วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงปู่ทิม วัดพระขาว

หลวงปู่ทิม วัดพระขาวเกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2456 อุปสมบท เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2491 โดยมี พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.๒๔๙๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.2493 สอบได้นักธรรมชั้นโท พ.ศ.2500 สอบได้นักธรรมชั้นเอก

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2504 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระขาว พ.ศ. 2510 ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลน้ำเต้า และตำบลพระขาว ทั้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ “พระครูสังวรสมณกิจ”

หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา
พ.ศ.2520 หลวงปู่ทิม วัดพระขาวได้รับพระราชทานเลื่อน สมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโทในราชทินนามเดิม และที่นับเป็นเกียรติประวัติอันสำคัญยิ่งสำหรับหลวงปู่ผู้ได้ชื่อว่าเป็นพระ นักพัฒนา คือในพ.ศ.2549 ได้รับการถวายปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ต่อมา พ.ศ.2550 หลวงปู่ทิม วัดพระขาวยังได้รับพระราช ทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาสงเคราะห์ประชาชน และส่งเสริมพัฒนาชุมชน โดยได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตลอดเวลาที่ผ่านมา หลวงปู่ทิม วัดพระขาวได้ รับการยกย่องว่าเป็น “เทพเจ้าแห่งความเมตตา” เป็นพระเถระผู้มีความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง โดยได้ให้ความเมตตาช่วยเหลือสงเคราะห์อนุเคราะห์แก่ญาติโยมชาวบ้านมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม

เหรียญบาตรน้ำมนต์ หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจนิมนต์ต่างๆ เมื่อได้รับแล้วหลวงปู่ทิม วัดพระขาวท่าน จะต้องไปสนองศรัทธาญาติโยมเสมอ ไม่ว่าใกล้หรือไกล ไม่เคยปฏิเสธเลย ขณะเดียวกันก็ไม่เคยละเลยการปฏิบัติศาสนกิจใดๆ ที่พระสงฆ์ทั้งหลายพึงปฏิบัติ แม้หลวงปู่จะสูงด้วยพรรษายุกาลมากแล้วก็ตาม
กิจนิมนต์สำคัญอย่างหนึ่งที่หลวงปู่ทิม วัดพระขาวได้รับโดยตลอด คือ งานพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ จะต้องมีชื่อของหลวงปู่นั่งปรกปลุกเสกเป็นประจำ ชื่อเสียงของหลวงปู่ทิม วัดพระขาวจึงปรากฏขจรขจายอย่างกว้างไกล ด้วยเหตุดังกล่าว วัดพระขาวที่หลวงปู่ทิม ปกครอง ดูแล จึงเป็นวัดที่มีการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองตลอดเวลา เพราะแรงศรัทธาของชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่มีต่อหลวงปู่ ได้ร่วมแรงร่วมศรัทธาทำบุญบำรุงพระพุทธศาสนา บำรุงวัด จนมีเสนาสนะ และถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอุโบสถหลังใหม่อันงดงาม วิหาร หมู่กุฏิสงฆ์ทรงไทยที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหมด เป็นแถวยาวอย่างมีระเบียบสวยงาม หอพระ ศาลา เมรุ มณฑป เขื่อนกั้นน้ำ แพปลา โรงครัว หรือแม้กระทั่งห้องสุขาห้องน้ำที่มีความสะอาด และถูกสุขลักษณะ

นอกจากนี้ยังรวมถึงสาธารณประโยชน์ ที่หลวงปู่ทิม วัดพระขาวได้เมตตาให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนรอบวัด ที่สำคัญ คือ โรงเรียนวัดพระขาว แหล่งการศึกษาของบุตรหลานชาวบ้านในท้องถิ่น หลวงปู่ทิม วัดพระขาวก็ได้ให้ความอุปถัมภ์ทั้งในเรื่องงานก่อสร้างอาคาร และทุนการศึกษามาโดยตลอด

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด

ประวัติหลวงตามหาบัว กำเนิด ในครอบครัวชาวนา ณ บ้านตาด อุดรธานี วันเกิด 12 ส.ค.2456 มีพี่น้องทั้งหมด 16 คน สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง คู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าเกสรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) อ.เมือง จ.อุดรธานี นาม บัว โลหิตดี ชาติภูมิ ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะกิน ณ บ้านตาด อุดรธานี เกิดเมื่อ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน๙ ปีฉลู ณ บ้านตาด อำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี บิดา นายทองดี โลหิตดี มารดา นางแพงศรี โลหิตดี พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน สถานภาพ

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวงคู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะอยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น วันบวช ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
พระอุปัชฌาย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ โดยมีท่านพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายานามว่า “ญาณสมฺปนฺโน” แปลว่า “ถึงพร้อมแล้วด้วยการหยั่งรู้” ในพรรษาแรกท่านได้ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำวัตรเช้า-เย็นรวมและการบิณฑบาต จะไม่ให้มีวันใดขาดเลย และท่านก็ทำได้ตามที่ตั้งคำสัตย์ไว้ เรียนปริยัติ เมื่อได้เรียนหนังสือทางธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ ประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจากสกุลต่างๆตั้งแต่พระราชา เศรษฐี พ่อค้า จนถึงประชาชน

หลังจากฟังพระพุทธโอวาทแล้วต่างก็เข้าบำเพ็ญเพียร ในป่าเขาอย่างจริงจัง ท่านตั้งสัจจะไว้ว่า จะขอเรียนบาลีให้จบแค่เปรียญ ๓ ประโยคเท่านั้น ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชั้นก็ไม่เป็นไร จากนั้นจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว จะไม่ยอมศึกษาและสอบประโยคต่อไปเป็นอันขาด เรียนจบ หลวงตามหาบัวสอบได้ทั้งนักธรรมเอก และเปรียญ ๓ ประโยคในปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานที่แห่งนี้เอง เป็นที่แรกที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม

หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
หลวงพ่อแก้ว พรหมสโร หรือ พระครูวินัยธรรม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2393 ที่ ต.บางแค อ.อัมพวา พออายุ 10 ขวบ บวชเป็นสามเณรที่วัดบางแคใหญ่ ศึกษาอักขรสมัยและภาษาไทยที่วัด และได้ร่ำเรียนกับบิดาผู้เชี่ยวชาญด้านไสยเวทไปด้วย จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบท ศึกษาด้านพระธรรมวินัยกับพระอุปัชฌาย์จนแตกฉาน ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเส็งซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับการถ่ายทอดวิชาด้านพุทธาคมและวิปัสสนากรรมฐานจากพระอาจารย์ อีกทั้งยังเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อวัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี ศึกษาด้านวิทยาอาคมจนมีความชำนาญเชี่ยวชาญอีกด้วย

