วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อาจารย์เฮง ไพรวัลย์

อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ "ฆราวาสจอมขมังเวส 5 แผ่นดิน"
อ.เฮง ไพรวัลย์

ประวัติ "อาจารย์เฮง ไพรวัลย์" จากจารึกที่เก็บกระดูกอาจารย์เฮง ณ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนไว้ว่า "เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ สิริอายุ ๗๕ ปี" พื้นเพท่านเป็นคนบ้านหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา บิดาท่านเป็น นายตำรวจ หรือผู้ตรวจการณ์คุก โดยบิดาส่งไปเรียนที่ปีนัง สิงคโปร์ แต่เรียนไม่สำเร็จ ท่านเป็นคนชอบเรียนวิชาไสยศาสตร์ ได้ท่องเที่ยวเล่าเรียนมาแต่ทางภาคใต้ ท่านอาจารย์เฮงเป็นเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับ พระยาเพชรปรีชา มีเพื่อนฝูงเป็นเจ้าพระยาหลายคน เมื่อท่านเดินทางกลับมายังภูมิลำเนาคือ จ.พระนครศรีอยุธยา

คราวเมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านให้ความสนใจศึกษาตำรับตำราทางไสยศาสตร์ อันว่าด้วยเวทมนตร์คาถา อักขระเลขยันต์ จากจารึกวัดประดู่โรงธรรมอย่างแตกฉาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัย สมเด็จพระพันรัต วัดป่าแก้ว หรือใน รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) นั้น รวบรวมสรรพวิทยาไสยศาสตร์ โดยจารึกไว้ที่ วัดประดู่โรงธรรม นี้อย่างพร้อมสรรพ ตำรับวัดประดู่โรงธรรม เป็นแม่บทของตำราที่ว่าด้วย เวทมนตร์คาถาและอักขระเลขยันต์ ที่มีปรากฏและเล่าเรียนสืบต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์เฮงนั้น ท่านเรียนรู้ตาม คำภีร์รัตนมาลา อย่างแตกฉาน และเจนจบมาก หลังจากที่ ท่านอาจารย์เฮง สึกจากการอุปสมบทแล้ว ท่านกลับมาครองเพศฆราวาส เริ่มปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณกระเดื่องดัง ทางเป็นพระอาจารย์ของท่าน เริ่มต้นด้วยการเป็น อาจารย์สัก ก่อน หลวงปู่สี เล่าว่า ครั้งกบฏบวรเดช ในสมัยรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๗๖) มีนายทหารและข้าราชการมาให้ท่านสักเป็นจำนวนมาก และจากการที่ท่านอาจารย์เฮง ตั้งพิธีสักที่วัดหันตรานั่นเอง ครั้งนั้น ท่านอาจารย์เฮง จำเป็นต้องอาราธนาพระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์ในพิธีสักนั้นด้วย ในสมัยนั้น (พ.ศ. ๒๔๗๖) ในท้องที่ จ.พระนครศรีอยุธยา หาพระที่สวดพุทธมนต์และพุทธาภิเษกพิธียากมาก ยกเว้น ท่านอาจารย์สี วัดสะแกเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์สีเคยลงมาศึกษาอยู่ที่สำนักวัดเลียบ จ.พระนครศรีอยุธยา และมีความเจนจบในเรื่องนี้อยู่ สืบต่อมาเมื่อท่านอาจารย์เฮง จะประกอบพิธีกรรมครั้งใด จำต้องมาอาราธนาท่านอาจารย์สีไปร่วมพิธีทางฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ

