วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำปีมะโรง

พระประจำปีมะโรง - ปางโปรดองคุลิมาลโจร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) นิ้วพระหัตถ์ตั้งตรง หันฝ่าพระหัตถ์ไปทางซ้าย

พระประจำปีมะโรง - ปางโปรดองคุลิมาลโจร

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ห้อยพระหัตถ์ซ้าย และยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งนิ้วพระหัตถ์ตรง หันฝ่าพระหัตถ์ไปทางซ้ายและตั้งไว้ตรงพระอุระ ฯ ในปฐมโพธิกาลนั้น มีพราหมณ์มันตะคูผู้หนึ่ง รอบรู้จบไตรเพท มีความรู้ดีเป็นพิเศษในทางทำนายนักษัตร เป็นปุโรหิตาจารย์ของ พระเจ้ากรุงสาวัตถีปัสเสนทิโกศลมหาราช เมื่อภริยาคลอดบุตรชาย ในราตรีที่กลุ่มดาวโจรที่โคจร พราหมณ์ก็รู้ถึงอนาคตของบุตรชาย ว่าจะเป็นจอมโจร ใจอำมะหิต จึงตั้งชื่อว่าอหิงสกะกุมาร เพื่อจะแก้ดวงชะตาร้ายให้ลดหย่อนอ่อนลงมา เมื่อกุมารโตขึ้น บิดาส่งไปเรียนในสำนักของอาจารย์ทิสาปาโมกข์ เพราะความที่ เป็นผู้เฉลียวฉลาด และอ่อนน้อมถ่อมตน จึงเรียนเก่งและเป็นที่รัก ของอาจารย์ ทำให้บรรดาศิษย์ริษยา ยุแยอาจารย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทำให้อาจารย์หลงเชื่อจึงหาอุบายที่จะกำจัดเสีย จึงบอกให้อหิงสกะไปหานิ้วคนให้ครบหนึ่งพันนิ้ว แล้วจะประสาธน์พระเวทชื่อ วิษณุมนต์ อันจะทำให้ศัตรูทุกทิศสู้ไม่ได้ อหิงสกะกุมารจึงหลบเข้าไปอยู่ป่าและฆ่าคนตัดนิ้วเอาเชือกมัด ประหนึ่งว่าพวงมาลัย คล้องคอจึงได้ชื่อว่า องคุลีมาล ข้างฝ่ามารดาขององคุลีมาล เมื่อทราบข่าวว่าพระเจ้ากรุงสาวัตถีจัดกำลังทหารไปปราบจอมโจร ด้วยกลัวว่าบุตรจะเป็นอันตรายจึงรีบลอบเข้าไปในป่า เพื่อไปบอกลูกชาย ในวันนั้น พระบรมศาสดา ทรงประทับอยู่ ในพระเชตวัน ทรงทราบนางพรามณีจะมีอันตราย องคุลีมาล ลูกชายไม่รู้จักก็จะประหาร เกิดเป็นอนันตริยกรรม จึงเสด็จไปในป่าล่วงหน้ามารดาองคุลีมาล เมื่อองคุลีมาลเห็นพระองค์ ก็ดีใจด้วยว่าวันนี้จะได้นิ้วครบหนึ่งพันนิ้ว แล้วพลันวิ่งไล่พระพุทธเจ้าแต่ตามไม่ทันจึงตะโกนบอกว่า สมณะ หยุดก่อน พระองค์ก็ตรัสตอบว่า เราหยุดแล้วแต่ท่านซิยังไม่หยุด -- เรา หยุดทำกรรมชั่วทุกอย่าง แต่เธอมีสันดานพาลมือถืออาวุธ หมายประหาร ยังไม่หยุดทำกรรมอันลามก องคุลีมาลพอได้ ฟังพระดำรัสก็สำนึกได้ พระองค์จึงแสดงธรรมโปรดและ ประทานบรรพชาอุปสมบทให้ ฯ

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำปีเถาะ

พระประจำปีเถาะ - ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงาย วางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นตั้งฝ่าพระหัตถ์ตรงพระอุระ เบนฝ่าพระหัตถ์ไปข้างซ้ายเป็นกิริยาสำรวมจิตอธิษฐานเพศเป็น บรรพชิต พระพุทธรูปปางนี้ไม่มีพระรัศมีบนพระเศียรด้วยนิยมว่า พระรัศมีจะมีก็ต่อเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ปางนี้บางตำราก็เรียกว่า ปางมหาภิเนษกรมณ์ ฯ ตอนที่เจ้าชายสิตธัตถะได้เสด็จ ประพาสอุทยาน และได้เห็นเทวทูตทั้ง 4 คือ:- คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จึงทำให้พระองค์เกิด ความเบื่อหน่าย และได้เสด็จออกผนวชเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ ฯ

