วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน

ประวัติหลวงพ่อหรุ่น ใจภารา วัดอัมพวัน กรุงเทพ

หลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน
หลวงพ่อหรุ่น เดิมทีท่านเองเป็นชาวตำบลเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.2390 ท่านมีความสนใจศึกษาทางด้านวิทยาคมและไสยศาสตร์มาตั้งแต่เด็กๆ เมื่อทราบว่าเกจิอาจารย์รูปใดเก่งกล้าสามารถทางด้านอาคมและไสยศาสตร์ ท่านก็จะดั้นด้นเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาหาความรู้จนเชี่ยวชาญแตกฉาน มีวิทยาอาคมเข้มขลังเป็นที่ยำเกรง

อีกทั้งท่านเป็นคนจริง จึงมักถูกชาวบ้านทั่วๆ ไปเรียกว่า "นักเลง" ต่อมาชื่อเสียงโด่งดังจึงขนานนามเป็น "เสือหรุ่น" หลังเข้าเป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนัน โดยลำดับ ด้วยความดีความชอบจึงได้รับพระราชทานยศเป็นขุนกาวิจล

ต่อมาท่านละทิ้งทางโลกมุ่งศึกษาทางธรรม โดยอุปสมบทที่วัดลำลูกกา ในปีพ.ศ. 2431 โดย พระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่พระธรรมราชานุวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบทได้ หลายพรรษา ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านจึงเริ่มเดินธุดงค์ คราหนึ่งท่านธุดงค์มาปักกลดในบริเวณข้างวัดอัมพวัน ถนนนคร ไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ชาวบ้านเห็นถึงวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด และมีคาถาอาคมแก่กล้า จึงได้นิมนต์ท่านมาพำนักที่วัดอัมพวัน

เมื่อลูกหลานและผู้เลื่อมใสศรัทธาทราบข่าว ก็พากันไปเยี่ยมนมัสการพร้อมขอวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังจากท่านอย่าง ล้นหลาม เนื่องจากท่านมีวิชาอาคมด้านคงกระพันชาตรีและมหาอุดเป็นเลิศ โดยเฉพาะในด้านการ "สักยันต์" จนได้รับฉายาว่า "หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด" ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวันมาโดยตลอดจนมรณภาพในปี พ.ศ.2471 สิริอายุ 81 พรรษา 35

เหรียญหลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน นับเป็นเหรียญคณาจารย์เหรียญหนึ่งที่ได้รับความนิยมในวงการนักนิยมสะสม เหรียญคณาจารย์อย่างกว้างขวาง เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อหรุ่น เรียกได้ว่าเป็น เหรียญที่มีราคาเล่นหากันสูงพอควรทีเดียวในบรรดาเหรียญเกจิจารย์ด้วยกัน เนื่องด้วยพุทธาคมของหลวงพ่อหรุ่นผู้สร้างเป็นที่เลื่องลือขจรไกล โดยเฉพาะด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลวงปู่ปัญญา ปัญญธโร

เหรียญ หลวงปู่ปัญญา ปัญญธโร วัดหนองผักหนามราษฎร์บำรุง

หลวงปู่ปัญญา ปัญญธโร วัดหนองผักหนาม
หลวงปู่ปัญญา ปัญญธโร เจ้าอาวาสวัดหนองผักหนามราษฎร์บำรุง ต.หนองใหญ่ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี พระเกจิชื่อดังอายุกว่า 106 ปี สืบสายธรรมจาก ญาครูขี้หอม และ สำเร็จลุน นครจำปาสัก สหธรรมิกหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย พระเกจิชื่อดังอุบลราชธานี

หลวงปู่ปัญญา เกิดในสกุล พลราษฎร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม 2448 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ร.ศ.124 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ ต.ตะบ่าย อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่ปัญญา ได้เข้าพิธีอุปสมบท 2 ครั้ง ในครั้งแรก อายุ 20 ปี ณ วัดตะบ่าย ต.ตะบ่าย อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็นเวลา 3 ปีแล้วลาสิกขา

ในครั้งที่ สอง เมื่ออายุครบ 40 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2518 ณ วัดบึงบวรสถิตย์ โดยมี พระครูประภัศร์พุทธิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระใบฎีกาฮง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสุรินทร์ พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ปัญญธโร

ด้วยความที่หลวงปู่ปัญญา เป็นผู้ที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายรุ่น โดยเฉพาะเหรียญต่อเส้นวาสนารุ่นแรก ที่ออกเมื่อปลายปี 2552 ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้เหรียญรุ่นแรกหมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น วัดหนองผักหนามราษฎร์บำรุง ได้จัดสร้างเหรียญต่อเส้นวาสนารุ่น 2 เพื่อนำปัจจัยจากการเช่าบูชาไปก่อสร้างหอฉันและกำแพงแก้วรอบอุโบสถ

