วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

หลวงพ่อปาน
หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (ความจริง ”เหี้ย” นี่เป็นชื่อของสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์หนึ่ง แต่คนนำมาใช้ด่าว่ากัน จึงกลายเป็นคำไม่สุภาพไป) เนื่องจากท่าน ได้ล่วงลับมาเป็นเวลานาน และท่านไม่ได้เล่าถึงชีวิตในอดีตของท่านให้ลูกศิษย์ทราบ ข้อมูลชีวประวัติของท่านจึงมีน้อย ทราบเพียงว่าท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ตำบลคลองด่าน ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อปิ่น โยมพ่อไม่ทราบชื่อ แต่โยมแม่ชื่อตาล เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น ในตอนเยาว์วัย ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ กรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือ ไทย หนังสือขอม มูลกัจจายน์ และหนังสือใหญ่ ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก

ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดอรุณฯ โดยมีพระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็ได้อยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์หลายปี ท่านมีความสนใจในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นท่านได้กราบลามาอยู่ วัดบางเหี้ย ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ ท่านประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดูแลพระเณร ออกพรรษาแล้วท่านก็ออกรุกขมูล บุกดงพงป่าเพื่ออบรมสมาธิฝึกกรรมฐาน แสวงหาความรู้วิทยาคมจากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียง รู้ว่าอาจารย์ที่ไหนดี ท่านก็บุกไปจนถึงเพื่อขอศึกษาอาคมกับอาจารย์นั้น ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงไม่มีความยากสำหรับท่าน เมื่อมีความชำนาญแคล่วคล่องในเวทย์มนต์ ก็ทำให้เกิดความขลัง ความรู้ความสามารถก็ทวีเป็นเงาตามตัว ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ดูแลวัด

หลวงพ่อปานฯ กับหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งพร้อมกัน (ไม่ทราบชื่อ และสำนักของอาจารย์ท่านนั้น) ขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนถึงขั้นทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร หรือในโหลให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หรือจากโหลหายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน

เสือหลวงพ่อปาน

หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งก็ต้องพักจากการเรียนเสือ ก็หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า “หลวงพ่ออ่ำแพะดัง” และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็เป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
ล.พ.เงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเงิน เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน บิดาขื่อ อู๋ มารดาชื่อ นางฟัก สมัยเป็นเด็กหลวงพ่อเงินติดตามลุงชื่อ นายช่วง มาอยู่กรุงเทพ และบวชเป็นสามเณรที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เมื่อราวอายุ 12 ขวบ หลังจากบวชเณรอยู่ประมาณ 8 ปี ได้ลาสึกจากสามเณร กลับมาอยู่ที่บ้านบางคลาน

ช่วงชีวิตที่บวชเรียนนี่เองเชื่อว่าท่านได้ซึมซับพระธรรมคำสอนไว้อย่างลึก ซึ่ง เพราะปรากฎว่าท่านไม่ปรารถนาเพศฆราวาส ท่านเกือบจะแต่งงานกับสาวชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ “เงิน” เหมือนกัน แต่ท่านทำบางอย่างที่ไม่คาดคิดนั่นคือ ได้ขออนุญาติจับอกพี่สะใภ้ เพื่อเปรียบเทียบกับน่องของตัวเอง จนเกิดปลงต่อสังขารโดยท่านอุทานออกมาว่า “นมกับน่องก็คือกันไม่เห็นจะต่างกันตรงไหนเลย” แล้วท่านก็ตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝากชีวิตไว้กับพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต เป็นการตัดสินใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง เล่ากันว่าระหว่างนั้นหญิงสาวคู่รักท่านได้ปักตาลปัตร 1 เล่มมาถวายด้วยแต่ก็มิได้ทำให้ท่านเปลี่ยนใจ

