 |
ล.ป.ทิม วัดละหารไร่ |
วัดละหารไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
วัดละหารไร่นี้ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2354 โดยหลวงพ่อสังข์เฒ่า รองเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่สมัยนั้น เห็นว่าพื้นที่ทางฝั่งคลองด้านตรงข้ามทางทิศเหนือของวัดละหารใหญ่มีทำเลดี เหมาะแก่การปลูกพืชผัก จึงได้หักล้างถางพงใช้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผัก ขึ้นแรกได้สร้างที่พักร่มเงาไว้เมื่อถึงเวลาเข้าพรรณา ก็จำพรรษาที่วัดละหารใหญ่ ต่อมามีผู้คนไปทำไร่ในแถบใกล้ๆ ที่นั้นมากขึ้น เห็นว่ามีพระสงฆ์อยู่ เมื่อถึงวันพระก็จัดภัตตาหารไปถวายเป็นประจำ ต่อมาได้มีพระภิกษุไปอยู่เพิ่มมากขึ้น จึงได้ก่อสร้างกุฏิวิหาร พระสงฆ์ก็มาจำพรรษาที่นั่น ตั้งชื่อว่า "วัดไร่วารี" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดละหารไร่" โดยมีหลวงพ่อสังข์เฒ่าเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
ในภายหลังทางวัดละหารไร่ได้มีพระภิกษุแก่อวุโสขึ้นหลวงพ่อสังข์เฒ่าจึ มอบให้ปกครองกันเอง ส่วนตัวท่านได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่ (ทราบว่าภายหลังได้รับการนิมนต์จากเจ้าเมืองระยองไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเก๋ง จังหวัดระยอง) มอบหมายให้หลวงพ่อแดง เป็นเจ้าอาวาสแทน เต่มาได้มีเจ้าอาวาสอีกหลายรูปปกครองวัดละหารไร่ คือ หลวงพ่อเกิด หลวงพ่อสิงห์ หลวงพ่อจ๋วม ต่อมาหลวงพ่อจ๋วมได้ลาสิกขาบท ทำให้วัดละหารไร่ขาดพระภิกษุจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน ในขณะนั้นหลวงพ่อทิม อิสริโก (งามศรี) ได้เดินทางกลับจากจังหวัดชลบุรี พุทธศาสนิกชนบ้านละหารไร่จึงพร้อมใจกันนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2450 หลวงพ่อทิมจึงได้สร้างอุโบสถขึ้นหลังหนึ่งทำด้วยไม้ ปัจจุบันได้เลื่อนย้ายมาห่างจากที่เดิมประมาณ 20 วา และบูรณะให้อยูในสภาพเดิม
ปี พ.ศ.2483 หลวงพ่อทิมได้มอบศาลาการเปรียญ เป็นสถานที่เปิดสอนนักเรียนเพื่อให้บุตรหลานได้ศึกษาเล่าเรียน ต่อมาชาวบ้านเห็นดีด้วยจึงได้ร่วมใจสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ข. ขึ้นหลังหนึ่ง และเริ่มทำการสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2483 โดยมีนายเสียน จันทนี เป็นครูใหญ่
พ.ศ.2514 นายธง สุขเทศน์ และชาวบ้านวัดละหารไร่จึงได้ร่วมใจกันสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ โดยหลวงพ่อทิม มอบเงินให้เป็นทุนขั้นแรก 30,000 บาท ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมือวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2515 ด้วยบารมีของหลวงพ่อทิม บุโบสถก็สำเร็จภายในเวลาเพียงปีเศษเท่านั้น และได้ขอพระราชทานวิสุงคามเสมาทำพิธีฝังลูกนิมิตเมื่อตั้นปี พ.ศ.2517