เหรียญต่อเส้นวาสนา หลวงปู่ปัญญา
ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูห่วง ขนาดยาวรวมหูห่วง 3.2 เซนติเมตร กว้าง 2.2 เซนติเมตร

จำนวนเหรียญที่จัดสร้าง ประกอบด้วย เนื้อทองคำ 109 เนื้อเงิน 999 เนื้อ นวโลหะ 2,999 เนื้อทองแดง 11,999 เหรียญ ทองคำ เงิน ตอกโค้ด (ป) ตอกเลขที่หน้าเหรียญ นวะตอกโค้ด (ป) ตอกเบอร์ ๙ ทองแดงตอกโค้ด (ป)

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ปัญญานั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ห่มจีวรเฉียงบ่า พาดสังฆาฏิ ตรงบริเวณสังฆาฏิ เขียนตัวเลข "๑๐๖ ปี" ขอบเหรียญด้านบน เขียนคำว่า "หลวงปู่ปัญญา ปญฺญธโร" ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า "๒๕๕๓" ขอบเหรียญด้านล่าง เขียนคำว่า "วัดหนองผักหนาม จ.ชลบุรี"

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปลายมือ เรียกว่า ลายมือพระโพธิสัตว์ มีเส้นลายมือ ประกอบด้วย เส้นชีวิตยาวสุขภาพดี เส้นสมองยาว เส้นหัวใจยาวสวย เส้นวาสนาสูง เส้นอาทิตย์ เส้นพุธ เส้นคู่ครองเป็นคู่สวย เส้นพฤหัสฯ เป็นต้น

ภายหลังการจัดสร้างเหรียญรุ่นดังกล่าวแล้วเสร็จ ทำให้คณะศิษย์และผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่างเสาะแสวงหาวัตถุมงคลของท่านมาเก็บ ไว้ในครอบครองเป็นที่ระลึกกันอย่างมาก

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหรียญหลวงปู่แผ้ว รุ่นปราบไพรี

หลวงปู่แผ้ว ปวโร
วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) เป็น วัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 158 หมู่ที่ 5 ต.รางพิกุล อ.กำแพง แสน จ.นครปฐม เดิมชื่อ วัดรางหมัน เพราะที่ตั้งเดิมของวัดเป็นรางน้ำทิ้ง และมีต้นหมันขึ้นอยู่บริเวณนั้น ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดรางหมัน และเวลาต่อมาเมื่อมีการขอตั้งเป็นวัดได้เปลี่ยนเป็นวัดประชาราษฎร์บำรุง ตั้งแต่บัด นั้นเป็นต้นมา

ภายในวัดมีเสนาสนะ อาทิ อุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นาม หลวงปู่ดำ เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ทรงเครื่อง ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง ฌาปนสถาน เป็นต้น

ปัจจุบันวัดแห่งนี้มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง “หลวงปู่แผ้ว ปวโร” หรือ “เทพเจ้าแห่งเมืองกำแพงแสน” คำขนานนามที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาตั้งให้ ตามประวัติท่านเกิดเมื่อวันแรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ซึ่งตรงกับวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2466 พื้นเพเดิม ท่านเป็นคนบ้านหนองม่วง ต.เตาอิฐ อ.บางแพ จ.ราชบุรี

เมื่ออายุครบ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2466 ณ วัดหนองปลาไหล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม หลังจากบวชแล้วได้เคร่งครัดในด้านพระธรรมวินัย ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ เล่าเรียนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน ศึกษาพระธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรี และชั้นโท

หลวงปู่แผ้ว เป็นพระสมถะเรียบง่าย ไม่ยึดติดกับวัตถุ ไม่สะสมเงินทอง และลาภยศใดๆ เพราะฉะนั้นท่านจึงแสวงหาความสัน โดษและเงียบสงบออกสร้างวัดและจำพรรษาอยู่หลายที่

หลวงปู่แผ้ว เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงไม่แปลกอะไรที่จะมีลูกศิษย์มากมายทั่วประเทศ หนึ่งในนั้น คือ พล.ต.ท.เกรียง ศักดิ์ สุริโย ผบช.ภ.2 อดีต ผบช.ตชด. ท่าน เป็นผู้เคารพและศรัทธาหลวงปู่แผ้วเป็นอย่างมาก และด้วยความศรัทธานี้เอง ทำให้เกิด ปาฏิหาริย์เกี่ยวกับพุทธคุณของพระเครื่องขึ้นกับตัวเองมากมายหลายครั้ง