พระประจำปีเถาะ - ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต

พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นวางบนพระอุระ (อก) เบนฝ่าพระหัตถ์ไปทางซ้าย (บางตำราใช้ปางปัจจเวกขณะเป็นพระประจำปีเถาะ)

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำปีขาล

พระประจำปีขาล - ปางโปรดพกาพรหม
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน บนเศียรพกาพรหมซึ่งประทับหลังโคอุสุภราช พระหัตถ์ทั้งสองวางบนพระเพลา (ตัก) บางแบบพระหัตถ์ประสานกันอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำอยู่ในอาการสังวร

พระประจำปีขาล - ปางโปรดพกาพรหม

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืนทอดพระเนตรลงต่ำ พระหัตถ์ทั้งสองประสานที่พระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระ หัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสร้างสังวรจงกรมอยู่บนเศียรพกาพรหม ฯ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่ป่าสุภวัน ทรงทราบความปริวตก ของท้าวพกาพรหมว่า พกาพรหมกำลังจะจมลงในห้วงแห่ง สัสสตทิฏฐิ โดยดำริผิดเห็นไปว่า สิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ ไม่แปรผัน จะเป็นอะไรก็เป็นอยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง จะแช่มชื่นสุขทุกข์อย่างใด ๆ ก็เป็นธรรมดาหาใช่บาปบุญ คุณโทษอะไร ๆ มานำพาก็หาไม่ อยู่ในสถานะใด ๆ ก็คงอยู่ ในสถานะนั้น ๆ ตามภูมิตามชั้นของตน ขัดแย้งต่อศาสนา ของพระทศพลที่ตรัสสอนว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน กรรมดีและกรรมชั่ว ย่อมให้ผลสุขและทุกข์ตามสนองตาม โอกาสไม่มีผู้ใดจะขัดขืนอำนาจของกรรมได้ หากไม่มีปัญญาญาณก็ไม่สามารถจะหยั่งรู้ได้ ดังพกาพรหม สมควรที่พระตถาคตประทานธรรมโปรด จึงเสด็จไปยังพรหมโลก อันเป็นสถานที่อยู่ของพกาพรหม และทรงทำปาฏิหาริย์ แสดงธรรมโปรดให้คลายสัสสตทิฏฐิ ฯ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำปีฉลู

พระประจำปีฉลู - ปางโปรดพุทธมารดา
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) บางแบบวางบนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัตถ์ บางแบบงอนิ้วพระหัตถ์
พระประจำปีฉลู - ปางโปรดพุทธมารดา

พระประจำปีฉลู - ปางห้ามญาติ
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกับปางห้ามสมุทร นิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง
พระประจำปีฉลู - ปางห้ามญาติ


วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำปีชวด

พระประจำปีชวด - ปางโปรดอาฬวกยักษ์
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) จีบนิ้วพระหัตถ์ เป็นกิริยาทรงแสดงธรรม เป็นลักษณะเดียวกับปางปฐมเทศนา บางแบบพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระชานุ (เข่า)

ปางโปรดอาฬวกยักษ์ - ปางโปรดสัตว์

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย หงายวางที่พระชานุ พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ จีบนิ้ว พระหัตถ์เป็นอาการแสดงธรรม ฯ พระเจ้าอาฬวี กษัตริย์แห่งอาฬวีนครทรงนิยมไพรถือการล่าสัตว์ป่า เป็นกิจวัตร วันหนึ่งกำลังไล่กวาง เกิดโชคร้ายพลัดหลงกับกอง
ทหาร เข้าไปในเขตหวงห้ามของอาฬวกยักษ์ ซึ่งได้รับประทาน พรจากพระอิศวรให้จับคนและสัตว์ที่พลัดหลงเข้ามาในแดน ของตนกินได้ พระเจ้าอาฬวีจึงขอผ่อนว่า ถ้าปล่อยให้พระองค์ กลับพระนคร ก็จะส่งคนมาให้เป็นอาหารวันละ 1 คน เมื่อกลับ ถึงพระนครพระองค์ก็ทำตามสัญญา ทีแรกก็ส่งนักโทษไป ต่อมา ก็เด็ก จนชาวเมืองพากันหนีไปอยู่เมืองอื่น ในที่สุดก็ต้องจับ พระโอรสของพระเจ้าอาฬวีส่งไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ด้วยพระญาณ จึงเสด็จไปทรมารยักษ์ให้สิ้นความดุร้าย ฯ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำวันเสาร์