พระภิษุเงิน พุทธโชติ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาความรู้ด้านวิปปัสสนากรรมฐานแล้วอักขระสมัยที่วัดตอง ปู (วัดชนะสงคราม) อีกครั้ง ได้อยู่ที่วัดตองปู 3 พรรษา ก่อนจะกลับมาที่บางคลานเมื่อทราบว่าปู่ของท่านป่วยหนัก เมื่อกลับมาอยู่ที่บ้านเกิดท่านได้จำพรรษาที่ (วัดคงคาราม) หรือวัดบางคลานใต้ ที่วัดบางคลานใต้นี้จะเกิดอะไรมิทราบได้มีสมภาพชื่อ “หลวงพ่อโห้” หรือ “พระอาจารย์โห้” ท่านเป็นพระนักเทศน์ ซ้อมเทศน์ชาดกเสียงดัง พลวงพ่อเงินท่านเป็นพระวิปัสสนากรรมฐาน จึงติดสินใจไปอยู่ที่วัดวังตะโกซึ่งอยู่ตรงข้ามฟากแม่น้ำเลยขึ้นไปทางเหนือ หลวงพ่อเงินท่านคงอึดอัดใจมาก เล่าว่าท่านบ่นให้คนใกล้ชิดฟังว่า “ชาติเสือไม่ขอเนื้อใครกิน” แล้วก็หักกิ่งโพธิ์กิ่งหนึ่งติดตัวไปด้วยไปถึงบริเวณวัดวังตะโกแล้วก็อธิฐาน เสี่ยงบารมีปักกิ่งโพธิ์ลงไป ปกติตันโพธิ์จะไม่ขึ้นจากกิ่งแต่ประกฎว่ากิ่งที่ท่านอธิษฐานเจริญเติบโตงอก งาม อยู่คู่กับวัดวังตะโกหรือวัดบางคลานยาวกว่าหนึ่งร้อยปีเลยทีเดียว

ล.พ.เงิน
เนื่องจากท่านเป็นพระที่เคร่งทางวิปัสสนา จึงมีคนเคารพนับถือมาก และชาวบ้านก็มาขอเครื่องรางของขลังจากท่านมิได้ขาด บางคนก็มาเพื่อให้รักษาโรคภัยไขเจ็บซึ่งท่านก็ช่วยอนุเคราะห์ให้ ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และได้รับสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ ฝ่ายวิปัสสนาในที่สุด

ท่านมีความเมตตาอารีต่อคนทั่วไป ใครมาหาก็ได้ต้อนรับเสมอ ชาวบ้านเอาสัตว์มาถวายท่าน
ท่านก็รับไว้จนบริเวณวัดกลายเป็นสวนสัตว์ย่อม ๆ เท่าที่สืบทราบมา ท่านรักช้างของท่านมาก และเคยใช้เป็นพาหนะในการเดินทางไปบวชลูกหลานให้ชาวบ้านอยู่เสมอ

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตะกรุด

เครื่องรางยุคต้นทำด้วยโลหะ
"ตะกรุด" เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน โดยเฉพาะในการรบทัพจับศึกเข้าสู่สนามรณรงค์สงคราม บรรดาเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษนิยมสร้าง ตะกรุด เพื่อป้องกันอันตรายและ ตะกรุดก็มีพัฒนาการเรื่อยมาจากดอกใหญ่หนาสำหรับการออกศึกสงคราม ก็ค่อยๆ ลดขนาดลง หรือใช้วัสดุประเภทไม้สร้าง บางทีก็จัดทำเป็นดอกเล็กๆ ในลักษณะเครื่องรางติดตัวหรือสามารถตอกฝังเข้าไปในร่างกายได้ ตะกรุด จะมีพุทธคุณ ดีทางป้องกันภยันอันตราย แคล้วคลาด เมตตามหานิยม หรือ โชคลาภ นั้นก็แล้วแต่ พระคณาจารย์ต่างๆจะเป็นผู้อธิฐานจิตลงไป ของดีมีระดับยอดนิยมของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ที่สร้างไว้ซึ่งแต่ละดอก แต่ละท่านพระอาจารย์เป็นผู้สร้าง ล้วนมีวิชาอาคมด้วยอิทธิมหามงคลสารพัดประการ
ตะกรุด

ตะกรุด หมายถึง แผ่นโลหะบางๆ ที่ม้วนกลมลงอักขระ บางคณาจารย์ถักเชื่อกลงรัก-ปิดทอง ไม่อาจจะยุติได้ว่าตะกรุด จะตบแต่งมากน้อยเพียงใด แล้วแต่ ท่านพระคณาจารย์ ต่างๆ จะสรรค์สร้าง เช่น เชือกถัก-ลงรัก, แบบที่นำผงมาพอกก็มี, นำมาบรรจุใส่ในไม้รวกก็มี เป็นต้น

