีแต่ความวุ่นวายของโลก หนักไปด้วยกิเลส ตัณหาคือ โลภ โกรธ หลง ทั่งสิ้น ถ้าท่านผู้ใดตัดกิเลส ตัณหาได้ก็จะถึงซึ่งฝั่งพระนิพพาน"

หลวงพ่อกวย ชุตินันธโร วัดโฆสิตาราม


สมณศักดิ์
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ อายุ ๗๔ ปี ๕๔ พรรษา ด้วยอาการสงบ ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงพ่อได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉันโรค ว่าหลวงพ่อเป็นโรคขาดอาหารมาเป็นเวลา ๓๐ ปี ได้ให้สารอาหารประเภทโปรตีนกับหลวงพ่อ เป็นเวลาถึง ๑ เดือน ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อยู่โรงพยาบาลได้ไม่นาน ก็กลับวัด เมื่อกลับวัดหลวงพ่อก็ยังได้ฉันอาหารเพียงวันละ ๑ ครั้ง เช่นเดิม โดยไม่เปลี่ยนความตั้งใจ หลวงพ่อยังคงคร่ำเคร่งในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคล

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง

หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
ประวัติของหลวงพ่อแช่ม ในช่วงที่เกิดและก่อนอุปสมบทนั้น ส่วนใหญ่ไม่มีรายละเอียด เรื่องราวของท่านมักจะปรากฏในทางอภินิหาร หรือความศักดิ์สิทธิ์มากกว่า ในหนังสือ “นิทานโบราณคดี” พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ว่า

พระครูวัดฉลอง (หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง)ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๐ ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่ ต.บ่อแสน อ.ทับปุด จ.พังงา ต่อมาครอบครัวอพยพหนีภัยพม่า มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านฉลอง จ.ภูเก็ต พ่อแม่ส่งท่านไปเป็นลูกศิษย์วัดฉลอง ขณะนั้นมี พ่อท่านเฒ่า เป็นเจ้าอาวาส พอโตขึ้นท่านได้บวชเณร และเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ จำพรรษาที่วัดฉลอง ศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ จากพ่อท่านเฒ่า จนเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน มีสมาธิจิตสูง รวมทั้งได้ศึกษาวิชาคาถาอาคมต่างๆ วิชาแพทย์แผนโบราณ

หลวงพ่อแช่มเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้านโดยทั่วไป พ.ศ.๒๓๙๓ พ่อท่านเฒ่ามรณภาพ หลวงพ่อแช่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแทน นับว่าเป็นเจ้าอาวาสที่มีอายุน้อยมาก เพียง ๒๓ ปีเท่านั้นเอง จนเมื่อเกิดกบฏอั้งยี่ พ.ศ.๒๔๑๙ ท่านได้เป็นผู้นำในการปราบพวกอั้งยี่ได้ราบคาบ ทำให้เป็นที่เลื่องลือกันอย่างกว้างไกล จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศจากในหลวง รัชกาลที่ ๕ โดยตรง และจากการที่ได้เข้าเฝ้าล้นเกล้าฯ ร.๕ นี้เอง ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า “พ่อท่านสมเด็จเจ้า” หมายถึง ตำแหน่งที่เจ้า (ในหลวง) พระราชทานให้โดยตรง พัดยศที่ได้รับพระราชทานก็เป็นพัดยศพิเศษ ไม่เหมือนที่ใดมาก่อนเลย นับเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง

หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๔๕๑ สิริรวมอายุ ๘๑ ปี พรรษา ๖๑ นับถึงปีนี้ครบรอบ ๑๐๐ ปีพอดี แม้หลวงพ่อแช่มท่านจะละสังขารไปแล้ว แต่ความทรงจำในเกียรติคุณและความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ยังคงมีอยู่อย่างมั่นคงในความจิตใจของชาวเมืองภูเก็ต และชาวไทยทั่วประเทศ

ในส่วนของวัตถุมงคลของหลวงพ่อแช่ม สมัยที่ท่านยังชีวิตอยู่ก็มีเพียงผ้าประเจียด ที่ทำขึ้นอย่างง่าย แล้วปลุกเสกด้วยความตั้งใจจริง จึงมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง ในส่วนของวัตถุมงคลหลวงพ่อแช่มที่เป็นรูปเหมือนบูชา เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง พระผง ฯลฯ ได้มีการจัดสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๗๑ คือหลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว ๒๐ ปี เป็นการจัดสร้างโดยวัดฉลอง และวัดอื่นๆ ที่ได้อาศัยบารมีของท่านตลอดมา จนทำให้วัตถุมงคลหลวงพ่อแช่มมีอยู่จำนวนมากมายหลายรุ่น ซึ่งล้วนแต่มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเมตตามหานิยม อุดมโชคโภคทรัพย์ แคล้วคลาดปลอดภัย รวมทั้งด้านป้องกันคุณไสยสิ่งจัญไรต่างๆ ได้เป็นอย่างดียิ่ง

ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งวันละสังขารของ หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ในปี ๒๕๕๑ นี้ ชัยนฤทธิ์ พันธุ์ทอง และทีมงานนิตยสาร “พระเครื่องล้ำค่า” จึงได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติ หลวงพ่อแช่ม ฉบับสมบูรณ์ขึ้น เป็นหนังสือปกแข็งขนาดมาตรฐาน หนา ๓๑๘ หน้า พิมพ์สี่สี ด้วยกระดาษอาร์ตอย่างดีทั้งเล่ม โดยได้บรรจุเรื่องราวต่างๆ อันน่าสนใจไว้อย่างครบถ้วน ทั้งเรื่องของ ประวัติหลวงพ่อแช่ม ประสบการณ์อภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่เลื่องลือกันมาช้านาน และที่สำคัญคือ ประวัติการสร้าง เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง รุ่นต่างๆ รวมทั้งวัตถุมงคลอื่นๆ ไว้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่มีการจัดพิมพ์ หนังสือประวัติหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง มาก่อนหน้านี้

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ปี 2486
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
วัตถุมงคลต่าง ๆ ที่เป็นรูปเหมือนของหลวงพ่อแช่ม ล้วนเริ่มสร้างในสมัยท่านหลวงพ่อช่วง เป็นเจ้าอาวาส และหลวงพ่อแช่มมรณภาพไปแล้ว จะมีวัตถุมงคลอยูประเภทเดียวที่ทันท่านคือ ผ้าประเจียดสีขาว ซึ่งท่านแจกลูกศิษย์คราขบถ ของกรรมกรทำเหมืองแร่ เท่านั้น

เหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2486 จัดสร้างพร้อมกับการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อแช่ม

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com