พระประจำวันเสาร์ - "ปางนาคปรก"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร

พระประจำวันเสาร์ - "ปางนาคปรก"

ประวัติย่อ
ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน พระยานาคมุจลินท์ได้เลื้อยมาทำขนดล้อม พระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ

สวดวันละ ๑๐ จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน
ผู้ที่เกิดวันเสาร์์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้นสีเขียว

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำวันศุกร์

พระประจำวันศุกร์ - "ปางรำพึง"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

ประวัติย่อ
ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ่งยากแก่การเข้าใจ จึงทรงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่จะนำออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะพระมหากรุณาคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิต่างกัน จึงทรงพระดำริที่จะแสดงธรรม ตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้นๆ

พระประจำวันศุกร์ "ปางรำพึง"

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์
อัปปะสันเนติ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะจะคุตติยา
ยันเทเสสิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห

สวดวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน
ผู้ที่เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินแก่ ส่วนสีรองลงมาคือ สขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้นสีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำวันพฤหัส

พระประจำวันพฤหัส - "ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย

ประวัติย่อ
ภายหลังจากที่พระมหาบุรุษได้กำราบพรยามารลงได้แล้ว พระองค์จึงได้ตั้งพระทัยเจริญสมาธิจนได้ญาณขั้นต่างๆ และในที่สุดก็ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขบูชา)

พระประจำวันพฤหัส - "ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้"

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพฤหัสบดี
อัตถิโลเก สีละคุโณ สัจจังโสเจยยะ นุททะยา เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา ธัมมัพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา จะนิกขันตา ชาตะเวทะ ปฏิิกกะมะ สะหะ สัจเจกะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ

สวดวันละ ๑๙ จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีเหลืองหรือสีไพล ส่วนสีรองลงมาคือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว พึงเว้น สีดำ สรกรมท่า และสีน้ำเงินแก่

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำวันพุธ กลางคืน

พระประจำวันพุธ กลางคืน - "ปางปาลิไลยก์"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย

ประวัติย่อ
ครั้งหนึ่ง พระภิกษุในวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพีทะเลาะกันด้วยเรื่องพระวินัย พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้สามัคคีกันเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเชื่อ เพราะต่างฝ่าย ต่างยึดถือในความคิดของตนเป็นใหญ่ พระพุทธองค์ ทรงรอาพระทัยจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่ารักขิตวัน แถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ ณ ที่นั่นมีช้างชื่อปาลิเลยยะและลิงตัวหนึ่งคอยอุปัฏฐากอยู่
พระประจำวันพุธ กลางคืน - ปางปาลิไลยก์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางคืน)
ยัสสานุภาเวนะ ยักขา เนวะ ทัสเสนะติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโตจะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห
หรือบทสวด...
กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธาคาถาภิคิโตมหิ โนเจ มุญเจยะ จันทิมันติ

สวดวันละ ๑๒ จบ จะมีความเจริญสุขสวัสดี
ผู้ที่เกิดวันราหู หรือวันพุธกลางคืน นี้ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสเมฆหมอก สีเทา หรือสีดำหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สแดง สีขาวนวล สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ พึงเว้นสีเหลือง

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำวันพุธ กลางวัน

พระประจำวันพุธ กลางวงัน - "ปางอุ้มบาตร"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว

ประวัติย่อ
ครั้งหนึ่ง หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเวสสันดรชาดก โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติทั้งหลาย บรรดาพระประยูรญาติต่างมีความแช่มชื่นโสมนัส จนลืมกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระพราชวัง ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเสด็จออกรับบิณฑบาตจากประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสดุ์
พระประจำวันพุธกลางวัน "ปางอุ้มบาตร"

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน)
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเห

สวดวันละ ๑๗ จบ จะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป
ผู้ที่เกิดวันพุธ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรองๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำวันเกิด

พระประจำวันอังคาร - "ปางไสยาสน์"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)

พระประจำวันอังคาร "ปางไสยาสน์"