หลวงพ่อแก้ว เป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ มีคุณวิเศษหยั่งรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า มีวาจาสิทธิ์ และเป็นพระนักพัฒนา สมัยที่เป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ท่านบูรณปฏิสังขรณ์และก่อสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดจนเจริญรุ่งเรือง ท่านยังได้ช่วยสร้างวัดอีกหลายแห่ง เช่น วัดอีโก้ วัดสาธุชนาราม เป็นต้น ท่านจึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของบรรดาพุทธศาสนิกชน แม้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่อย่างพระองค์เจ้าภาณุรังษีก็ทรงเคารพ เลื่อมใส ถึงกับมาสร้างวังอยู่ใกล้ๆ วัดพวงมาลัยและเสด็จมาเยี่ยมท่านเป็นประจำ กิตติศัพท์ทางด้านวิทยาอาคมของท่านเป็นที่เลื่องลือขจรไกล ลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนได้ปรากฏประจักษ์เป็นเนืองนิตย์

หลวงพ่อแก้ว มรณภาพในปี พ.ศ.2464 สิริอายุ 71 พรรษา 51

เหรียญหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วมีมากมาย ทั้ง ตะกรุดใบลาน ผ้ายันต์ และเหรียญต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมอย่างมากในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ และพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธา โดยเฉพาะ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อแก้ว ปี 2459″ ซึ่งสร้างในโอกาสสร้างพระอุโบสถวัดพวงมาลัย มีการจัดสร้างหลายเนื้อ และแบ่งแยกพิมพ์เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์วัดและพิมพ์วังบูรพา นับเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด และ สนนราคาค่อนข้างแพง เนื่องด้วยจำนวนการสร้างน้อยและหาดูหาเช่ายากในปัจจุบัน

เหรียญ รูปเหมือนหลวงพ่อแก้ว พิมพ์วัด” ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อแก้วเต็มองค์ นั่งขัดสมาธิ ล้อมโดยรอบด้วยช่อดอกไม้ เหนือศีรษะเป็นตัว “อุณาโลม” หางยาวจดขอบเหรียญ รอบนอกสุดเป็นอักขระขอมอ่านว่า “พุทยัด ธาปิด ยะอุด นะอุด โมอัด” ล่างสุดเป็นปี พ.ศ.ที่สร้าง “๒๔๕๙” ด้านหลัง บนสุดเป็นตัว “อุณาโลม” ถัดมาตามแนวรอบขอบเหรียญเป็นอักขระขอมอ่านว่า “นะ โม พุท ธา ยะ อุ ทัง อัด โท ปิด คะ นะ” ช่วงกลางลงอักขระขอมว่า “ภู ภี ภุ ภะ” ต่อลงมาเป็นฉายาอ่านว่า “พรหมสโร”

สำหรับ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อแก้ว พิมพ์วังบูรพา” พระองค์เจ้าภาณุรังษี เป็นผู้สร้างถวาย ลักษณะเหรียญจะเป็นแบบเดียวกับพิมพ์วัด ต่างกันที่หูเป็นแบบหูในตัว และศิลปะการแกะแม่พิมพ์เป็นฝีมือช่างคนละคนกัน

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อซำ อินทสุวัณโณ

หลวงพ่อซำ อินทสุวัณโณ
หลวงพ่อซำ อินทสุวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่ ต.ตลาดใหม่ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นพระเกจิผู้เรืองคุณวิทยาคมแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย เจ้าตำราวิชาแพทย์แผนโบราณและเจ้าตำรับเบี้ยแก้อาถรรพณ์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง

ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม 2413 ที่บ้านหลักขอน ต.ห้วยคันแหลน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นบุตรของนายจีนซึง กับนางอินท์ แซ่ลี้ ต่อมาใช้นามสกุลว่า “สีสุวรรณ์” ท่านมีพี่น้อง 3 คน

ช่วงวัยเยาว์ ได้เรียนหนังสือกับพระที่วัดตลาดใหม่ จนอ่านออกเขียนได้ ครั้น เมื่ออายุ 24 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2438 ณ พัทธสีมาวัดตลาดใหม่ อ.วิเศษชัยชาญ มีพระอธิการดี วัดฝาง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการแป้น วัดสิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์จันทร์ วัดท่าสุวรรณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังอุปสมบทก็อยู่จำพรรษาที่ วัดตลาดใหม่ เพียง 2 พรรษา ก่อนเดินทางไปศึกษาบาลีที่วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี และย้ายไปจำพรรษาที่วัดสร้อยทอง เพื่อเรียนหนังสือ พระอาจารย์เปรม ครูใหญ่วัดสร้อยทอง เห็นแววความขยันหมั่นเพียร จึงได้แต่งตั้งให้เป็นครูผู้ช่วยสอน พ.ศ.2443 กลับมาจำพรรษาวัดตลาดใหม่ เนื่องจากเป็นห่วงหลวงพ่อคุ่ย เจ้าอาวาส

ต่อมาหลวงพ่อคุ่ยได้ถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณให้ แต่ท่านศึกษาเล่าเรียนได้เพียง 3 พรรษา หลวงพ่อคุ่ยมรณภาพ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน เมื่อท่านดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาส ได้เริ่มรักษาคนไข้ตามวิชาที่ร่ำเรียนมา ปรากฏว่าการรักษาได้ผลดีมาก เป็นที่เลื่องลือไปในที่ต่างๆ พินิจพิจารณาอย่างรอบคอบสุขุมก่อนจะให้ยารักษา กระทั่งคณะสงฆ์ออกคำ สั่งห้ามมิให้ภิกษุกระทำตนเป็นหมอโบราณ ประกอบกับท่านชราภาพ จึงเลิกรักษาคนไข้ แต่ชาวบ้านก็ยังไปขอยามิได้ขาด หากไม่มีตัวยาท่านก็จดให้ไปหาซื้อหากันเอง นับว่าท่านเมตตา ช่วยเหลือชีวิตชาวบ้านโดยแท้ และในขณะนี้ร้านจำหน่ายยาแผนโบราณก็ปรุงยาตามตำราท่าน นอกเหนือจากการเป็นหมอแผนโบราณ ท่านยังจัดสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ ซึ่งเป็นวัตถุมงคลชิ้นเอกที่แจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหาในโอกาสต่างๆ โดยหลวงพ่อซำ จะสร้างทุกวันอาทิตย์ วันอังคาร และวันเสาร์ หากในสามวันนี้ตรงกับวันพระ ท่านจะหยุดสร้าง และการสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์จะสร้างจำนวนเท่ากับกำลังในแต่ละวัน เช่น วันอาทิตย์ มีกำลังวันคือ 6 ท่านจะสร้างเพียง 6 ตัว วันอังคารมีกำลัง 8 สร้างเพียง 8 ตัว หรือวันเสาร์มีกำลัง 10 สร้างเพียง 10 ตัว และประกอบพิธีให้แล้วเสร็จในคราวเดียว