ตะกรุดได้ถูกสร้างโดยอ้างถึงพุทธคุณ ธรรมคุณสังฆคุณ เพราะหากทำวัตถุบูชาเป็นรูปพระพุทธเจ้าแล้ว หากนำไปในสถานที่ต่างๆ เช่น สนามรบ อาจจะไม่บังควร โดยอาศัยตัวอักขระ หรือ เลขยันต์ แสดงความหมายที่แตกต่างกันออกไป ตะกรุด หากเป็นดอกเดียว เราเรียกว่า ตะกรุดโทน หากเป็นสองดอกจะเป็น ตะกรุดแฝด หรือเป็นโลหะ 3 ชนิด ที่เรียกว่า สามกษัตริย์ หาก 16 ดอก เรียกตะกรุดโสฬส

ตะกรุดต่างๆส่วนใหญ่ที่เป็นโลหะ จะมีความเชื่อที่แตกแขนงออกไปอีก อาทิเช่น ถ้าเป็นตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้าน เมตตา มักจะทำโดยใช้ แผ่นทอง หรือแผ่นเงิน ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางคงกระพัน จะใช้แผ่นทองแดง ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านแคล้วคลาด มักจะใช้แผ่นตะกั่ว เป็นต้น

ตะกรุด ใช้บูชาอยู่ 2 แบบ คือ ใช้แขวนคอ และอีกแบบใช้คาดเอว โดยดอกตะกรุดจะขนานกันไปในแนวนอน

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มีดหมอ "ศาสตราวุธของเทพ"

มีดหมอ "ศาสตราวุธของเทพ" ดีทางป้องกันภูตผีปีศาจ ขับไล่วิญญาณ
อาวุธในทางไสยศาสตร์ที่เป็นของติดตัวบรรดาท่านเกจิอาจารย์ อีกอย่างหนึ่งคือ มีดหมอ ซึ่งทำสำเร็จด้วยวัสดุประจุอาคมของขลัง เนื้อโลหะที่นำมาใช้ทำมีดหมอนั้น ต้องนำมาจากที่พิเศษอันเป็นสถานที่ ๆ ต้องบุกบั่นไปเอามาด้วยความยากลำบากฝ่าฟันอันตราย มีดหมอนี้ใช้สำหรับปราบภูตผีปีศาจที่มารบกวนมนุษย์ ถือโอกาสสิงสู่ในร่างของคนอ่อนแอ คนมีอายุ หญิงสาว ในการทำพิธีขับไล่วิญญาณร้ายเหล่านี้จะใช้อาคมเสกเป่า ก่อนเมื่อไม่ได้ผลคือวิญญาณนั้นไม่ยอมออกจากร่างและสำแดงฤทธิ์ต่อไป อาจารย์ท่านก็จะใช้มีดหมอเป็นอาวุธ ขั้นสุดท้าย ซึ่งมักจะได้ผลเสมอแทบทุกรายอย่างในเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ได้กล่าวถึง ตำรา การทำมีดหมอ ไว้อย่างละเอียด
มีดหมอ

การสร้างมีดหมอในยุค ต่อๆมา วัสดุในการสร้าง เช่น โลหะ จากสถานที่ดังกล่าวในเรื่องข้างต้นแล้วหาได้ยาก พระเกจิอาจารย์จึงได้ใช้เหล็กธรรมดาผสมกับตะปูตอกโลงผีตายโหงบ้าง ตะปูสังขวานร (ตะปูโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา) บ้าง หล่อหลอมและตีเป็นใบมีด ส่วนด้ามมีดนั้น จะนิยมนำงาช้างมาแกะเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปท้าวเวสสุวัณ ฤาษี หรือรูปในวรรณคดีต่าง ๆ

มีดหมอในรุ่นหลังๆ ต่อมานี้ นิยมเอากัลปังหา เอามาทำด้ามมีด เพราะถือว่า "กัล" ซึ่งหมายถึงการออกเสียงว่า "กัน" เป็นนิมิตโฉลกดี คือป้องกันนั่นเอง แม้แต่กัลปังหาขนาดใหญ่ที่จะนำมาทำด้ามมีดหมอ เพื่อความคงขลังในปัจจุบันก็หาได้ยากยิ่ง

ตำราการสร้างมีดหมอมีอีกหลายอาจารย์ แต่ตำรับเดิมนั้นน่าจะเป็นของในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งในยุคนั้น ระยะแรก ๆ บรรพบุรุษของไทยเราต้องรบกับข้าศึกอยู่เสมอมิได้ขาดมีดหมอ จึงมีความสำคัญคู่กับประวัติศาสตร์ไทยอีกชั้นหนึ่ง