ประวัติย่อ
สมัยหนึ่ง เมือ่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหูจอมอสูร ซึ่งสำคัญว่ามีร่างโตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิจองอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าจอมอสูร จอมอสูรจึงละทิฐิยอมอ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร
ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิก เขปิ ปาณิโน ปะติฏฐะมะธิ คัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิ สัมภะวา คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห

ผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีชมพู หรือ สีแดงหลัว ส่วนสีรองๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีเหลือง สีแดง พึงเว้นสีขาวนวล

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำวันเกิด

พระประจำวันจันทร์ - "ปางห้ามสมุทร"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง (บางตำราใช้พระปางห้ามญาติเป็นพระประจำวันจันทร์)

"ปางห้ามญาติ"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร นิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง
พระประจำวันจันทร์ "ปางห้ามสมุทร"

ประวัติย่อ
ครั้งหนึ่ง ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวี เจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบบังคมทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ เจริญรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร จนต่อมาภายหลังโรคร้ายก็หายสิ้นจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

สวดวันละ ๑๕ จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือน เป็นสีขาว เหลืออ่อนๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรองๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สรกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

พระประจำวันเกิด

พระประจำวันอาทิตย์ - "ปางถวายเนตร"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์

พระประจำวันอาทิตย์ "ปางถวายเนตร"

ประวัติโดยย่อ
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จออกไปจากภายใต้ร่มโพธิ์ไปประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ทอดพระเนตรพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อรำลึกถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ที่แผ่กิ่งก้านประทานร่มเงา ให้ความชุ่มเย็น เป็นการอำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม, เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา, นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา

สวดวันละ ๖ จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พึงใช้สีที่เป็นมงคลสำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับตัวเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรองๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

เครื่องราง-ของขลัง

มีดหมอ
ประวัติเครื่องรางของขลัง
สำหรับเครื่องรางเป็นสิ่งที่มีมาตั้งสมัยโบราณกาลนับพันปีมาแล้ว และประวัติเครื่องรางของขลังไม่ได้มีเฉพาะแต่ในเมืองไทยเท่านั้น ชนชาติอื่นๆ ก็มีเครื่องรางใช้กันมานานแล้ว โดยเชื่อกันว่าของสิ่งนี้จะสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายต่างๆ ให้ได้ รวมทั้งในเรื่องของโชคลาภ ความโชคดีทั้งหลายทั้งปวง วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังจึงนับเป็นเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีอยู่คู่กับมนุษย์ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ จนถึงทุกวันนี้ วัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง ก็เป็นที่นิยมในยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม สำหรับความเชื่อในเรื่อง เครื่องราง ของคนไทย ก็มีมาแต่ครั้งโบราณเช่นกัน ดังจะเห็นได้ในวรรณกรรมที่มีการกล่าวถึงอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะ เครื่องราง ที่นักรบใช้ติดตัวในยามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ห้าวหาญไม่เกรงคลัวข้าศึก โดยเชื่อกันว่า เครื่องราง ที่สร้างขึ้นด้วยวิชาไสยศาสตร์ชั้นสูง โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมอันเข้มขลัง จะสามารถช่วยคุ้มครองป้องกันภัยรอบตัวได้เป็นอย่างดี

เครื่องรางของขลัง จึงนับเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งของพระเกจิอาจารย์คนไทย หรือฆราวาสผู้มีวิชาอาคมขลัง สมัยเก่าก่อน ที่มีการสืบสานวิทยายุทธ์มาจนถึงทุกวันนี้ และส่วนใหญ่จะเป็นฝีมือการจัดสร้างขึ้นมาทีละชิ้น ไม่ซ้ำรูปแบบกัน เพราะไม่ได้ใช้แม่พิมพ์ตายตัวแต่อย่างใด

เครื่องรางของขลัง อันโด่งดังที่คนไทยรู้จักกันมาช้านานแล้ว ก็คือ ตะกรุด ที่สร้างจากวัสดุต่างๆ เบี้ยแก้ ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ลูกอม เขี้ยวเสือกลวง ไม้ครู มีดหมอ รักยม กุมารทอง ฤาษี ชูชก หุ่นพยนต์ ปลัดขิก น้ำเต้า กะลาตาเดียว ราหูอมจันทร์ หมากทุย เชือกคาดเอว เชือกคาดแขน แหวนพิรอด นางกวัก พ่อเฒ่า พ่อแก่ (ฤๅษี) ท้าวเวสสุวรรณ ฯลฯ รวมทั้งเครื่องรางที่แกะเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น หนุมาน ลิง องคต เสือ สิงห์ ราชสีห์ คชสีห์ ช้าง แพะ จิ้งจก ตุ๊กแก เต่า ปลาตะเพียน วัวธนู ควายธนู จระเข้ งู ฯลฯ