กรรมวิธีการสร้าง หลวงพ่อซำจะตั้งศาลเพียงตา นำเบี้ยแก้คือ หอยพูใส่พานวางไว้พร้อมกับปรอทและชันโรง บวงสรวงอัญเชิญบรมครู เทพเทวาฟ้าดิน เพื่อขออนุญาตประกอบพิธีและให้มาสถิตประสิทธิ์ประสาทวิชา จากนั้นจะบริกรรมคาถาเรียกแร่แปรธาตุ เทปรอทลงในตัวเบี้ย อุดปิดปากเบี้ยด้วยชันโรง บริกรรมคาถานิมิตกำกับ นำแผ่นฟอยล์อะลูมิ เนียมปิดทับชันโรงอีกชั้นหนึ่ง นั่งสมาธิอธิษฐานจิตปลุกเสก ขณะเดียวกัน ยังสร้างผ้ายันต์กันภัยอีกด้วย

ปัจจุบัน เบี้ยแก้อาถรรพณ์หลวงพ่อซำ นับวันยิ่งหาดูหรือหาบูชาได้ยาก เนื่องด้วยเหตุผลนานาประการ ถูกจับยัดเป็นของหลวงพ่อพักตร์ วัดโบสถ์ก็มาก เพราะอายุการสร้างใกล้เคียงและพลิกแปลงการสร้างเช่นกัน จึงต้องดูขนาดเบี้ยและชันโรงเป็นหลัก

เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านเป็นเกจิอาจารย์ดังของเมืองอ่างทอง ที่ไม่เป็นสองรองใครในเรื่องเวทวิทยาคม โดยกล่าวขวัญกันว่าท่านเป็นสำเร็จฌานสมาบัติสูง สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ดุจตาเห็น จนเป็นที่โจษ จันกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังมีความเมตตาปรานีสูงยิ่ง ใครจะไปจะมาท่านก็ต้อน รับอย่างเท่าเทียมกัน แม้แต่สัตว์ต่างๆ ท่านก็ยังให้ความเมตตา ศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชา คือ หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ, หลวงพ่อทองใบ วัดอบทม, หลวงพ่อมี วัดม่วงคัน และพระสมุห์ปรเมษฐ เจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่ หลวงพ่อซำ เริ่มมีอาการอาพาธด้วยโรคชราตั้งแต่อายุ 93 ปี แต่ท่านฉันยาเก่ง เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคอะไรจะรีบฉันยาโดยไม่ปล่อยให้โรคกำเริบ

กระทั่งถึงวันที่ 15 มกราคม 2509 ท่านได้มรณภาพด้วยกิริยาสงบ สิริอายุ 94 พรรษา 71 ดำรงเจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่ยาวนานถึง 63 ปี นับว่าเป็นพระเถระที่มีอายุยืนยาวรูปหนึ่งของเมืองอ่างทอง

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อชาญ อิณมุตโต วัดบางบ่อ

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อชาญ อิณมุตโต วัดบางบ่อ จ.สมุทรปราการ

หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ
'พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ' หรือที่ชาวบ้านมักเรียกขานว่า 'หลวงพ่อชาญ อิณมุตโต' สิริอายุ 98 ปี พรรษา 78 เจ้าอาวาสแห่งวัดบางบ่อ จ.สมุทรปราการ และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางบ่อ

ชื่อเสียงของหลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อเป็นที่รับรู้ถึงความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคล ที่พลิกผันสถานการณ์อันเลวร้าย ให้กลับกลายเป็นดี

ท่านมีนามเดิมว่า ชาญ รอดทอง เกิด เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2457 ที่ ต.เกาะไร อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

พิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2476 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 มี พระอธิการบุญเหลือ โสภโณ วัดเทพราช อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท ได้อยู่จำพรรษาที่วัดคลองสวน ต่อมาย้ายมาอยู่ที่วัดนิยมยาตรา จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ 32 ปี ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่อำเภอบ้านโพธิ์ มีโอกาสศึกษาวิชากัมมัฏฐานจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคอินโดจีน 2 ท่าน คือ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก และหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี

ข่าวพระเครื่องหลวงพ่อชาญ มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่กล่าวขวัญในหมู่ศิษย์ ถึงความขลังความศักดิ์สิทธิ์ และจริยวัตรของหลวงพ่อ ทำให้ได้รับกิจนิมนต์ไปนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลในพื้นที่ภาคตะวันออกและพิธี พุทธาภิเษก พระเครื่องสำคัญทั่วประเทศ

การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อชาญ ไม่ได้จัดสร้างบ่อยนัก นานครั้งในวาระพิเศษ จึงจะมีการจัดสร้างสักครั้งหนึ่ง อาทิ พระเหรียญและพระผง 80 ปี เหรียญนั่งเสือ เป็นต้น

เหรียญรุ่นแรก ล.พ.ชาญ วัดบางบ่อ ปี 2513
ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากบรรดานักสะสมนิยมพระเครื่องทั้งสิ้น โดยเฉพาะ 'เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ ปี พ.ศ.2513'

ลักษณะเป็นเหรียญกลมเล็ก มีหู จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงรมดำ พระรุ่นนี้เท่าที่พบมีสองเนื้อ คือ เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อชาญครึ่งองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า "พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ วัดบางบ่อ" จุดสังเกตรูปเหมือนหลวงพ่อชาญตรงหน้าผากจะมีลักษณะนูน

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปยันต์ประจำตัวหลวงพ่อชาญ ใต้ยันต์มีข้อความ "จ.สมุทรปราการ"

ด้วยเจตนาการจัดสร้างพระเครื่องที่บริสุทธิ์ และมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังเข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ทำให้เหรียญรุ่นนี้ มีพุทธคุณโดดเด่นรอบ ด้าน ผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ครอบครองต่างมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงปู่เขียว วัดหรงบล

หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
หลวงปู่เขียว วัดหรงบล อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
หลวงปู่เขียว ถือกำเนิดขึ้นในตะกูลชาวนา เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้นแรมไม่ปรากฏ เดือนยี่ ปีมะเมีย พ.ศ.2424 บิดาชื่อนาย ปลอด มารดาชื่อแป้น มีพี่น้อง 4คน ชาย2หญิง2 หลวงปู่เขียวเป็นพี่ชายคนโต น้องชายชื่อนายพลับ น้องสาวชื่อนางเอียด และนางปาน น้องชายและน้องสาวเสียชีวิตก่อนท่าน

อุปสมบท
"หลวงปู่เขียว"ท่านตัดสินใจสละเพศฆราวาส เข้าสู่วัดเมื่ออายุได้ 22ปี อุปสมบท ณ วัดคงคาวดี (วัดกลาง) ปีเถาะ พ.ศ.2446 พระครูสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูบริหารสังฆกิจ (เต็ง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระเกื้อเป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายาว่า "อินทมุนี"ได้ปรนนิบัติรับใช้ รับฟังโอวาทจากพระอุปัชฌายะชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้น หลวงปู่เขียว ก็กราบลาพระอุปัชฌายะ ไปศึกษาเล่าเรียนต่อกับพระอาจารย์เอียด วัดบน พระอาจารย์เอียดเก่งทั้งทางโลก และทางธรรม อบรมนิสัยให้เหมาะแก่สมณเพศ จนท่านตั้งใจว่า ขอถือบวชอยู่ในพุทธศาสนาตลอดไป หาทางพ้นทุกข์ตัดอาสวะกิเลสให้สิ้น หลวงปู่เขียวท่านตัดสินใจเดินธุดงค์เป็นวัตร คือ ถือผ้านุ่งห่มบังสกุล 3ชิ้น มีผ้าสบง อังสะ จีวร บิณฑบาตร และฉันอาหารมื้อเดียว(เอกา)เป็นวัตร จึงกราบลาอาจารย์เดินธุดงค์สู่ป่าเขาลำเนาไพร หลวงปู่เขียวเดินธุดงค์ติดต่อกันหลายปี ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรังสุราษฎร์ธานี ชุมพร สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต พังงา และจังหวัดอื่นๆอีกหลายแห่ง

เหรียญหลวงปู่เขียว วัดหรงบล
วัตถุมงคล
ในปี พ.ศ.2467 หลวงปู่เขียวอายุได้ 53 ปีพอดี ท่านพระครูพิบูลย์ศีลาจารย์(เกลื่อม)เจ้าคณะ ต.บางตะพง อ.ปากพนัง ปกครองวัดกลาง(คงคาวดี)ศรัทธาต่อหลวงปู่เขียว ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเอง ต้องการได้ของดีของอาจารย์เป็นที่ระลึก จึงหาผ้าขาวมา หาขมิ้นผงมาผสมน้ำทาใต้เท้า ใต้มือท่านแล้ว นิมนต์ท่านอฐิษญานจิตกดเป็นผ้ายันต์แต่ไม่ค่อยชัดนัก ต่อมามีผู้ต้องการมากขึ้น จึงคิดหาหมึกจีนเป็นแท่งมาฝนกับฝาละมีทาเท้าบ้าง ทามือบ้าง ให้หลวงปู่อธิษฐานจิตกดลงบนผ้าขาวเป็นผ้ายันต์ ปรากฏว่าชัดเจนสวยงามดี นับว่าผ้ายันต์รอยมือรอยเท้าหลวงปู่เขียวปรากฏแพร่หลายขึ้นเป็นครั้งแรกในภาคใต้ เมื่อมีผู้ศรัทธามาขึ้นจึงแพร่หลายบอกต่อกันไป มีประชาชนมาขอลูกอมท่านบ้าง หลวงปู่เขียวท่านเคี้ยวชานหมากเสร็จคลึงเป็นลูกอมแล้วมอบให้ บางคนท่านก็เอากระดาษฟางมาลงอักขระเป็นตัวหนังสือขอม หัวใจพระเจ้า 5พระองค์ นะโมพุทธายะ เสร็จแล้วเอาเทียนสีผึ้งห่อหุ้มปั้นเป็นลูกอม หลวงปู่เขียวเป็นพระใจดี พูดน้อยใครขออะไรท่านก็จะทำให้ตามความต้องการแต่ละคน

วัตถุมงคลที่หลวงปู่เขียว ท่านสร้างมีหลายอย่าง เช่น ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า เชือกคาด ลูกอมเทียน ชานหมาก พระปิดตา เหรียญ และรูปหล่อลอยองค์ พระเครื่องหลวงปู่เขียว เป็นที่ต้องการกันมาก

พุทธคุณวัตถุมงคล
วัตถุมงคล และพระเครื่องของหลวงปู่เขียว ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ด้านปกป้องคุ้มครองสูงมาก เช่นผ้ายันต์รอยมือรอยเท้าผู้ที่โดนโจรปล้นวัวเกิดต่อสู้กัน เจ้าของวัวพกผ้ายันต์ท่าน กระสุนก็ไม่อาจทำอะไรคนที่พกผ้ายันต์ท่านได้ ซึ่งพุทธคุณพระเครื่องที่ท่านปลุกเสกนั้น โด่งดังไปไกลทั่วประเทศเป็นที่เล่าขานสืบต่อมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าด้านคงกระพัน มหาอุด หรือเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ถือว่า หลวงปู่เขียว วัดหรงบล เป็นสุดยอดเกจิอันดับต้นๆของภาคใต้

มรณภาพ
"หลวงปู่เขียว" ท่านมรณภาพ ในปี พ.ศ.2519 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 1ค่ำ เดือน 7 ด้วยโรคชราตามสังขารอายุ รวมได้ 95ปี 74 พรรษา

ความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงปู่เขียว วัดหรงบล อีกอย่างหนึ่งที่เกือบทุกคนรู้กันดีทั่วบ้านทั่วเมือง ก็คือหลังจากหลวงปู่เขียวท่านมรณภาพแล้ว ทางวัดได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ไว้ระยะหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่า สรีระร่างกายของหลวงปู่เขียวท่านไม่เน่าเปื่อย และไม่มีกลิ่นเหม็นแต่อย่างใด และเมื่อถึงวันครบกำหนดประชุมเพลิง สรีระของท่านเผาไฟไม่ไหม้ แม้แต่ จีวร ที่ห่อหุ้ม สร้างความมหัศจรรย์เป็นยิ่งนัก ปัจจุบัน สรีระร่างอันอมตะของ หลวงปู่เขียว ก็ยังประดิษฐานอยู่ในหีบแก้วที่วัดหรงบน ทุกวันนี้จะมีผู้คนไปกราบไหว้สักการบูชาอยู่เป็นประจำ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สุดยอดเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อโลหะ

พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท
1. พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท
เป็นพระปิดตาเนื้อแร่หลวงครับ พระปิดตาวัดท้ายย่านถือได้ว่าเป็นพระปิดตาที่มีอายุการสร้างยาวนานและเก่าแก่ที่สุดครับ โดยพบที่ อ. สรรค์บุรี จ.ชัยนาทในสมัยนั้นจังหวัดชัยนาทเป็นเมืองหน้าด่านในการรบทัพจับศึก คราวสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีภายหลังได้มีการเปิดกรุที่ สรรค์บุรีพบพระลีลาเมืองสรรค์พระสรรค์นั่งไหล่ยกและพระปิดตาวัดท้ายย่านอยู่ในกรุเดียวกันครับ สันนิฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยเดียวกันครับ คนยุคเก่าขานว่าพระปิดตาท้ายย่านเด่นในทางคงกระพัน และแคว้นคลาด พร้อมด้วย มหานิยมและถือว่าเป็นหนึ่งของพระปิดตาในชุดเบญจภาคี พระปิดตาเนื้อโลหะครับ

พระปิดตา ล.ป นาค วัดห้วยจระเข้
2. พระปิดตา ล.ป นาค วัดห้วยจระเข้ หรือพระปิดตา อุตตราการบดีนาค จ.นครปฐม
เป็นเนื้อเมฆ พัตรครับเป็นพระเกจิอาจารย์ ซึ่งประจำทิศขององค์พระปฐมเจดีย์ ที่มีวิชาอาคมแก่กล้าในด้านเมตตามหานิยม และขมังเวทย์ มีตำนานบอกกล่าวเล่าขานว่า ล.ป นาคท่านได้ดำน้ำไปลงเหล็กจารพระแต่ละองค์ที่หน้าวัดของท่านครับด้วยวิชาระเบิดน้ำซึ่งในสมัยนั้น หน้าวัดของท่านมีจระเข้ ชุกชุมมาก แต่ด้วยอำนาจและ บารมีของท่านสะกดให้เหล่ากุมภีล์อยู่ในอำนาจของท่านได้ครับจนมีการขนานนามว่า พระปิดตา อุตตราการบดีนาค วัดห้วยจระเข้ ถือว่าเป็นหนึ่งในชุดเบญจพระปิดตา เนื้อโลหะที่เข้มขลังและหายากแบบสุดๆเลยละครับ


พระปิดตา แร่บางไผ่ ล.ป จัน วัดโมฬี
3. พระปิดตา แร่บางไผ่ ล.ป จัน วัดโมฬี
สร้างโดย ล.ป จันทน์ซึ่งท่านเป็นพระชาวเขมรครับท่านได้ธุดงค์มาอยู่ที่วัดโมฬี แขวงเมืองนนทบุรีครับในสมัยประมาณ 100 กว่าปี แล้วครับ ในช่วงรัชสมัย พระจุลจอมเกล้าฯ ร.5 ครับ นับว่าเป็นพระที่มีอาคมขลังมาก ท่านชอบเล่นแร่แปลธาตุ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในชุดเบญจฯ พระปิดตาโดยแท้จริงครับ พุทธคุณดีทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน

พระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดทอง
4. พระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดทอง ธนบุรี
ถือว่าเป็นคณาจารย์ที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัวของท่านเอง ยากที่จะมีคณาจารย์องค์ใดเทียบเท่า เพราะงานสร้างหุ่นเทียนรูปพระปิดตานี้ ได้ลงอักขระเลขยันต์ อย่างวิจิตรพิศดารมากครับ ล.ป ทับ วัดทอง มีความสัมพันธ์กับ ล.ป เอี่ยม วัดหนัง ล.ป จันทน์ วัดโมฬี ล.ป นาค วัดห้วยจระเข้ซึ่งได้แลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระในการสร้างพระซึ่งกันและกันด้วยครับ นับว่าเป็นสุดยอดแห่งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างพระครับพุทธคุณพระของ ล.ป ทับ วัดทอง เด่นทั้งด้านมหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยมครบเครื่อง ทุกด้านเลย

พระปิดตา ล.ป เอี่ยม วัดหนัง
5. พระปิดตา ล.ป เอี่ยม วัดหนัง กทม
เป็นพระปิดตา ยับยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์ ครับ ล.ป เอี่ยมวัด หนัง ธนบุรีท่านถือได้ว่าเป็นอาจารย์องค์หนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจาหลวง ร.5 ทรงให้ความเคารพนับถือมากอย่างยิ่งครับ ท่านเป็นพระคณาจารย์ซึ่งแฝงไว้ด้วย เวทย์มนต์และอาคมจนกลายเป็นที่กล่าวขาน เลื่องลือมานานนับเป็นร้อยๆปีครับ การสร้างพระเครื่องของท่านและการสร้างเครื่องรางของท่านตลอดจนกระทั่งเหรียญ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเกจิอาจารย์ที่ได้สร้าง ทั้งพระและเครื่องรางพุทธคุณ ครอบจักรวาลเลยแหละครับนับว่าเป็นสุดยอดเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อโลหะเลยจริงครับและเป็นที่น่าพิศวงเกินคำบรรยายของพุทธคุณต่างๆ อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ เหนือธรรมชาติที่คนยุคเก่าเล่าขานกันมานานนับร้อยปีถึงคุณวิเศษต่างๆจึงก่อให้เกิดเป็นพระปิดตาอันเข้มขลัง ที่ลูกหลานควรรับรู้และสืบสานรักษาไว้สืบต่อไปครับ

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก

หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อจง พุทธัสสโร เป็นครูบาอาจารย์รุ่นเก่าที่ได้ล่วงลับดับสังขารไปแล้ว ตามวิสัยแห่งชีวิตมวลสัตว์โลกทั้งหลายที่มีเกิดแล้วต้องมีแก่ เจ็บ และตายไปในท้ายที่สุด

หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
แต่ทว่าในช่วงชีวตของพระคุณท่าน ได้สร้างสมความดีทั้งโดยฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมไว้เป็นอเนกอนันต์ เป็นที่เล่าขานบอกกล่าวกันมาอย่างไม่รู้จักจบสิ้น แม้ว่าท่านจะล่วงลับดับขันธ์ไปนานนับเป็นสิบ ๆ ปี ก็ตาม

ชีวิตความเป็นมาของหลวงพ่อจง พุทธัสสโร นี้ก็เช่นกัน นับเป็นเนติแบบอย่างแก่ผู้ใฝ่ดีทั้งหลายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้อยู่ในเพศบรรพชิตด้วยแล้ว หากได้อ่านได้ศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ย่อมจะรู้ได้ว่า ผู้เป็นพระนั้นควรจะเป็นอยู่อย่างไร

ข้อมูลประวัติ
เกิดปี พ.ศ.2415 เป็นบุตรของพ่อยอด แม่ขลิบ พื้นเพเป็นคน ต.หน้าไม้ อ.บางไทร อยุธยาฯ
อุปสมบทเมื่ออายุ 21 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2435 ณ วัดบางปลาหมอ
มรณภาพวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508
รวมสิริอายุ 92 ปี 71 พรรษา

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกเอาไว้มีมากมายหลายรุ่น โดยเหรียญรุ่นแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ.2484 ที่ระลึกในการสร้างหอสวดมนต์ มีเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และทองแดงรมดำ แต่เหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ เหรียญเสมา ปี พ.ศ. 2485 ทั้งประเภทพิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็ก มีทั้งเนื้อเงินลงยา เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง นอกจากเหรียญรุ่นต่าง ๆ แล้ว ยังมีรูปหล่อ ตะกรุด ผ้ายันต์ และเครื่องรางของขลังอีกหลายชนิด

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
วัตถุมงคลท่านเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง

เหรียญหลวงพ่อไปล่ พิมพ์จอบเล็ก ปี2478
หลวงพ่อไปล่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่หมู่ 6 ต.บางบอนใต้ อ.บางขุนเทียน กทม. ท่านเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2403 โยมบิดาชื่อเหลือ โยมมารดาชื่อทอง บิดามารดาของท่านคหบดีพอท่านอายุได้ 8 ขวบ ได้ไปศึกษาหนังสือไทยและขอมกับพระอาจารย์ทัต วัดสิงห์ พออ่านออกเขียนได้ท่านก็ลาจากวัดมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนใจคอกล้าหาญอดทน จิตใจกว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านบางบอนใต้เป็นแดนนักเลงหัวไม้ เวลามีงานวัดมักจะมีการนัดตีกันเป็นประจำ สำหรับหลวงพ่อไปล่สมัยนั้น พรรคพวกยกย่องให้เป็นลูกพี่ เหตุนี้บิดามารดาวิตกเกรงว่า ข้างหน้าอาจจะเสียคน

พอท่านอายุได้ 23 ปี บิดามารดาจึงขอร้องให้บวชพระให้ซักพรรษา ก็เป็นอันหมดห่วงท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดกำแพง โดยมีพระอุปัชฌาย์ทัต วัดสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พ่วงวัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฉนฺทสโร" เมื่อท่านบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดกำแพง ทำอุปัชฌายวัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะ และศึกษาพระธรรมวินัย พอครบพรรษาแล้วท่านก็ยังไม่ยอมสึก พอพรรษาที่สองท่านก็สวดพระปาฏิโมกข์ได้ชัดเจน และท่านก็ได้เรียนกรรมฐานวิปัสสนาธุระด้วยพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดของท่าน ได้รับถ่ายทอดวิชาต่างๆ จนหมดสิ้น นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนกับพระอาจารย์คง เป็นพระอาจารย์ที่ธุดงค์รุกขมูล มีวิชากล้าแกร่ง และเรียนวิชาเมตตามหานิยมกับพระอาจารย์พ่วง วัดกก ที่โด่งดังมากในสมัยนั้น เรียนกับพระอาจารย์ดิษฐ์ ที่ท่านโด่งดังมากในด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เรียกว่าเหนี่ยวยันง่ามนิ้ว ขนาดเอามีดโกนปาดง่ามนิ้วยังไม่เข้าเลย

เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง รุ่นแรกเนื้อทองผสม 

เมื่อวัดกำแพงว่างเจ้าอาวาสคณะสงฆ์และชาวบ้านก็ได้อาราธนาหลวงพ่อไปล่ให้ เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ในปี พ.ศ.2478 คณะศิษย์ร่วมกันบำเพ็ญกุศลฉลองอายุให้ท่าน ในงานนี้ได้ออกเหรียญรูปท่านนั่งเต็มองค์เป็นเหรียญหล่อรูปคล้ายจอบ นอกจากนี้ยังมีเหรียญหล่อที่เป็นแบบรูปไข่มีทั้งเนื้อทองเหลืองและเนื้อสัมฤทธิ์ นอกจากรุ่นนี้แล้ว ท่านก็ยังสร้างเหรียญอีกรุ่นเป็นรูปพระพุทธ ออกในงานล้างป่าช้าวัดกำแพง เหรียญรุ่นนี้ก็หายากเช่นกันครับ หลวงพ่อไปล่ท่านมรณภาพลงในปีพ.ศ.2482 สิริอายุได้ 79 ปี พรรษาที่ 57

หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ท่านได้สร้างเหรียญหล่อโบราณ สามารถแบ่งออกได้ ๔ แบบด้วยกัน คือ
๑.เหรียญหล่อ พิมพ์จอบใหญ่
๒.เหรียญ พิมพ์รูปไข่
๓.เหรียญหล่อ พิมพ์ทรงเสมา
๔.เหรียญหล่อ พิมพ์พระพุทธ ทรงห้าเหลี่ยม

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

การจัดโต๊ะหมู่บูชา ควรให้ตั้งอยู่ในมุมที่เหมาะสม และอยู่ในที่สูงพอสมควร การเรียงลำดับ พระให้ถือหลักดังนี้ คือ พระบรมสารีริกธาตุ หรือพระพุทธรูป ให้ตั้งไว้สูงสุด รองลงมาก็เป็นรูปของพระอริยสงฆ์ ลดหลั่นกันลงมา ตามลำดับอาวุโส ถ้าเป็นรูปบูชาอย่างอื่น เช่น เจ้าแม่กวนอิม หรือ พระรูป ร. 5 ควรแยกหิ้งบูชาไว้ต่างหากแต่จะต้องไม่สูงกว่าพระพุทธรูป