พล.ต.ท. เกรียงศักดิ์ สุริโย ได้จัดสร้าง “เหรียญหลวงปู่แผ้ว รุ่นปราบไพรี” เพื่อมอบให้ตำรวจตระเวนชายแดน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 อ.เมือง จ.ยะลา

เหรียญหลวงปู่แผ้ว รุ่นปราบไพรี
รูปแบบเหรียญ หลวงปู่แผ้ว รุ่นปราบไพรี
เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญเป็นลายจุดไข่ปลา ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แผ้วครึ่งองค์หันหน้าตรง ขอบโค้งด้านบนซ้าย เขียนคำว่า “วัดรางหมัน ต.รางพิกุล” ขอบโค้งด้านบนขวา เขียนคำว่า “อ.กำแพงแสน จ.นคร ปฐม” ใต้รูปเหมือนเป็นผ้าธง เขียนคำว่า “หลวงปู่แผ้ว ปวโร” มุมธงด้านซ้าย เขียนเลข “๒๕” มุมธงด้านขวา เขียนเลข “๕๔” ตรงผ้าสังฆาฏิ เขียนคำ “ปวโร” และอักขระยันต์

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปหนุมานเชิญธง ด้านบน เขียนคำว่า “ปราบไพรี” ล้อมรอบอักขระยันต์ ด้านซ้ายรูปเหมือนหนุมาน ตอกโค้ดตัวเลข “๘๙”

ด้วยเจตนาการจัดสร้างที่บริสุทธิ์ และมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังเข้าร่วมพิธีปลุกเสก ทำให้เหรียญดังกล่าว มีพุทธคุณโดดเด่นรอบด้าน ผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ครอบครองต่างมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย จัดเป็นเหรียญยอดนิยมอีกเหรียญหนึ่งที่บรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องควรมีไว้ในครอบครอง

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ กรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์

พระสมเด็จวัดบึงพระยาสุเรนทร์ นับเป็นพระเครื่องอีกพิมพ์หนึ่งที่เรียกกันว่า "เป็นของดี ราคาถูก" และยังคงเป็นที่นิยมและแสวงหากันมากในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง พระบูชา เพราะนอกจากจะเป็นของดีราคาถูกดังกล่าวแล้ว องค์พระเองก็น่าสนใจไม่น้อย ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะ อีกทั้งมวลสารที่นำมาประกอบการสร้างก็นับเป็นตำรับลับเฉพาะของตระกูล "สิงหเสนี"

วัดบึงพระยาสุเรนทร์เป็นพระอารามในกรุงเทพมหานคร ผู้ดำเนินการสร้างและอุทิศให้เป็นเขตวิสุงคามสีมา ได้แก่ เจ้าพระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) ท่านเป็นบุตรของพระยามุขมนตรี และเป็นหลานของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ กรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์
ในสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ยังคงปกครองแบบระบบศักดินา คือ เหล่าข้าราชบริพารจะได้รับอำนาจปกครองที่ดินมากน้อยตามแต่ยศถาบรรดาศักดิ์ ท่านเจ้าพระยาสุเรนทร์ฯ ก็เช่นกัน ท่านได้ที่ดินตามศักดินาในยุคนั้น และได้เว้นที่ริมบึงเก่าซึ่งต่อมาเรียก "บึงพระยา สุเรนทร์" พร้อมกับที่ใกล้บึงถวายวัดจำนวน 48 ไร่ ส่วนตัวท่านเอง ในบั้นปลายชีวิตก็ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานที่วัดบึงพระยา สุเรนทร์นี้ และได้สร้าง "พระพิมพ์บึงพระยาสุเรนทร์" ขึ้น

พระบึงพระยาสุเรนทร์มีเอกลักษณ์สำคัญคือ เนื้อขององค์พระดูจะแก่น้ำมันและออกสีเขียวๆ ซึ่งเข้าใจว่าคงจะเป็น "ผงหินเขียว" ตามตำรับการสร้างพระแต่โบราณ และที่สำคัญก็คือ มีส่วนผสมของ "น้ำมันพุทธ มนต์" ที่ปลุกเสกตามตำรับลับประจำตระกูลท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา ซึ่งเป็นตำรับเฉพาะพวก "สิงหเสนี" เท่านั้น

พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ กรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์
พระบึงพระยาสุเรนทร์ปรากฏพิมพ์ด้านหน้าหลายพิมพ์ ได้แก่ พิมพ์พระเจ้า 5 พระ องค์ กำกับพระนาม "นะ โม พุท ธา ยะ", พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์, พิมพ์สมเด็จฐานแซม, พิมพ์สมเด็จฐาน 3 ขั้น และพิมพ์ซุ้มกอ ซึ่ง ทำเป็นรูปสมเด็จแต่ตัดพิมพ์ด้านบนตามรอยโค้งของซุ้มครอบแก้ว มีผู้สันนิษฐานว่า พิมพ์ที่เรียกว่าพระสมเด็จนั้นคงจะทำแบบพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ส่วนด้านหลังองค์พระจะเป็นหลังเรียบ มักพบจารอักขระขอม 4 ตัว อ่านได้ว่า "ติ ติ อุ นิ" และขึ้นยอดเป็น "ตัวอุณาโลม" ซึ่งดูเห็นได้ว่าไม่ใช่ลายมือของคนคนเดียวกัน

ในด้าน ความศักดิ์สิทธิ์และพุทธคุณนั้น เอาเป็นว่าคนโบราณถึงกับร่ำลือกันว่า "ใครมีพระบึงพระยาสุเรนทร์ไว้รับรองไม่ตายโหง" ก็แล้วกัน สำหรับวิธีการสังเกตและพิจารณาว่าเป็นพระแท้หรือไม่ ให้ดูองค์พระที่ผ่านการใช้ องค์พระจะแลดูฉ่ำคล้ายผงน้ำมัน แต่ของเทียมเนื้อจะฝ่อ และหดเหี่ยว ไม่ตึงแน่นเหมือนพระแท้ องค์พระจะออกสีเขียวในเนื้อ นักเลงเล่นพระรุ่นเก่ามักจะคอยตามเก็บพระชุดนี้เงียบๆ ไม่ให้ใครรู้ ปัจจุบันเริ่มหายากขึ้นทุกที ถ้าใครโชคดีมีโอกาสได้เห็นที่ไหนช่วยบอกด้วย

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
พระนางพญาพิษณุโลก จัดว่าเป็นพระเนื้อที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นพระชั้นนำที่สุดของเมืองพิษณุโลกและถูกจัดให้เป็นพระในชุด “เบญจภาคี” ที่ถือว่าสุดยอดของประเทศไทยอีกด้วย พระนางพญากำเนิดที่ “วัดนางพญา” พิษณุโลกความจริงวัดนางพญาก็เป็นวัดเดียวกับ “วัดราชบูรณะ ต่อมาภายหลังได้สร้างถนนผ่ากลางเลยกลางเป็น 2 วัด การได้ชื่อว่า “วัดนางพญา” ก็เพราะได้พบพระนางพญานั่นเอง

ตามการสันนิฐาน พระนางพญานั้นเป็นผู้ที่สร้างคือ “พระวิษุสุทธิกษัตรี” มเหสีของ “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ผู้ที่ได้สร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นบริเวณที่พบพระนางพญานั่นเอง เข้าใจว่าการสร้างพระนางพญานั้นประมาณปี พ.ศ. 2090 – 2100 หรือประมาณสี่ร้อยกว่าปี
พระนางพญา เป็นพระรูปทรงสามเหลี่ยมทุกพิมพ์นั่งมารวิชัยไม่ประทับบนอาสนะหรือมีฐานรองรับ รูปทรงงดงามแทบทุกพิมพ์โดยเฉพาะจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ “ผู้หญิง” จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระพิมพ์ “นางพญา” อีกประการหนึ่งก็คือผู้ที่สร้างก็คือ “พระวิสุทธิกษัตรี” นั่นเอง

พระนางพญา ถูกค้นพบเมื่อประมาณ พ.ศ. 2444 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จะเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางจังหวัดจึงเตรียมการรับเสด็จที่วัดนางพญา โดยจัดการสร้างปะรำพิธีรับเสด็จ เมื่อคนงานขุดหลุมก็เกิดพบพระจำนานมาก ก็คือพระนางพญานั่นเอง ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสก็เก็บพระเหล่านั้นไว้ พอสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ ทางเจ้าอาวาสและทางจังหวัดก็ได้นำพระขึ้นทูลเกล้าฯ สมเด็จพุทธเจ้าหลวงก็ได้ทรงแจกจ่ายให้แก่ราชบริพารที่ตามเสด็จถ้วนหน้า ส่วนที่เหลือก็นำกลับกรุงเทพฯ

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
พระนางพญา ถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่าง และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศที่ค้นพบ เช่น พบที่บ้าน “ตาปาน” บริเวณนี้น้ำท่วมประจำ พระเสียผิวมีเม็ดแร่ลอยมาก จึงเรียกว่า “กรุน้ำ” ในปี พ.ศ. 2479 มีผู้พบพระนางพญา ที่วัด “อินทรวิหาร” บรรจุอยู่ในบาตรที่เจดีย์องค์เล็ก

ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ พบที่ “พระราชวังบวรมงคล” (วังหน้า) พบที่ “วัดสังขจาย” ฝั่งธนบุรี ครั้งสุดท้ายพบที่ “วัดราชบูรณะ” จังหวัดพิษณุโลกอีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำในบริเวณวัดในประมาณปี พ.ศ. 2532 พระนางพญา เป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ผสมว่าน เกสรดอกไม้ 108 ตลอดจนแร่กรวดทรายต่าง ๆ แล้วนำไปเผา

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหรียญพระเครื่องยอดนิยม หลวงพ่อคง รุ่นแรก 2484

หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม รุ่นแรก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2484 เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบหูเชื่อม ปั๊มด้วยโลหะทองแดงผสมทองเหลืองรมดำส่วนผู้ดำเนินการจัดสร้างคือ พ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม(เปรื่อง ดิลกโยธิน)โดยขออนุญาตอย่างเป็นทางการ เนื่องในวาระที่หลวงพ่อคงมี อายุครบ 77 ปี

ในชั้นแรกหลวงพ่อคงได้ปรารภว่า “ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษจะสร้างรูปตัวเองไปแจกดูกระไรอยู่” พ.อ.พระยาศรีสุรสงครามจึงอธิบายถึงจุดประสงค์ว่า เป็นการสร้างเพื่อบูชาพระคุณหลวงพ่อ ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์

ท่านจึงอนุญาต แต่ให้ระบุข้อความที่เหรียญพระเครื่องให้ชัดเจนว่า “ศิษย์สร้างบูชาพระคุณของหลวงพ่อ”และ ลาภ ผล พูน ทวี”

ก่อนที่จะดำเนินการปั๊มเหรียญ พ.อ. ศรีสุรสงคราม ได้นำชนวนหล่อพระในงานพิธีครั้งสำคัญๆ มาหลอมและรีดเป็นแผ่น และขอความเมตตาจากหลวงพ่อลงอักขระยันต์แผ่นทองเหลือง แล้วส่งไปยังร้านอัมราภรณ์ตึกดินว่าจ้างปั๊มเหรียญจำนวนทั้งหมด 3 พันเหรียญในอัตราค่าจ้างปั๊มเหรียญละ 14 สตางค์ โดยกำชับให้ทางร้านนำแผ่นโลหะทองเหลืองหล่อหลอมกับทองแดงรีดเป็นแผ่นทำการปั๊ม

เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม รุ่นแรก 2484

ด้วยเหตุนี้พระเครื่องเหรียญหลวงพ่อคงรุ่นแรกจึงไม่ใช่เนื้อทองแดงบรุสุทธิ์ล้วนๆ สังเกตได้จาก “เหรียญสึก”จะเห็นว่า ผิวโลหะออกสีเหลืองไม่แดงเข้มแบบทองแดง

เมื่อแล้วเสร็จ พ.อ.พระยาศรีสงคราม ได้กราบเรียนต่อหลวงพ่อคงว่า หากใครมาเช่าบูชาเหรียญ ให้คิดเหรียญละ 5 บาทโดยถวายเข้าวัดหลวงพ่อ 2 บาท ส่วนอีก 3 บาท เป็นต้นทุนในการจัดสร้างเหรียญ

หลวงพ่อคงเห็นดังนั้นจึงเก็บใส่บาตรทิ้งไว้จนกระทั้งมรณภาพลง โดยไม่ได้จำหน่ายเหรียญไปเลย ด้วยเกรงว่าชาวบ้านจะครหาว่าท่าน เอาเหรียญมาขายกิน

ต่อมา พ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม จึงได้นำเหรียญทั้งหมดถวายแก่ หลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี ก่อนตกทอดมาสู่ หลวองพ่อเนื่อง ซึ่งท่านได้นำออกแจกจ่ายจนหมดสิ้น

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหรียญรุ่นหน้าไฟหลวงปู่ตื้อ

เหรียญรุ่นหน้าไฟหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก
หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม” พระเกจิอาจารย์สายกัมมัฏฐานชื่อดังอีกรูป อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรี สงคราม จ.นครพนม ที่สืบสายธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์แห่งพระป่า