ปี พ.ศ.2478 พระอธิการทิม อิสริโก จึงได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นพระครูชั้นประทวน โดยส่งหมายและตราตั้งไว้ทางเจ้าคณะจังหวัดระยอง แต่หลวงปู่ทิมก็ยังไม่ยอมไปรับ และไม่บอกใคร ทางจังหวัดจึงได้มอบหมายให้เจ้าคณะอำเภอมามอบให้ที่วัดเอง ท่านจึงได้รับเป็นพระครูทิม อิสริโก และได้รับเป็นพระคู่สวด ปีพ.ศ.2497 ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งพระครูทิม อิสริโก เลื่อนชั้นเป็นพระครูสัญญาบัตร ท่านก็ยังไม่ยอมเอา และไม่บอกให้ญาติโยมได้รู้จนทางเจ้าคณะอำเภอได้มีหนังสือส่งไปยังวัด ไวยาวัจกรได้ทราบและนำเรื่องนี้ปรึกษาชาวบ้านและคณะกรรมการวัดให้ทราบ ตึงอาราธนาหลวงปู่ทิม มารับัญญาบัตรพัดยศ เมือนวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2507
บารมีของหลวงปู่ทิม
บิณฑบาตที่จ.ชลบุรี
มีผู้ชายคนหนึ่งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี อ.บางละมุง ซึ่งผมจำชื่อไม่ได้ ได้มาเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อวานนี้ผมเห็นหลวงปู่ทิม ไปบิณฑบาตอยู่ที่เมืองชล ผมจำได้เขาบอกว่าเรื่องนี้เป็นความจริง เพราะจำหลวงปู่ทิมได้ ผมก็ได้แต่นึกและก็ไม่กล้าตอบ แต่นึกว่าหลวงปู่ของเราจะเป็นไปได้หรือ ผมจึงเก็บเอาเนื้อความนี้ไว้แต่ในใจและก็คุยกันเรื่องอื่นต่อไป อยู่มาประมาณอีกสัก 10 กว่าวันก็มีคนเมืองชลมาเล่าให้ผมฟังอีก ก็เหมือนกับทีคนแรกเล่าให้ผมฟังทุกประการ ผมจึงลองถามหลวงตาที่เป็นขรัวรองอยู่ที่วัดดูและเล่าเรื่องราวให้ท่านฟัง ท่านตอบว่า อาตมาก็ไม่ทราบและไม่ได้สังเกตเพราะฉันจังหันต่างกัน แต่ก็ปรากฏท่านทีอาหารแปลกปะปนอยู่เสมอ แต่ก็อาจจะเป็นความจริงเพราะท่านเป็นพระที่สำเร็จญาณชั้นสูงอยู่แล้ว
ยิงไม่ถูก
มีชาวบ้านหนองละลอกคนหนึ่งชื่อ นายธง สุขเทศ หรือชาวบ้านละแวกนั้นมักเรียกว่า ปลัดธง บ้านอยู่ไม่ห่างจากบ้านผมเท่าไรนัก หลังจากที่ผมกลับจากทำงานก็อาบน้ำจวนจะทานอาหาร เวลาประมาณ 1 ทุ่ม ปลัดผู้นี้ก็เริ่มจะทานอาหารเหมือนกัน หยิบจานอาหารมาวางและมีลูกสาวอยู่ใกล้ๆ ผมก็กำลังทานอาหารอยู่ที่บ้าน ก็ได้ยินเสียงปืนระเบิดขึ้น 2 จังหวะ 4 นัด แล้ว 3 นัดติดต่อกัน ปรากฏภายหลังว่าผู้ยิงพาดปืนกับขอบสังกะสีรั้วบ้านระยะประมาณ 4 เมตร แต่กระสุนมิได้ถูกนายธงเลย มีกระสุนไปถูกขาตั้งรถจักรยานทำให้สะเก็ดบินไปโดนเด็กลูกสาวที่ขาบาดเจ็บ เล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้คงเป็นเพราะอภินิหารเหรีญหลวงปู่ทิมรุ่นแรกซึ่งนายธงแขวนคออยู่เพียง เหรียญเดียว ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่าผู้ยิงใช้ปืนคาบิ้น 2 กระบอกเพราะเก็บปลอกกระสุนได้แน่ชัด