ทิศทางของการตั้งโต๊ะหมู่บูชา ตามตำราโบราณ ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้

การจัดโต๊ะหมู่บูชา 
1. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศอีสาน ซึ่งเป็นทิศเศรษฐี จะประกอบการงานทำนาค้าขายใดๆ ก็จะเจริญรำรวยยิ่งๆ เป็นที่หหนึ่ง

2. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศบูรพา ซึ่งเป็นทิศราชา จะประกอบการงานใดๆ ก็จะเจริญใหญ่โต สมความตั้งใจทุกประการ

3. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศอาคเณย์ ซึ่งเป็นทิศปฐม ท่านว่าไม่สู้ดี ทำอะไรไม่ค่อยเจริญลาภผลตกต่ำพอมีพอใช้

4. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศทักษิณ ซึ่งเป็นทิศจัณฑาล ประกอบการงานอันใด แสนยากลำบาก ผลประโยชน์ลงทุนไปไม่ค่อยคุ้มค่า

5. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศหรดี ซึ่งเป็นทิศวิปะฏิสาร จะประกอบการงานอันใด มีแต่ความเดือดร้อนยุ่งยากมาสู่คครอบครัว ตลอดเพื่อบ้านเรือนเคียง

6. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศประจิม เป็นทิศกาฬกิณี จะทำงานสิ่งใดก็เกิดลังงเลใจ ไม่เป็นมงคล ระวังภัยจะเกิดกับตนร้ายแรงถึงอัตตะวินิบาตกรรม ด้วยประการต่างๆ ไม่ดีเลย

7. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศพายัพ ซึ่งเป็นทิศอุทธัจจะ จะทำงานสิ่งใด ผลงานก็ไม่แน่นอนจับจดรวนเรไม่ได้ผล

8. ถ้าตั้งพระพักตร์หันไปสู่ ทิศอุดร ซึ่งเป็นทิศมัชฌิมาปะฏิปทา จะทำงานใดๆ ของผลงานจะอยู่ในเกณฑ์พอปานกลางไม่ดีไม่ชั่ว

สำหรับผู้ที่มีที่อันจำกัด ไม่สามารถจัดที่บูชาพระได้ตามตำรา ท่านก็ไม่ต้องกังวลใจขอแต่เพียงให้จัดที่บูชาพระ ในจุดที่เหมาะสม และอยู่ในระดับสูงพอสมควรเท่านั้น

เครื่องบูชา แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
1. อามิสบูชา ได้แก่การบูชาด้วยอามิส มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น

2. ปฏิบัติบูชา ได้แก่ การบูชาด้วยการเจริญสมาธิวิปัสสนา
ในบรรดาการบูชาทั้ง ๒ แบบนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า การปฏิบัติบูชา ถือว่าเป็นเยี่ยม

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การดูพระ หรือการส่องพระ

การดูพระนั้นมีหลักการและหลักเกณฑ์มีองค์ประกอบสำคัญยิ่งมากมายหลายประการ ที่เราควรจะยึดเป็นหลักปฏิบัติได้ คือ

การส่องพระเครื่อง
1. ต้องดูที่รูปทรงองค์ประกอบในองค์พระ ว่ามีศิลปอะไร, ยุคใด, สมัยใด, กรุไหน, ดูเนื้อหาสาระเรียกและรู้ชื่อของพระว่าชื่ออะไร? มีความนิยมหรือไม่ เป็นพระแท้หรือเปล่า? ต้องดูพระที่มีแสงสว่างพอควร

2. ต้องดูที่มีความเก่าทางธรรมชาติหรือไม่ และต้องดูของใหม่ที่ใช้สารเคมีเพื่อให้เป็นของเก่าได้ด้วยยิ่งดี ถ้าใครไม่เรียนรู้เรื่องนี้ก็นับว่าอันตรายอยู่เหมือนกัน

3. พระปั๊มในปัจจุบันมีเกร่อในท้องตลาด โดยนำเศษชินหรือพระที่มีเนื้อตะกั่วสนิมแดงมาปั๊ม เช่น พระแก้บน นำมาปั๊มตบตาผู้เช่าระวังไว้

4. อย่าเกิดความอยาก (ความโลภ) ให้มากเกินเหตุเกินผลเพราะพระเครื่องมีหลายร้อย หลายพันชนิดนับไม่ถ้วน จงเลือกสรรเฉพาะพระที่ชอบ และพระที่มีชื่อเสียงที่เป็นของแท้รู้ที่มา

5. เรื่องของการเรียนรู้เรื่องพระนี้ เป็นการเรียนรู้ยากสอนยาก นอกเสียจากว่า ผู้เรียนมีความตั้งใจจริงหรือไม่ มีความเชื่อถือจากผู้สอนหรือเปล่า

6. การดูพระที่เฉียบขาด ต้องดูที่ตำหนิหรือจุดสังเกตในองค์พระเป็น ไม่ว่า พระพิมพ์ พระปั๊ม พระหล่อ ผิวพื้นในองค์พระต้องมีตำหนิทั้งสิ้น จะมีมากมีน้อยเท่านั้น สำหรับพระปลอมจะมีเส้นตำหนิแผ่วบางกว่าของจริง เหตุที่บางหรือเลือนลางเพราะเขาถอดพิมพ์จากของจริงมา

7. เส้นตำหนิ ในพระแต่ละองค์มีลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร มีขนาดไหน เป็นเส้นน้ำตก, เส้นขนแมว, เส้นใยบัว, หรือเส้นรากไม้, ไข่ปลา อย่างไร จงจำให้แม่นยำ เพราะถือเป็นเส้นครู

8. พระแต่ละเมืองทั่วประเทศไทย มีส่วนผสมของเนื้อพระไม่เหมือนกัน เพียงแต่คล้ายคลึงกัน แม้แต่พระเกจิอาจารย์องค์เดียวกันสร้างพระแต่ละครั้ง แต่ละรุ่น ก็ไม่สามารถเหมือนกัน (เนื้อ) ถึงแม้ว่าจะใช้สูตรเดียวกัน แต่ผิดกันที่ระยะเวลา

9. พระเก่าที่มีอายุมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อประเภทใดก็ตามจะมีลักษณะประจำตัวอยู่อย่างหนึ่งซึ่งสัมผัสได้ด้วยสายตาคือจะมีลักษณะแห้งผาก คนที่ดูพระไม่เป็นจะดูไม่ออกเลย

