"ตะกรุด" เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน โดยเฉพาะในการรบทัพจับศึกเข้าสู่สนามรณรงค์สงคราม บรรดาเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษนิยมสร้าง ตะกรุด เพื่อป้องกันอันตรายและ ตะกรุดก็มีพัฒนาการเรื่อยมาจากดอกใหญ่หนาสำหรับการออกศึกสงคราม ก็ค่อยๆ ลดขนาดลง หรือใช้วัสดุประเภทไม้สร้าง บางทีก็จัดทำเป็นดอกเล็กๆ ในลักษณะเครื่องรางติดตัวหรือสามารถตอกฝังเข้าไปในร่างกายได้ ตะกรุด จะมีพุทธคุณ ดีทางป้องกันภยันอันตราย แคล้วคลาด เมตตามหานิยม หรือ โชคลาภ นั้นก็แล้วแต่ พระคณาจารย์ต่างๆจะเป็นผู้อธิฐานจิตลงไป ของดีมีระดับยอดนิยมของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ที่สร้างไว้ซึ่งแต่ละดอก แต่ละท่านพระอาจารย์เป็นผู้สร้าง ล้วนมีวิชาอาคมด้วยอิทธิมหามงคลสารพัดประการ
ตะกรุด |
ตะกรุด หมายถึง แผ่นโลหะบางๆ ที่ม้วนกลมลงอักขระ บางคณาจารย์ถักเชื่อกลงรัก-ปิดทอง ไม่อาจจะยุติได้ว่าตะกรุด จะตบแต่งมากน้อยเพียงใด แล้วแต่ ท่านพระคณาจารย์ ต่างๆ จะสรรค์สร้าง เช่น เชือกถัก-ลงรัก, แบบที่นำผงมาพอกก็มี, นำมาบรรจุใส่ในไม้รวกก็มี เป็นต้น
ตะกรุดได้ถูกสร้างโดยอ้างถึงพุทธคุณ ธรรมคุณสังฆคุณ เพราะหากทำวัตถุบูชาเป็นรูปพระพุทธเจ้าแล้ว หากนำไปในสถานที่ต่างๆ เช่น สนามรบ อาจจะไม่บังควร โดยอาศัยตัวอักขระ หรือ เลขยันต์ แสดงความหมายที่แตกต่างกันออกไป ตะกรุด หากเป็นดอกเดียว เราเรียกว่า ตะกรุดโทน หากเป็นสองดอกจะเป็น ตะกรุดแฝด หรือเป็นโลหะ 3 ชนิด ที่เรียกว่า สามกษัตริย์ หาก 16 ดอก เรียกตะกรุดโสฬส
ตะกรุดต่างๆส่วนใหญ่ที่เป็นโลหะ จะมีความเชื่อที่แตกแขนงออกไปอีก อาทิเช่น ถ้าเป็นตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้าน เมตตา มักจะทำโดยใช้ แผ่นทอง หรือแผ่นเงิน ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางคงกระพัน จะใช้แผ่นทองแดง ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านแคล้วคลาด มักจะใช้แผ่นตะกั่ว เป็นต้น
ตะกรุด ใช้บูชาอยู่ 2 แบบ คือ ใช้แขวนคอ และอีกแบบใช้คาดเอว โดยดอกตะกรุดจะขนานกันไปในแนวนอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น