หลวงปู่ตื้อ วัดป่าอรัญญวิเวกเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่ขาว อนาโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู และหลวงปู่สิงห์ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา กล่าวได้ว่า หลวงปู่ตื้อ เป็นยอดพระวิปัสสนาจารย์ ตลอด 50 ปีได้ธุดงค์ไปเหนือจรดใต้ ข้ามไปฝั่งพม่า ก่อนธุดงค์ไปภูเขาควายในฝั่งลาว ท่านได้ละสังขารเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2517 สิริอายุ 86 ปี พรรษา 65 หลังหลวงปู่ตื้อมรณภาพ คณะศิษย์โรงเรียนจ่าอากาศดอนเมือง ได้จัดสร้างพระเครื่อง รุ่นหน้าไฟ เพื่อไว้แจกเป็นที่ระลึกในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ

เหรียญหน้าไฟหลวงปู่ตื้อ
พระเครื่องลักษณะ เป็นเหรียญรูปทรงคล้ายใบโพธิ์ มีหูห่วง ออกแบบได้อ่อนช้อยงดงามสม ส่วน จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงชุบนิเกิล เนื้อทองแดงผิวไฟ และเนื้อทองแดงรมดำ จัดสร้างจำนวนประมาณ 5,000 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ มีลายเส้นขอบคล้ายเส้นใบโพธิ์ ในระหว่างเส้นแต่ละเส้นมียันต์อักขระซ้ายและขวารวม 6 ตัว ตรงกลางเหรียญบุ๋มคล้ายแอ่งกระทะ มีรูปเหมือนหลวงปู่ตื้อเต็มองค์ ห้อยลูกประคำนั่งท่าขัดสมาธิบนฐานดอกบัวหงาย มุมซ้ายด้านล่างใกล้ขอบเหรียญสลักตัวหนังสือนูน 2 บรรทัด “หลวงปู่ตื้อ อาจารธมฺโม” ใกล้ขอบเหรียญมุมขวาด้านล่าง สลักตัวหนังสือคำว่า “วัดป่าอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม”

ด้านหลังเหรียญ ภายในลายเส้นคล้ายเส้นใบโพธิ์ มียันต์อักขระ 8 ตัวกำกับ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปลายเส้นเจดีย์ที่หลวงปู่ตื้อสร้างบรรจุพระบรม สารีริกธาตุ ตรงกลางเจดีย์ในช่องลายเส้นสี่เหลี่ยมมียันต์อักขระกำกับ ใต้ฐานเจดีย์มี อักขระอีก 3 ตัวปิดท้าย

วัตถุมงคลรุ่นนี้ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย ซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกหลวงปู่ตื้อ ได้เมตตานั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก ทำให้พุทธคุณเหรียญรุ่นนี้จึงโดดเด่นรอบด้าน ทั้งคงกระพันชาตรี มหาอุด เปี่ยมล้นเมตตาสูง ไม่แพ้หลวงปู่ตื้อปลุกเสก เอง

สำหรับราคาเช่าหาวัตถุมงคลรุ่นหน้าไฟในปัจจุบัน ราคา เช่าหาบูชาเหรียญรุ่นนี้ที่ชัดเจน ยังไม่ได้รับการยืนยันเป็นตัวเลขที่แน่นอน อยู่ที่ความพอใจระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า เหรียญทุกเนื้อถ้าด้านหลังเหรียญตอกโค้ดเครื่อง หมาย “จอ” จ่าอากาศ บริเวณใกล้เจดีย์ ราคาเช่าหาประมาณ 2,000 บาท แต่ถ้าไม่มีการตอกโค้ด ราคาเช่าหาประมาณ 1,000 บาททุกเนื้อ ปัจจุบัน เหรียญหลวงปู่ตื้อ รุ่นหน้าไฟ พบเห็นในตลาดพระเครื่องได้น้อยมาก

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กุมารทอง

กุมารทอง เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ของไทยเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ที่มาของกุมารทองมาจากการเลี้ยงภูติผีปีศาจไว้ใช้งาน โดยกุมารทองจะเป็นวิญญาณของเด็กผู้ชาย หากเป็นวิญญาณผู้หญิงที่คนเลี้ยงไว้จะเรียกว่า “โหงพราย”