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร

หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ประวัติหลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา
ประวัติหลวงพ่อโสธร มีตำนานกล่าวไว้ว่า ได้มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ 3 องค์ลอยตามน้ำผ่านเมืองปราจีนบุรีมา แล้วไปผุดที่ตำบลสัมปทวน แขวงเมืองฉะเชิงเทรา ชาวบ้านไปพบเข้าจึงเอาเชือกพรวนไปผูกมัดพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้น แต่ไม่สามารถจะนำขึ้นมาจากน้ำได้ พระพุทธรูปองค์ใหญ่จึงลอยตามกระแสน้ำเรื่อยไป และไปผุดขึ้นที่บ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านแหลมจึงอัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม ส่วนองค์เล็กไปผุดขึ้นที่คลองใกล้วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบ้านจึงอัญเชิญประดิษฐานไว้ที่วัดบางพลี ส่วนหลวงพ่อโสธรซึ่งเป็นองค์กลางนั้นผุดขึ้นที่หน้าวัดโสธร ประชาชนได้ช่วยกันฉุดแต่ไม่ขึ้น จนอาจารย์คนหนึ่งมาตั้งศาลเพียงตา ทำพิธีบวงสรวง แล้วเอาด้ายสายสิญจน์คล้องไว้กับพระหัตถ์ จึงอัญเชิญขึ้นมาได้สำเร็จ และนำมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดโสธรจนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร
หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปที่มีอภินิหาร มีฤทธานุภาพของชาวไทยองค์หนึ่ง ชาวไทยได้รับการคุ้มครองรักษาอภิบาลจากหลวงพ่อโสธรองค์นี้ อย่างร่มเย็นเป็นสุขและปลอดภัยอริราชศัตรูมาหลายปีแล้วอย่างแปลกประหลาด เพราะฉะนั้นท่านผู้ปรารถนาจะมีความสุขสวัสดี ปลอดภัยจากโรคพยาธิควรจะมีหลวงพ่อโสธรไว้บูชา

หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีส่วนสูง ๖ฟุต ๗นิ้ว พระเพลากว้าง ๕ฟุต ๖นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถหลวงวัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ชาว ฉะเชิงเทราเคารพนับถือมาก ทางราชการจัดให้มีงานสมโภชเป็นเทศกาลประจำปี มีพุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศหลั่งไหลกันมานมัสการคับคั่ง ตลอดงาน ได้รับทั้งความสนุกและทั้งบุญกุศลด้วย

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อาจารย์เฮง ไพรวัลย์

อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ "ฆราวาสจอมขมังเวส 5 แผ่นดิน"
อ.เฮง ไพรวัลย์

ประวัติ "อาจารย์เฮง ไพรวัลย์" จากจารึกที่เก็บกระดูกอาจารย์เฮง ณ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า "เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ สิริอายุ ๗๕ ปี" พื้นเพท่านเป็นคนบ้านหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาท่านเป็น นายตำรวจ หรือผู้ตรวจการณ์คุก โดยบิดาส่งไปเรียนที่ปีนัง สิงคโปร์ แต่เรียนไม่สำเร็จ ท่านเป็นคนชอบเรียนวิชาไสยศาสตร์ ได้ท่องเที่ยวเล่าเรียนมาแต่ทางภาคใต้ ท่านอาจารย์เฮงเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับ พระยาเพชรปรีชา มีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน เมื่อท่านเดินทางกลับมายังภูมิลำเนาคือ จ.พระนครศรีอยุธยา

คราวเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านให้ความสนใจศึกษาตำรับตำราทางไสยศาสตร์ อันว่าด้วยเวทมนตร์คาถา อักขระเลขยันต์ จากจารึกวัดประดู่โรงธรรมอย่างแตกฉาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัย สมเด็จพระพันรัต วัดป่าแก้ว หรือใน รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) นั้น รวบรวมสรรพวิทยาไสยศาสตร์ โดยจารึกไว้ที่ วัดประดู่โรงธรรม นี้อย่างพร้อมสรรพ ตำรับวัดประดู่โรงธรรม เป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วย เวทมนตร์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์เฮงนั้น ท่านเรียนรู้ตาม คำภีร์รัตนมาลา อย่างแตกฉาน และเจนจบมาก หลังจากที่ ท่านอาจารย์เฮง สึกจากการอุปสมบทแล้ว ท่านกลับมาครองเพศฆราวาส เริ่มปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณกระเดื่องดัง ทางเป็นพระอาจารย์ของท่าน เริ่มต้นด้วยการเป็น อาจารย์สัก ก่อน หลวงปู่สี เล่าว่า ครั้งกบฏบวรเดช ในสมัยรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๗๖) มีนายทหารและข้าราชการมาให้ท่านสักเป็นจำนวนมาก และจากการที่ท่านอาจารย์เฮง ตั้งพิธีสักที่วัดหันตรานั่นเอง ครั้งนั้น ท่านอาจารย์เฮง จำเป็นต้องอาราธนาพระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสักนั้นด้วย ในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๔๗๖) ในท้องที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หาพระที่สวดพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพิธียากมาก ยกเว้น ท่านอาจารย์สี วัดสะแกเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่สำนักวัดเลียบ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีความเจนจบในเรื่องนี้อยู่ สืบต่อมาเมื่อท่านอาจารย์เฮง จะประกอบพิธีกรรมครั้งใด จำต้องมาอาราธนาท่านอาจารย์สีไปร่วมพิธีทางฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ

โดยพื้นฐานและฐานะของท่านอาจารย์เฮงนั้น จัดว่าเป็นผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง ท่านมีบ้านเป็นหลักแหล่งอยู่ที่ทุ่งหันตรา มีไร่นา และมีบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ที่วังน้อย เมื่อท่านมีลูกศิษย์ลูกหาทางกรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อความสะดวกในการประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา จึงเชิญท่านมาเช่าบ้านอยู่ที่สวนมะลิ และย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวหน้าสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ วรจักร จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียระเบิด ท่านจึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๕ การย้ายครอบครัวในครั้งนั้น ท่านซื้อเรือต่อ หรือเรือข้าวขนาดย่อมลำหนึ่ง ติดเครื่องยนต์แล่นขึ้นไปเป็นการสะดวกในการสัญจร ขณะนั้นที่ถนนหนทางอยู่ในสภาพกันดาร การคมนาคมทางน้ำดูจะมีความสำคัญมาก ภายในเรือของท่านใช้เป็นที่อาศัย ซึ่งพร้อมมูลไปด้วยปัจจัยในการดำรงชีวิต อย่างมีความสุขสบาย นึกจะโยกย้ายหรือท่องเที่ยวไป ณ ที่แห่งใด ก็ย่อมได้ตามความประสงค์ เขาว่าท่านเป็นคนร้อนวิชา อยู่ไม่เป็นที่ จึงชอบท่องเที่ยวไปในถิ่นที่ต่างๆ และจะวนเวียนมาจอดที่ต้นสะตือ วัดสะแก เป็นประจำ เป็นสถานที่ที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านจะไปพบหาท่านได้ที่นั่น อาจารย์เฮง อุปสมบท ๒ ครั้ง ครั้งแรกที่วัดสุวรรณคาราราม จ.พระนครศรีอยุธยา เข้าใจว่าท่านคงจะอุปสมบทเมื่ออายุครบบวชตามประเพณี แต่ในครั้งหลังท่านมาบวชอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ท่านบวชที่ วัดพระญาติการาม โดยมี หลวงพ่อกลั่น ธรรมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาศิลปะวิทยายุทธมาจากหลวงพ่อกลั่นหลายแขนงเหมือนกัน เช่น วิชาฝังเข็ม สำหรับวิชา สักยันต์ ๙ เฮ ชาตรีนั้น ทราบมาว่าเมื่อท่านท่องเที่ยวอยู่ทางภาคใต้ เคยศึกษามากับแขกก่อนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็อาจจะมาเรียนเพิ่มเติมกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม อีกก็เป็นได้ การอุปสมบทของท่านอาจารย์เฮงกับหลวงพ่อกลั่นนั้น เข้าใจว่า ท่านบวชเพื่อประสงค์จะศึกษาวิทยายุทธพุทธาคมกับหลวงพ่อกลั่น