โดยพื้นฐานและฐานะของท่านอาจารย์เฮงนั้น จัดว่าเป็นผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง ท่านมีบ้านเป็นหลักแหล่งอยู่ที่ทุ่งหันตรา มีไร่นา และมีบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ที่วังน้อย เมื่อท่านมีลูกศิษย์ลูกหาทางกรุงเทพฯ มากขึ้น เพื่อความสะดวกในการประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา จึงเชิญท่านมาเช่าบ้านอยู่ที่สวนมะลิ และย้ายมาอยู่ที่ห้องแถวหน้าสมาคม วาย.เอ็ม.ซี.เอ วรจักร จนกระทั่งสงครามมหาเอเชียระเบิด ท่านจึงอพยพขึ้นไปอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๕ การย้ายครอบครัวในครั้งนั้น ท่านซื้อเรือต่อ หรือเรือข้าวขนาดย่อมลำหนึ่ง ติดเครื่องยนต์แล่นขึ้นไปเป็นการสะดวกในการสัญจร ขณะนั้นที่ถนนหนทางอยู่ในสภาพกันดาร การคมนาคมทางน้ำดูจะมีความสำคัญมาก ภายในเรือของท่านใช้เป็นที่อาศัย ซึ่งพร้อมมูลไปด้วยปัจจัยในการดำรงชีวิต อย่างมีความสุขสบาย นึกจะโยกย้ายหรือท่องเที่ยวไป ณ ที่แห่งใด ก็ย่อมได้ตามความประสงค์ เขาว่าท่านเป็นคนร้อนวิชา อยู่ไม่เป็นที่ จึงชอบท่องเที่ยวไปในถิ่นที่ต่างๆ และจะวนเวียนมาจอดที่ต้นสะตือ วัดสะแก เป็นประจำ เป็นสถานที่ที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านจะไปพบหาท่านได้ที่นั่น อาจารย์เฮง อุปสมบท ๒ ครั้ง ครั้งแรกที่วัดสุวรรณคาราราม จ.พระนครศรีอยุธยา เข้าใจว่าท่านคงจะอุปสมบทเมื่ออายุครบบวชตามประเพณี แต่ในครั้งหลังท่านมาบวชอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ท่านบวชที่ วัดพระญาติการาม โดยมี หลวงพ่อกลั่น ธรรมโชติ เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาศิลปะวิทยายุทธมาจากหลวงพ่อกลั่นหลายแขนงเหมือนกัน เช่น วิชาฝังเข็ม สำหรับวิชา สักยันต์ ๙ เฮ ชาตรีนั้น ทราบมาว่าเมื่อท่านท่องเที่ยวอยู่ทางภาคใต้ เคยศึกษามากับแขกก่อนแล้วครั้งหนึ่ง แต่ก็อาจจะมาเรียนเพิ่มเติมกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม อีกก็เป็นได้ การอุปสมบทของท่านอาจารย์เฮงกับหลวงพ่อกลั่นนั้น เข้าใจว่า ท่านบวชเพื่อประสงค์จะศึกษาวิทยายุทธพุทธาคมกับหลวงพ่อกลั่น

วัดพระญาติการาม ในยุคนั้น หลวงพ่อกลั่นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก โดยปกติท่านปรมาจารย์ด้านพุทธาคมนั้นมักจะมีอุปนิสัยห้าวหาญ เด็ดเดี่ยว มั่นคง ไม่โลเล จึงทำด้านอาคมขลัง สำหรับท่านอาจารย์เฮง นอกจากท่านจะมีอุปนิสัยดังกล่าวแล้วอย่างพร้อมมูล ท่านยังมีความเป็นอัจฉริยะ ในด้านการช่างอย่างอัศจรรย์หลายประการ อาทิ การวาดเขียนภาพต่างๆ การแกะสลัก การกลึง เป็นต้น ซึ่งท่านจะได้สัมผัสจากภาพ พระพรหม ซึ่งอัญเชิญมาปรากฏ ณ ที่นี้ ซึ่งเป็นภาพฝีมือท่านอาจารย์เฮง และยังมีมงคลวัตถุในลักษณะต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก เหรียญพรหมรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่อยู่ในแวดวงนักนิยมสะสมเหรียญคงจะพบเห็นอยู่บ่อยๆ เพราะเหรียญพรหมเหรียญนี้ เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดี อีกทั้งในแวดวงพระเครื่องมีการจัดประกวดกันอยู่บ่อยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com