เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม พ.ศ. 2486 |
ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อเต๋ ห่มจีวรเฉียงบ่า ปลายสังฆาฏิแตก เป็นเหรียญปั๊มตัดโบราณ ด้านบนมีหูเหรียญ ด้านหลังมีอักขระโบราณอักษรลึกคมชัด ด้านหลังเหรียญ เป็นพระพุทธรูปปางลีลา มีเส้นแซมตรงส้นเท้าใกล้ฐานดอกบัว มีอักขระโบราณ 5 คำ ล้อมรอบองค์พระ
เหรียญหลวงพ่อเต๋ รุ่นแรก เท่าที่พบมีเนื้อทองแดง เนื้อเงิน ปัจจุบันเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมาก และมีของปลอมเลียนแบบค่อนข้างใกล้เคียงและยังมีการสร้างเสริมขึ้นมาภายหลัง คือ รุ่น 2 ซึ่งรุ่น 2 นี้ด้านหลังเหรียญไม่มีเส้นขนานแขน และเหรียญหลวงพ่อเต๋จะหนากว่าเหรียญหลวงพ่อเต๋ รุ่นแรก
พระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงพ่อเต๋ ขุนแผนนี้เรียกอีกชื่อว่าขุนแผนรุ่นอินโดจีน ขุนแผนหลวงพ่อเต๋ สร้างราวปีพ.ศ.2500 หรือกว่าเล็กน้อย ที่นิยมจะเป็นสีเนื้อพิกุลครับ ที่เห็นขาวๆ เขาว่ากันว่าคือกระดูกผีตายโหง ส่วนดินที่นำมาทำก็เป็นดินเจ็ดป่าช้า ซึ่งตำหรับนี้เป็นต้นตำหรับของพรายกุมารของจริง ขุนแผนหลวงพ่อเต๋ ดีมากทางเมตตามหานิยม แม้แต่ศิษย์เอกท่าน หลวงพ่อแย้มซึ่งยังมีชีวิตอยู่ยังพูดว่า ขุนแผนหลวงพ่อเต๋ ดีทางผู้หญิง แต่ก็ลองยิงดูได้
นอกจากนี้ ในปีพ.ศ.2505 ท่านยังได้จัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินพิธีใหญ่อีกครั้ง เพื่อฉลองอายุครบ 5 รอบ เนื้อดินที่ใช้ ได้นำดินทวารวดีที่ชำรุดหักและผงว่านผสมลงไปด้วย สังเกตเนื้อองค์พระเมื่อเผาแล้ว เนื้อดินจะนุ่มเมื่อถูกเหงื่อถูกสัมผัส ปรากฏมวลสารและว่านแลดูเก่ามาก
พิมพ์ที่จัดสร้าง ประกอบด้วย พระรูปเหมือนซุ้มเรือนแก้ว พระปรกโพธิ์ใหญ่ พระปรกโพธิ์เล็ก พระตรีกาย (พระสาม) พระทุ่งเศรษฐี เป็นต้น
พระเครื่องเนื้อดินดังกล่าว ด้านหลังจะมียันต์อักขระนูน เรียกว่า ยันต์สามง่าม เนื่องจากด้านหลังมีรูปตรี เป็นสัญลักษณ์ของวัดสามง่าม ส่วนพิมพ์พระทุ่งเศรษฐี ด้านหลังมียันต์และชื่อฉายา คงทอง กดประทับลึกลงไปในเนื้อทั้งนี้ วัตถุมงคลหลวงพ่อเต๋ แต่ละชิ้นล้วนแล้วแต่มีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์และเล่าขานสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น