10. เราศึกษาเรื่องพระอะไร เราต้องเอาพระแท้มาเป็นแม่แบบหรือนำมาเป็นตัวอย่างดูไปทีละขั้นตอน หรือไล่ไปทีละอย่าง ๆ เป็นการอ่านไปทีละขั้นว่า ในองค์พระนั้น ๆ มีมวลสารอะไรบ้างเป็นส่วนผสม พยายามหาของจริงมาเปรียบเทียบ และหาครูอาจารย์ที่มีความจริงใจเป็นที่ปรึกษา ต้องลดทิฐิมานะยอมเป็นผู้มีอาจารย์ เมื่อรู้แล้วอย่าทรนงตน อย่าเห่อเหิมทะเยอะทะยานให้คนอื่นหมั่นไส้

การศึกษาเรื่องพระเครื่อง แตกต่างกับเรื่องของพระสงฆ์มากมายหนักหนา พระสงฆ์ในปัจจุบันมีเรื่องราวต่าง ๆ นานามากมาย เช่น กินเหล้ากินยา ทอดแหหาปลา ปล้ำสาวในบาร์ แต่งกายเลียนแบบทหาร อะไรต่อมิอะไรมากโข ทำให้พระศาสนามัวหมอง แต่ยังมีพระสงฆ์จำนวนมากเป็นสงฆ์ที่ดีเป็นศรีสง่าของพระศาสนาเป็นอันมาก เราอย่าเอาเรื่องพระสงฆ์ประเภทนั้นกับพระเครื่องมาปะปนกันจะทำให้เราหมดศรัทธา เรามาตั้งใจศึกษาค้นคว้าเรื่องของพระเครื่องกันดีกว่า แน่นอนกว่า สบายใจกว่า ไม่รกสมอง

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
สุดยอดของพระปิดตา ที่นักสะสมพระเครื่องทุกคนใฝ่หา คือ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เมืองชลบุรีที่สำคัญคือ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เป็นพระปิดตาที่คนมีบุญเท่านั้นที่จะเป็นเจ้าของได้

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี ถือว่าเป็นพระปิดตาเนื้อผงยอดนิยมอันดับหนึ่งของจังหวัดชลบุรีหรือจะว่าเป็น พระปิดตาเนื้อผงยอดนิยมสูงสุดของประเทศก็ว่าได้

ประวัติส่วนตัวของหลวงพ่อแก้ว มีความมืดมนหรือมีความเป็นตำนานเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อประมวลเรื่องที่พอเชื่อถือได้แล้วพอสรุปได้ว่าท่านเกิดที่จังหวัด เพชรบุรี ประมาณ พ.ศ. 2346 – พ.ศ. 2351 ในปลายสมัยรัชกาลที่ 1 มรณภาพประมาณ พ.ศ. 2426 – พ.ศ. 2431 ในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติการสร้างพระปิดตา หลวงพ่อแก้ว
หลวงพ่อแก้วเป็นคนจังหวัดเพชรบุรี มีผู้ยืนยันว่าท่านมีความสนิทชิดชอบกับหลวงพ่อมี วัดพระทรง จังหวัดเพชรบุรี แต่มีอายุมากกว่าหลายปี ท่านธุดงค์ไปอยู่วัดเครือวัลย์ แขวงบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี แต่ท่านคงไปๆ มาๆ ระหว่างจังหวัดชลบุรี กับ จังหวัดเพชรบุรี มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั้งสองแห่ง

การสร้างพระปิดตาของหลวงพ่อแก้วคงอยู่ในราว พ.ศ. 2400 ถึง 2430 คือหลังการสร้างพระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตารามไม่กี่สิบปีมีทั้งพิมพ์มาตรฐาน (พิมพ์หลังแบบ) และพิมพ์ลอยองค์ซึ่งเรียกกันว่า “รุ่นแลกซุง” กล่าวกันว่าท่านมอบพระปิดตาให้แก่ผู้นำซุงมาให้ซึ่งอาจจะเป็นลูกศิษย์แถบ จังหวัดชลบุรี หรือชาวบ้านจากจังหวัดเพชรบุรีก็ได้ เพราะมีผู้เคารพนับถือท่านทั้งสองจังหวัด
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี
พิมพ์ทรง
1. พิมพ์มาตรฐาน (เนื้อผงคลุกรัก)

1.1 พระปิดตา หลังแบบ พิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก

1.2 พระปิดตา หลังยันต์ พิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก

1.3 พระปิดตา หลังเรียบ พิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก

เนื้อ เนื้อผงคลุกรัก สีน้ำตาล ละเอียดแบบกะลา บางองค์ลงรักปิดทอง เนื้อผงเป็นผงพระพุทธคุณได้จากการเขียนอักขระผสมว่าน เกสรดอกไม้ ไม้ไก่กุก และวัสดุอาถรรพ์อื่นๆ

2. พิมพ์เนื้อตะกั่ว เป็นพระปิดตา นั่งขัดสมาธิราบ (คล้ายพิมพ์มาตรฐาน) ด้านหลังอูมเล็กน้อย บางองค์มีลงเหล็กจารเนื้อ ชินตะกั่ว

3. พิมพ์ปั้น เป็นรูปพระปิดตาลอยองค์ เนื้อผง เช่นเดียวกับพิมพ์มาตรฐาน เกิดจากการปั้นทีละองค์ รูปร่างจึงแตกต่างกันไป เนื้อ มีทั้งเนื้อน้ำตาล และเนื้อสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เนื้อละเอียด

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เป็นพระบิดาตารุ่นโบราณ เป็นต้นแบบของพระเนื้อผงของจังหวัดชลบุรีอื่นๆ เช่น พระปิดตา หลวงพ่อภู่ วัดนอก พระปิดตาหลวงปู่เจียม วัดกำแพง พระปิดตาหลวงพ่อโต วัดเนินสุธาวาส พระปิดตาหลวงปู่ครีพ วัดสมถะ เป็นต้น

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพระปิดตาเนื้อผงด้วยกัน ซึ่งคงเนื่องมาจากความหายาก และกิตติศัพท์เรื่องอำนวยโชคลาถและเมตตามหานิยม ที่เลื่องลือกันมาหลายชั่วคนแล้ว เท่าที่สังเกตผู้มีพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ (ของแท้) ไว้บูชา ล้วนแต่เป็นบุคคลอยู่ในสังคมชั้นสูงทั้งสิ้น

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com