เครื่องรางของขลัง ของโบราณาจารย์ไทย ไม่ว่าจะเป็นพระเกจิอาจารย์ หรือเกจิอาจารย์ฆราวาส ผู้มีวิชาอาคมขลัง มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญชำนาญการในเรื่องไสยศาสตร์เป็นอย่างดี ได้จัดสร้างขึ้นนี้ มีความหลากหลายเหลือเกิน แต่ละชิ้นงานล้วนเป็นการสร้างขึ้นด้วยฝีมือชั้นบรมครูอันล้ำเลิศ ทีละชิ้น โดยไม่ซ้ำกัน นับเป็นงานแฮนด์เมดที่เป็นภูมิปัญญาไทยอย่างแท้จริง

แม้วิทยาการทางเทคโนโลยีในสมัยนี้จะมีความก้าวหน้าไปมากแล้ว ความเชื่อในเรื่องของ พระเครื่อง วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง อันเก่าแก่อาจจะลดน้อยลงไปในความรู้สึกเชื่อถือและศรัทธาของคนรุ่นใหม่ก็ตาม แต่ เครื่องราง ก็ยังเป็นที่ศรัทธาสนใจของผู้คนอีกไม่น้อย โดยเฉพาะนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลาย โดยเห็นว่า เครื่องราง เป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมที่น่าสนใจไม่น้อย แม้จะไม่เชื่อในเรื่องของอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ ความเข้มขลัง ก็ตาม แต่ เครื่องราง ก็ยังนับเป็นโบราณวัตถุอย่างหนึ่งที่เต็มไปด้วย ศาสตร์และศิลป์ อันทรงคุณค่ายิ่ง ที่จะไม่มีโอกาสพบเห็นจากชนชาติอื่นใด

วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง ก็ต้องค่อยๆศึกษาแบบทีละอย่างค่อยเป็นค่อยไป วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง ในแต่ละยุคสมัยที่ต่างกัน การใช้วัสดุต่างๆและกรรมวิธีในการสร้างของครูบาอาจารย์ต่างๆนั้น ก็จะแตกต่างกันไป

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

เบญจภาคี - เครื่องรางของขลัง

ความหมายของเครื่องราง-ของขลัง แบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. เครื่องราง หมายถึง วัตถุใดๆที่พระเกจิอาจารย์ได้ทำการปลุกเสกขึ้นมาเพื่ออุปเท่ห์ในการใช้ เช่น ตะกรุดทองเเดงหรือตะกั่ว ผ้ายันต์ ลูกอม ฯลฯ

2. ของขลัง หมายถึง ของทนสิทธิ์ วัตถุใดๆที่มีดีในตัวเอง โดยพระเกจิอาจารย์ไม่ได้ทำการปลุกเสก เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เขี้ยวเสือกลวง เขี้ยวหมูตัน เขากวางคุด ข้าวสารหิน ไม้ไผ่ตัน ฯลฯ

3. เครื่องราง-ของขลัง หมายถึง ของขลังใดๆที่มีดีในตัว ที่ได้ผ่านกรรมวิธีปลุกเสกหรือลงอักขระโดยพระเกจิอาจารย์ เช่น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตะกรุดไม้ไผ่ตัน เขี้ยวเสือกลวงลงอักขระ เบี้ยเเก้ ไม้ครู ฯลฯ

เบญจภาคี เครื่องรางของขลังของเมืองไทยมีดังนี้

1. ตะกรุดมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

ตระกรุดมาโสฬสมงคล

2. เบี้ยเเก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง

เบี้ยแก้ ล.ป.รอด

3. ปลัดขิก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก

ปลัดขิก ล.พ.เหลือ

4. เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน

5. หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน

หนุมาน ล.พ.สุ่น

แลกลิงค์

Create your own banner at mybannermaker.com!
Copy this code to your website to display this banner!
เอาลิงค์ติดที่เว็บท่านแล้วแจ้งที่ infothaiamulet@gmail.com