กุมารทอง หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม
กุมารทองนั้น แรกเริ่มเดิมทีมาจากวิญญาณของเด็กที่ตายในท้องแม่หรือที่ เรียกว่าตายทั้งกลม ผู้มีวิชาอาคมจะไปนำพาวิญญาณเด็กนั้นมาเลี้ยงไว้เป็นลูก จากหลักฐานที่พบในเอกสารโบราณระบุถึงการทำกุมารทองสรุป ว่า ต้องหาศพที่ตายทั้งกลม แล้วประกอบพิธีกรรมผ่าเอาศพทารกในท้องนั้นมาย่างไฟให้แห้งสนิทก่อนรุ่งอรุณ แล้วจึงลงรักปิดทองให้ทั่ว ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่ากุมารทอง ต่อมาสภาพสังคมและวัฒนธรรมพัฒนาไปมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถสร้างกุมารทองจากศพทารกจริง ๆ ได้ จึงได้มีการดัดแปลงกรรมวิธีการสร้างกุมารทองขึ้น มีหลายรูปแบบ กุมารทองจากดินเจ็ดป่าช้าบ้าง กุมารทองจากไม้รักซ้อนหรือกุมารทองจากไม้มะยมบ้าง กุมารทองจากงาช้าง กุมารทองจากกระดูกบ้าง กุมารทองจากตะปูสังฆวานร หรือกุมารทองจากวัตถุอาถรรพ์อื่นๆ ไปจนถึงโลหะ มาสร้างเป็นรูปกุมารทอง แล้วปลุกเสกตั้งจิต ตั้งธาตุทั้ง 4 และเรียกอาการสามสิบสองให้บังเกิดเป็นจิตวิญญาณของเด็กขึ้นมา

กุมารทอง หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
กุมารทองปัจจุบัน นิยมสร้างเป็นรูปเด็ก ลักษณะเป็นเด็กไว้จุก นุ่งโจงกระเบนอย่างโบราณ กลายเป็นเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่าเสมือนมีวิญญาณเด็กอยู่ในรูปกุมารทองนั้น ผู้บูชาต้องเลี้ยงดูเหมือนลูกของตน ต้องให้ข้าวน้ำเซ่นสรวงและต้องเรียกให้กินข้าวด้วย กล่าวกันว่าหากปฏิบัติดูแลดีกุมารทองก็ จะช่วยค้ำคูณ อาทิ ช่วยคุ้มครองป้องกันเจ้าของและครอบครัวจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น ไปจนถึงเตือนภัยล่วงหน้าอีกด้วย และจะคอยติดตามเฝ้าระวังบ้านเรือนจากโจรผู้ร้ายและศัตรูไม่ให้มากล้ำกราย ปัจจุบันผู้บูชานิยมไหว้ด้วยน้ำแดง เรื่องราวของกุมารทองถูกกล่าวถึงใน วรรณคดีไทย เช่น ขุนช้างขุนแผน บ้างก็นับลูกกรอก เป็นกุมารทองด้วย

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน

"หลวงปู่ยวง สุภัทโท" แห่งวัดหน้า ต่างใน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแก่กล้าในพลังจิตพุทธาคม ศิษย์ก้นกุฏิสืบสายธรรมจากหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างใน และหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองกรุงเก่าในอดีต ปัจจุบัน หลวงปู่ยวง สิริอายุ 84 ปี

อัตโนประวัติ หลวงปู่ยวง เกิดปีเถาะ พ.ศ.2470 ชีวิตในวัยเยาว์ เป็นผู้มีความชอบวัด ติดวัด เข้าวัดฟังธรรมอยู่เป็นนิจ มากกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่ชอบเที่ยวเตร่หาความสนุกสนานไปวันๆ อีกทั้งท่านเป็นเด็กใกล้วัดมาตั้งแต่เล็ก คอยวิ่งช่วยงานวัดหน้าต่างนอกและวัดหน้าต่างใน คอยอุปัฏ ฐากรับใช้หลวงพ่อจงและหลวงพ่อนิล ทำให้ท่านทั้งสองให้ความเมตตากับเด็กชายเป็นอันมาก

หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน จ.พระนครศรีอยุธยา
เมื่ออายุครบ อุปสมบท โยมบิดามารดาจึงจัดพิธีอุปสมบทให้ ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างใน โดยมีพระครูพิมพ์ วัดช่างเหล็ก จ.พระ นครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อจง และหลวงพ่อนิล เป็นพระคู่สวด ภายหลังอุปสมบท ท่านได้อยู่พำนักเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาการต่างๆ ที่วัดหน้าต่างใน ได้มาศึกษาหาความรู้ในด้านพระปริยัติธรรมและธรรมสิกขา พร้อมทั้งฝึกฝนด้านการเขียนอ่านอักษรทั้งไทยและขอมจากท่านพระครูพิมพ์ พระอุปัชฌาย์

หลวงพ่อยวง เป็นพระเถราจารย์ที่มีวิทยาคมแก่กล้า ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อนิล วัดหน้าต่างใน และหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อ.บางบาล

หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน ได้รับการเรียกขานจากบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ให้ความเคารพนับถือว่า “พระเกจิใหญ่แห่งแม่น้ำน้อย” ท่านมีอุปนิสัยไม่ค่อยพูดจา เวลามีใครมาสนทนาธรรมด้วย ท่านมักได้แต่ยิ้ม “เออ…เออ” เพียงแค่นี้เท่านั้น กล่าวสำหรับ วัดหน้าต่างในเป็นวัดพี่น้องกับวัดหน้าต่างนอก วัดหน้าต่างในเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา วัดหน้า ต่างในอยู่ตรงข้ามกับวัดหน้าต่างนอก เป็นวัดธรรมดาเหมือนวัดทั่วไป มีพื้นที่บริเวณกว้างขวาง สำหรับให้ชาวบ้านได้จัดกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วัตถุมงคล หลวงปู่ยวง  วัดหน้าต่างใน จ.อยุธยา
นอกจากนี้ หลวงพ่อจง ยังเป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เนื่องจากมีพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน หลวงปู่ยวง ได้สร้างพระเครื่อง วัตถุมงคลไว้มากมายหลายชนิด มีทั้งเหรียญ ผ้ายันต์ ตะกรุด แผ่นยันต์มหาลาภ และกันไฟ แต่พระเครื่องที่มีชื่อเสียงมาก คือ ตะกรุดปัญญาไวและปลาตะเพียน หลวงปู่ยวง ยังได้สร้างเหรียญเสมาหน้าใหญ่ หลวงพ่อจง-หลวงปู่ยวง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อจง ด้านหลังเป็นรูปหลวงปู่ยวง

ทำเนียบพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองกรุงเก่าในยุคนี้ นามของ “หลวงปู่ยวง สุภัทโท” ย่อมปรากฏอย่างสง่าสมเกียรติประวัติที่ได้รับการยกย่อง ยอมรับจากบรรดาพุทธศาสนิกชน ควรแก่การกราบไหว้บูชา ความเคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนธรรมอย่างสูง ตลอดทั้งความเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำให้ผู้คนหวนระลึกนึกถึงบารมีธรรมของท่านที่ได้สั่งสมไว้ตลอดระยะเวลาอัน ยาวนานที่อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทพเจ้าจีน

เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา
เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามคติความเชื่อของชาวพุทธ การใช้คำว่า “เทพ หรือ เทวดา” ครอบคลุมถึงพรหมทั้งหลายในพรหมโลกด้วย ชาวพุทธถือว่า เทวดาบนสรวงสวรรค์เป็นภพภูมิที่เสวยสุขอย่างเดียว ไม่สามารถทำความดีได้มาก เนื่องจากไม่มีกายเนื้อ แต่สามารถติดตามผู้ที่ทำความดีอย่างสม่ำเสมอได้ เพื่ออนุโมทนาบุญ สามารถสวดมนต์และฟังธรรมได้ เมื่อเทวดาหมดบุญแล้วก็ต้องจุติไปเกิดในภพภูมิอื่นๆต่อไป ผู้ที่เป็นเทวดาถือว่าการเกิดในโลกมนุษย์เป็นสุขคติภูมิของตน เพราะมนุษย์มีกายเนื้อ สามารถทำความดีได้มาก

เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย
เหตุที่ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน ให้ความเคารพบูชากราบไหว้ เทพเจ้าของชาวจีน เพราะมีความเชื่อว่าเทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย จะบันดาลความสุขความทุกข์ให้เกิดแก่ใครนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเมตตาของท่าน หากใครมีเกณฑ์ชะตาที่ดีอยู่แล้วจะได้ดียิ่งขึ้น หากใครมีดวงชะตาที่ไม่ดีทำอะไร ก็มีปัญหาติดขัด ก็อธิฐานขอพรจากท่านให้ช่วยปัดเป่าทุกข์ภัยให้ ดังนั้นในแต่ละปี จึงมีผู้คนไปกราบไหว้บูชาขอพร ให้อยู่เย็นเป็นสุขมีดวงชะตาที่ดีตลอดทั้งปี ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน จึงมีประเพณีในการไหว้ฝากดวงเพื่อสะเดาะเคราะห์ ต่อเทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย เทพเจ้าของชาวจีน เป็น ที่รู้จักและนิยมมากราบไหว้บูชาขอพรมีด้วยกันหลายองค์ เช่น เจ้าแม่กวมอิม ,ไฉ่ซิ่งเอี๊ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ,ไท้ส่วยเอี๊ย เทพจ้าคุ้มครองดวงชะตา,ฮก หมายถึง บุญวาสนา อำนาจ เกียรติยศ ,ลก หมายถึง โชคลาภและความมั่งคั่ง บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ , ซิ่ว หมายถึงอายุยืน

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com