วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัตถุมงคลหลวงพ่อวงษ์

วัตถุมงคลยุคต้น
หลวงพ่อวงษ์เริ่มสร้างวัตถุมงคลประมาณปี 2485 เป็นพระพิมพ์สมเด็จเนื้อผง จากคำบอกเล่าของท่านที่เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านเขียนผงได้ตั้งแต่อายุไม่ถึง 30 ปี ท่านเขียนผง นะปถมัง และผง อิทธิเจ (และจากคำบอกเล่าของปู่เสงี่ยม เคยเห็นหลวงพ่อวงษ์เขียนลบผงในปี 2478) ซึ่งหลวงพ่อใช้เวลาเขียนลบผงทั้ง 2 อย่างกว่า 10 ปี จนได้ผงพอสมควรแล้ว ท่านก็เริ่มทำพระผงพิมพ์สมเด็จ ครูอุดมเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 2489 ครูอุดมบวชเป็นพระอยู่ได้เห็นหลวงพ่อตำผงผสมผงพิมพ์พระแล้ว หลวงพ่อทำพระหลายปี แต่ได้พระไม่มากเท่าไหร เพราะว่าท่านผสมผง นะปถมังและผงอิทธืเจมาก จึงเปลืองผงมากเนื้อพระก็มีมวลสารน้อยเพราะมีผงมาก และพระของท่านจะถูกน้ำไม่ได้จะละลายเป็นก้อน พระของท่านมีดินสอพองเป็นหลัก มีกล้วยเป็นตัวประสาน มีข้าวสุกตากแห้ง พระของท่านจึงมีกลิ่นหอม ถ้าเก็บรักษาไม่ดีจะมีแมลงกัดแทะทำให้พระของท่านเหลือมาถึงปัจจุบันน้อย และพระเครื่องของท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูงมาก มักจะมีผู้ที่ชอบขูดขอบพระบ้าง เจาะด้านหลังบ้าง แช่น้ำบ้าง เพื่อนำผงของพระไปใช้ในทางเสน่ห์เรื่องผู้หญิง และใช้ได้ผลดี จนมีเรื่องมาถึงท่านหลวงพ่อต้องคอยแก้ไข จนท่านต้องเอ่ยปากแช่งผู้ที่นำผงไปใช้แล้วได้ผลแต่ไม่รับผิดชอบเลี้ยงดู “ขอให้ฉิบหาย” ท่านจึงนำพระผงที่เหลือไปบรรจุในเจดีย์

และในปี 2523 หลวงพ่อสมชาย ได้ทำการบูรณะเจดีย์องค์ดังกล่าว พบพระผงของท่านได้ละลายรวมกันเป็นก้อนด้วยความชื้นในองค์เจดีย์ แต่ความไม่รู้ของคนงานได้ฉีดน้ำทำให้พระของท่านละลายซึมลงพื้นไปหมด เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง


เสือหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส
แบบพิมพ์พระ
หลวงพ่อวงษ์ ท่านมีความเลื่อมใสต่อองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆังมาก ท่านจึงนำแบบพิมพ์ของสมเด็จมาเป็นแบบอย่าง ผู้ที่เคยได้รับพระจากมือหลวงพ่อ ยืนยันว่าเคยได้แต่พระที่เป็นพิมพ์สมเด็จ ไม่เคยได้รับพิมพ์อื่นเลย
ร.อ.ประยูร ภู่บัวเผื่อน ซึ่งเคยบวชเป็นพระที่วัดเล่าให้ฝังว่า เคยเห็นหลวงพ่อพิมพ์พระอยู่ก็เลยชวนพระในพรรษานั้นไปหา หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ขอบูชาพระพิมพ์ชินราชมา แล้วนำมาถอดพิมพ์เพื่อพิมพ์พระผง โดยใช้เด็กรับใช้ในกุฏิท่าน ชื่อเน่า หรือนายสุทศ ยุวชาติ นำผงของท่านมาให้ และช่วยกันทำพิมพ์ไ
ด้มากพอควรแล้วก็แบ่งกันโดยไม่ได้ให้หลวงพ่อปลุกเศกอีก เพราะผงของท่านทำเสร็จแล้วไม่ต้องเศกอีก ทำให้พระชินราชนี้เหมือนของพระพิมพ์ชินราชหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ร.อ.ประยูรยังเล่าอีกว่าเคยเห็นพระของหลวงพ่อเป็นพิมพ์สมเด็จเท่านั้นไม่มี พิมพ์อื่นอีก จึงพอสันนิษฐานว่า พิมพ์ของท่านมีแต่พิมพ์สมเด็จส่วนพิมพ์อื่นนั้นน่าจะเป็นของลูกศิษย์ทำกัน เอง โดยใช้ผงของหลวงพ่อวงษ์มาผสม แต่พระของหลวงพ่อเองนั้นจะมีผงมาก เพราะหลวงพ่อทำเอง และที่พระพิมพ์ของท่านจะมีลายมืออยู่ที่ด้านหลังพระทุกองค์ เพราะท่านกดพิมพ์เององค์เดียว เพียงใช้ลูกศิษย์ตำผงให้เท่านั้น พิมพ์ของท่านเป็นหินลับมีด
เมื่อหลวงพ่อสมชายขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ได้สำรวจกุฏิของหลวงพ่อยังพบแบบพิมพ์ พระนางพญา พระชินราช พระนาคปรก และได้นำไปบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ พระของท่านมีหลายขนาด และที่เห็นมี 4 ขนาดคือ
- ขนาดใหญ่แบบไกเซอร์
- ขนาดกลาง ประมาณ 3 x 4 เซนติเมตร
- ขนาดเล็กเท่ากันพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง
- และขนาดเท่ากับ 1 x 1 เซนติเมตร (พิมพ์คะแนน หายากมาก)
แบบพิมพ์ที่พบเห็นนั้นมี พิมพ์สมเด็จ พิมพ์ไกเซอร์ พิมพ์แขนหักศอก พิมพ์แขนตรง พิมพ์ไหล่ตรง พิมพ์อกร่อง พิมพ์คะแนน พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์พระชินราช พิมพ์หลวงพ่อโต พิมพ์นางพญา พิมพ์พระรอด
และพิมพ์ซุ้อกอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com