วัดพระญาติการาม ในยุคนั้น หลวงพ่อกลั่นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก โดยปกติท่านปรมาจารย์ด้านพุทธาคมนั้นมักจะมีอุปนิสัยห้าวหาญ เด็ดเดี่ยว มั่นคง ไม่โลเล จึงทำด้านอาคมขลัง สำหรับท่านอาจารย์เฮง นอกจากท่านจะมีอุปนิสัยดังกล่าวแล้วอย่างพร้อมมูล ท่านยังมีความเป็นอัจฉริยะ ในด้านการช่างอย่างอัศจรรย์หลายประการ อาทิ การวาดเขียนภาพต่างๆ การแกะสลัก การกลึง เป็นต้น ซึ่งท่านจะได้สัมผัสจากภาพ พระพรหม ซึ่งอัญเชิญมาปรากฏ ณ ที่นี้ ซึ่งเป็นภาพฝีมือท่านอาจารย์เฮง และยังมีมงคลวัตถุในลักษณะต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก เหรียญพรหมรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่อยู่ในแวดวงนักนิยมสะสมเหรียญคงจะพบเห็นอยู่บ่อยๆ เพราะเหรียญพรหมเหรียญนี้ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดี อีกทั้งในแวดวงพระเครื่องมีการจัดประกวดกันอยู่บ่อยๆ

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว

ประวัติหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว

หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) นามเดิมว่า "เพิ่ม" ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาส วัดตุ๊กตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าหลวงปู่เพิ่ม ท่านเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวงปู่บุญมรณภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทั้งทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วท่านเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปลี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่ท่านเป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป

หลวงปู่เพิ่มท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้วเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ปีพ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีพ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี ปีพ.ศ. 2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครู พุทธวิถีนายก ปีพ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม ปีพ.ศ. 2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วท่านมรณภาพ ด้วยโรคชราด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 76
เบี้ยแก้ วัดกลางบางแก้ว
หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดและเบี้ยแก้ นอกจากนี้ ก็ยังมีพระเครื่องอีกหลายอย่าง ซึ่งในรูปก็จะเป็นเบี้ยแก้ หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วครับ

วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
ที่มาของคำว่า หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
พระภิกษุปู่ เรียนวิชาหลายอย่างในสำนักพระครูกาเดิม 3 พรรษาอาจารย์ก็ไม่มีอะไรจะสอนให้อีกจึงปรึกษากับพระครูกาเดิม ท่านก็บอกถ้าจะศึกษาอีกคงต้องเข้าเมืองหลวงคือกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่รวมของสรรพวิชาต่างๆ ก้เลยนำนำให้ไปขอโดยสารเรือสำเภาของนายอิน ที่จะนำสินค้าไปขายในเมืองหลวง เรือสำเภาของนายอินบรรทุกสินค้าหลายอย่างเคยไปมาค้าขายแบบนี้หลายครั้งแล้ว ครั้งนี้เรือสำเภาแล่นไปได้ 3 วัน 3คืน เป็นปกติอยู่ดีๆวันหนึ่ง ไม่ใช่ฤดูมรสุม แต่เกิดพายุพัดจัดลมแรงมากท้องทำเลปั่นป่วน จึงจำเป็นต้องลดใบเรือลงรอคลื่นลมสงบ เลยทำให้อาหารไม่พอ น้ำดื่มไม่มีจะกินกัน โดยเฉพาะน้ำจืดสำคัญที่สุด บรรดาลูกเรือไม่เคยพบเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนและอารมณ์เสียทุกคนลงความเห็นว่า เกิดจาอาเพศที่มีพระภิกษุโดยสารมาด้วย จึงตกลงใจให้ไปส่งพระภิกษุปู่(หลวงปู่ทวด)ขึ้นฝั่ง โดยลงเรือเล็กซึ่งมีพระภิกษุปู่และลูกน้องนายอิน 2 คนลงมาด้วยเพื่อพายไปส่งฝั่งขณะที่นั่งอยู่ในเรือนั้น พระภิกษุปู่จึงบริกรรมคาถาและอธิษฐานจิต แล้วยื่นเท้าออกไปข้างกาบเรือลำเล็ก แล้วแกว่งน้ำให้เป็นวง ขณะนั้นเอง ท่านจึงบอกให้ลูกเรือทั้ง 2คนเอามือกวักชิมน้ำดู ปรากฏว่าน้ำทะเลกลับกลายเป็นน้ำจืด ทุกคนต่างดีใจรีบตักน้ำใส่โอ่งใส่ไห ลูกเรือทุกคนหายโกรธพระภิกษุปู่ โดยเฉพาะนายอิน จึงนิมนต์ให้ท่านร่วมเดินทางต่อจนถึงกรุงศรีอยุธยา

เมื่อถึงเมืองหลวงสมัยนั้นกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของไทยเจริญรุ่งเรืองมากมีวัดวาอารามใหญ่ๆโตๆ นายอินได้นิมนต์ พระภิกษุปู่ให้เข้าจำวัดในเมืองหลวงแต่ท่านถือสันโดษ ท่านจึงไปจำพรรษาอยู่ที่วัดแค เขตทุ่งลุมพลีทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเก่าแก่ กล่าวไว้ว่า หลวงพ่อทวด ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงศรีอยุธยานานถึง 9ปี คือระหว่าง พ.ศ.2148 -2157 ตอนนั้นพระภิกษุปู่หรือ หลวงพ่อทวด มีอายุแค่ 32 ปี

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
พระหลวงปู่ทวด แม้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยหลวงปู่ทวด และหลวงปู่ทวดไม่ได้ปลุกเสกในความขลังศักดิ์สิทธิ์ของพระหลวงปู่ทวดนั้น คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ นับจากพระพิมพ์นี้ มีปฐมบทมาแต่ครั้งปี พ.ศ.2497 ได้มีการจัดสร้างขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่ ที่ออกในนามวัดช้างให้ วัดทรายขาว วัดเมือง วัดพะโคะ เป็นต้น

ความเป็นอมตะในตำนานหลวงปู่ทวด พระหลวงปู่ทวด สิ่งที่ไม่อาจลืมเลือนควบคู่กับตำนานดังกล่าวนั้น นามที่จะเคียงคู่ตลอดไปคือ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร ท่านเป็นพระผู้สร้างตำนานความศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดช้างให้ ที่คนส่วนใหญ่ยังระลึกถึงท่านเสมอในฐานะ ผู้ปิดทองหลังพระอย่างแท้จริง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด เกิดเมื่อ วันศุกร์ เดือน4 ปีมะโรง พ.ศ.2125 ณ บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีชื่อว่า “ ปู่ ” หรือ “ ปู ” บิดามีนามว่า (ตาหู) มารดามีนามว่า (นางจันทร์) มีฐานะยากจนปลูกบ้านอาศัยที่ดินเศรษฐีผู้หนึ่งไว้ชื่อ “ปาน” ตาหูและนางจันทร์เป็นข้าทาสของเศรษฐีปาน แห่งเมืองสทิงพระ ระยะที่หลวงพ่อทวดเกิด เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวในนา ในระหว่างที่พ่อแม่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ ได้ผูกเปลให้ลูกน้อยนอน ทำงานไปก็คอยเหลียวดูลูกน้อยเป็นระยะ แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น คือนางจันทร์ได้เห็นงูตัวใหญ่มาพันที่เปลลูกน้อยแล้วชูคอแผ่แม่เบี้ย นายหู-นางจันทร์ได้พนมมือบอกเจ้าที่เจ้าทาง อย่าให้ลูกน้อยได้รับอันตรายใดๆเลย ด้วยอำนาจบารมีของเด็กน้อยเจ้าปู่ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปู่ยังคงนอนหลับปุ๋ยสบายดีอยู่เป็นปกติ แถมมีลูกแก้วกลมใส ขนาดย่อมกว่าลูกหมากเล็กน้อยส่องเป็นประกายอยู่ข้างตัวเด็ก ตาหู นางจันทร์ มีความเชื่อว่าเทวดาแปลงกายเป็นงูใหญ่นำดวงแก้ววิเศษมามอบให้กับลูกของตน เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่อง จึงไปพบตาหู-นางจันทร์แล้วเอ่ยปากขอดวงแก้วนั้นซึ่งตาหู-นางจันทร์ ไม่อาจปฏิเสธได้เศรษฐีปานจึงได้ลูกแก้วไปครอบครอง แต่ไม่นานนักเกิดเหตุวิบัติต่างๆกับครอบครัวของเศรษฐีบ่อยๆ พอหาสาเหตุไม่ได้เลยนึกได้ว่าอาจจะเกิดจากดวงแก้วนี้ จึงนำไปคืนให้ ตาหู-นางจันทร์เจ้าของเดิม ส่วนตาหู-นางจันทร์เมื่อได้ดวงแก้วกลับคืนมาจึงเก็บรักษาไว้อย่างดี นับแต่นั้นมาฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว ก็ดีขึ้นเป็นเรื่อยๆ

หลวงปู่ทวด
พออายุได้ประมาณ 7ขวบ บิดามารดาพาไปฝากไว้กับ สมภารจวง วัดดีหลวง เพื่อให้เรียนหนังสือ เมื่ออายุได้ 14ปี สมภารจวง วัดดีหลวง จึงบวชเณรให้แล้วพาไปฝากไว้กับพระครูสัทธรรมรังสี วัดสีหยง เพื่อเรียนมูลกัจจายน์

ท่านพระครูสัทธรรมรังสี องค์นี้ทางคณะสงฆ์ของแผ่นดินจากกรุงศรีอยุธยาได้ส่งท่านมาเผยแพร่ศาสนาและสั่งสอยธรรมทางภาคใต้ เมื่อ “สามเณรปู่” เรียนอยู่ได้จนอาจารย์ไม่มีอะไรจะสอนแล้วจึงได้แนะนำให้สามเณรปู่ ไปเรียนต่อที่ สำนักพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อสามเณรปู่ อายุครบ 20ปี พระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง ได้อุปสมบทตามเจตนารมณ์ของสามเณรปู่ และทำญัตติอุปสมบทตั้งฉายาว่า “ สามีราโม” โดยเอาเรือ 4ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพ ทำญัตติ ณ คลองเงียบแห่งหนึ่ง ต่อมาก็เรียกคลองนี้ว่า “คลองท่าแพ” มาจนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นชื่อจากพิธีกรรมในครั้งอดีต

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2442 ที่ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โยมบิดาชื่อเจ้าไชยกุมาร (เม้า) โยมมารดาชื่อนุ้ย สุวรรณรงค์ ประมาณปีพ.ศ.2461 ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ตำบลพรรณานิคม ต่อมาในปีพ.ศ.2462 ท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดสุทธิบังคม อำเภอพรรณานิคม โดยมีพระครูป้อง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นวล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สังข์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสุทธิบังคม พอออกพรรษาท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบะทอง บ้านเกิดของท่าน และได้ปฏิบัติฝึกกรรมฐานเป็นครั้งแรกกับพระอาญาครูธรรม
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ต่อมาท่านก็ได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2463 ที่วัดป่าภูไทสามัคคี และได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ต่อมาพระอาจารย์ฝั้นก็ได้พบกับพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ที่วัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ ได้ศึกษาวิธีฝึกจิตตภาวนาเบื้องต้น ต่อมาพระอาจารย์ดูลย์ได้นำพระอาจารย์ฝั้นไปพบกับพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน ท่านก็ได้ศึกษาอุบายวิธีการภาวนาจากพระอาจารย์มั่น อย่างลึกซึ้งและได้ไปพบกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ที่แนวป่าบ้านหนองดินดำ และไปพบกับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ที่บ้านหนองหวาย ท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมและได้ออกธุดงค์วิเวกไปที่พระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ อุดรธานี

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2468 พระอาจารย์ฝั้นท่านก็ได้เปลี่ยนนิกายจากมหานิกายมาเป็นธรรมยุติกนิกาย ที่วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แล้วจึงได้กลับไปอยู่กับพระอาจารย์มั่น ที่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เมื่อออกพรรษาแล้วท่านก็ได้ออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรแสวงหาความวิเวกตามป่าช้า ตามป่าเขา ตามถ้ำ ไปในที่ต่างๆ ของจังหวัดอุดรธานี นครพนม อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร ขอนแก่น นครราชสีมา กรุงเทพฯ เชียงใหม่ หนองคาย จนถึงเมืองเชียงตุง เป็นต้น

พระอาจารย์ฝั้นท่านเป็นพระที่มีความเคารพอ่อนน้อมกับพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็น ครูบาอาจารย์มาก ถ้าท่านไปอยู่กับพระอาจารย์รูปใดจะไม่ได้รับความหนักใจ ท่านจะปฏิบัติด้วยความเคารพและเลื่อมใสในพระธรรมวินัยด้วยความมั่นคง ท่านเป็นพระที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและใจดีเป็นที่รักของคนทั่วไป

วาระสุดท้ายของท่านมาถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2520 พระอาจารย์ฝั้นก็ได้มรณภาพลงที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร สิริอายุได้ 78 ปี พระอาจารย์ฝั้นท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ประชาชนเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com